วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

‘ซาบีน่า’ รับอานิสงส์สงครามการค้าดึงต้นทุนจ้างผลิตต่ำดันกำไรขั้นต้นปีนี้ขยับ 1-3%

On June 17, 2019

นายบุญชัย ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) หรือ SABINA ผู้ผลิตและจำหน่ายชุดชั้นในแบรนด์ “ซาบีน่า” เปิดเผยว่า หลังจาก “ซาบีน่า” ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโดยเพิ่มสัดส่วนการจ้างโรงงานในประเทศจีนผลิตสินค้าให้กับบริษัทฯ ปรากฏว่า บริษัทฯ ได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนอย่างชัดเจน โดยต้นทุนการจ้างผลิตของซาบีน่าลดต่ำลงเนื่องจากโรงงานในจีนต้องการคำสั่งซื้อ ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ของบริษัทฯ ขยับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

“ต้องยอมรับว่าโรงงานในจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากคำสั่งซื้อที่หายไป จนล่าสุดมีซัพพลายเออร์หลายรายในจีนติดต่อเข้ามาขอพบกับซาบีน่า ซึ่งไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์นี้ทำให้ต้นทุนการจ้างผลิตของซาบีน่าลดต่ำลง และทำให้เรามีอัตรากำไรขั้นต้นหรือมาร์จินเพิ่มขึ้น โดยในปี 2561 เรามีสัดส่วนการจ้างผลิตประมาณ 18% มีมาร์จินจากการจ้างผลิตอยู่ที่ 59%จากนั้นในไตรมาสแรกของปีนี้เพียงไตรมาสเดียว สัดส่วนการจ้างผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 33% มาร์จินขยับเป็น 62%หรือเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับตัวเลขทั้งปี 2561ทำให้เราเชื่อว่า มีโอกาสที่มาร์จินในปี 2562 จะขยับขึ้นราว 1-3% จากปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 51.6%” นายบุญชัยกล่าว

Print

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SABINA กล่าวด้วยว่า อัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้บริษัทฯ มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการจ้างผลิตจากปัจจุบันอยู่ที่ 30% ผลิตเอง 70% เป็น 50:50 โดยวางเป้าหมายดำเนินการภายใน 2 ปี ซึ่งกลยุทธ์นี้นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงแล้ว ยังเป็นการรองรับกับนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ซาบีน่ายืนยันมาโดยตลอดว่า ไม่มีนโยบายลดพนักงาน แต่จะไม่รับพนักงานเพิ่มเข้ามาทดแทนพนักงานที่ลาออกไป ดังนั้นการเพิ่มสัดส่วนการจ้างโรงงานในประเทศจีนผลิตสินค้า จะทำให้บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิต ไม่

ต้องลงทุนขยายโรงงาน แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้บริษัทฯ มีปริมาณสินค้ารองรับกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นสินค้าคุณภาพที่ควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงกระบวนการผลิตภายใต้มาตรฐานแบรนด์ “ซาบีน่า”

Headstand Sop & central & others15x21

นอกจากนี้ การที่อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่จ้างผลิตในประเทศจีนลดต่ำลง ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะเพิ่มงบการตลาด เพื่อที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ และเพิ่มยอดขายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมคึกคักมากขึ้น


You must be logged in to post a comment Login