- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 6 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
กรมหม่อไหมเน้นงานวิจัยต่อยอดนวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมตอบโจทย์งตลาดและลดต้นทุนให้เกษตรกร
กรมหม่อนไหมจัดประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี 2562 พร้อมมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ชูผลงานวิจัยที่มีการต่อยอดนวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและลดต้นทุนให้เกษตรกร โดยการพัฒนาเยื่อโครงสร้างไฮโดรเจลจากโปรตีนไหมไฟโบรอินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางชีวการแพทย์ งานวิจัยที่เพิ่มมูลค่าให้กับไหมไทย เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง ได้รับรางวัลดีเด่นงานวิจัยประเภทประยุกต์
นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า กรมหม่อนไหมรับผิดชอบงานการพัฒนาหม่อนไหมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร การพัฒนางานวิจัยจึงเป็นเรื่องตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำ ไปจนถึงการแปรรูปที่เป็นปลายน้ำ ลักษณะของงานวิจัยของไหมที่ออกมาจะต้องเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ ทั้งในเรื่องการแก้ปัญหาของเกษตร ผลผลิต การแปรรูป การตลาด และเน้นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหม่อนไหม นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันงานวิจัยจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอีกด้วย
สำหรับการคัดเลือกผลงานวิจัยในปีนี้ คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2562 ได้พิจารณาผลงานวิจัยที่เข้าร่วมนำเสนอและส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณาผลงานวิจัยดีเด่นในงานประชุมวิชาการหม่อนไหมแบ่งประเภทของผลงานเป็น 3 ประเภทตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน คือ 1.งานวิจัยประเภทพื้นฐาน เพื่อแสวงหาความรู้หรือทฤษฎีใหม่หรือการพิสูจน์ทฤษฎีเดิม 2.งานวิจัยประเภทประยุกต์ เป็นการต่อยอดงานวิจัยพื้นฐาน เพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหา และ 3.งานวิจัยประเภทพัฒนา เป็นงานวิจัยด้านการส่งเสริมและบริการ ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัย ทั้งนี้ งานวิจัยประเภทพื้นฐาน ผลงานวิจัยระดับดี ได้แก่ การวิเคราะห์ลำดับเบสของ cpDNAtrnL-trnFและ nrDNA ITS ในหม่อนพันธุ์อนุรักษ์ ของนางบุษรา จงรวยทรัพย์ ผลงานวิจัยระดับชมเชย 2 เรื่อง ได้แก่ การศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โพรลีนเพื่อช่วยคัดเลือกพันธุ์หม่อนในสภาวะขาดน้ำของนางมนัสวี สุริยวนากุล และผลของการใช้เส้นไหมไทยที่สาวด้วยวิธีการต่างๆ ต่อคุณสมบัติผ้าไหมของนายอานุภาพ โตสุวรรณ งานวิจัยประเภทประยุกต์ ผลงานวิจัยระดับดีเด่น ได้แก่ การพัฒนาเยื่อโครงสร้างไฮโดรเจลจากโปรตีนไหมไฟโบรอินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางชีวการแพทย์ของนางสาวศศิพิมพ์ ลิ่มมณี ผลงานวิจัยระดับดี 2 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลหม่อนผงจากน้ำหม่อนโดยการทำแห้งแบบโฟมแมทของนายธนกิจ ถาหมี และกระบวนการผลิตแอนโทไซยานินผงจากผลหม่อนสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนางเสาวนีย์ อภิญญานุวัฒน์ ผลงานวิจัยระดับชมเชย ได้แก่ การศึกษาพันธุ์ไหมไทยที่เหมาะสมในการผลิตกระดาษใยไหมของนายแดนชัย แก้วต๊ะ งานวิจัยประเภทพัฒนา ผลงานวิจัยระดับดี ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาลวดลายผ้าบาติกไหมไทยภาคใต้เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไหมไทยร่วมสมัย ปี 2561 ของนายสุรเดช ธีระกุล และผลงานวิจัยระดับชมเชย ได้แก่ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานกรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านท่าเรือ ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนมในปี พ.ศ.2561 ของนางเกศสุดา ใหม่สาร ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจผลงานวิจัยของกรมหม่อนไหม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1275.
You must be logged in to post a comment Login