วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สทนช. จัดเวทีระดมสมองดึงผู้เชี่ยวชาญทั้งใน-ต่างประเทศร่วมจัดทำผังน้ำ

On June 21, 2019

สทนช. ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำทั้งในและต่างประเทศ ระดมความคิดเห็นการจัดทำผังน้ำภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 สู่การบูรณาการจัดทำแผนหลักการจัดทำผังน้ำของประเทศอย่างเป็นมาตรฐานเชื่อมโยงแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และคุณภาพน้ำ อย่างยั่งยืน

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศและรับฟังความคิดเห็นโครงการจัดทำแผนหลักการจัดทำผังน้ำณศูนย์ประชุมวายุภักษ์โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯถนนแจ้งวัฒนะกรุงเทพฯ ว่า สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ. 2561ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่27มกราคม2562โดยในบทเฉพาะกาลมาตรา103ได้บัญญัติไว้ว่า “ในวาระเริ่มแรกให้สำนักงานจัดทำผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เพื่อพิจารณาภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”ซึ่งหมายความว่าสทนช. จะต้องดำเนินการจัดทำผังน้ำให้แล้วเสร็จภายในวันที่26มกราคม2564ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผังน้ำมีหลายมาตราโดยมีการให้ความหมายของผังน้ำว่าเป็นแผนที่หรือแผนผังแสดงระบบทางน้ำที่มีน้ำไหลผ่านซึ่งเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงทางออกสู่พื้นที่แหล่งน้ำทะเลหรือทางออกทางน้ำระหว่างประเทศซึ่งระบบทางน้ำดังกล่าวครอบคลุมทั้งแม่น้ำลำคลองห้วยหนองบึงกุดป่าบุ่งป่าทามพื้นที่ชุ่มน้ำพื้นที่แหล่งกักเก็บน้ำพื้นที่ทางน้ำหลากพื้นที่น้ำนองพื้นที่ลุ่มต่ำทางน้ำหรือพื้นที่อื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกันไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นโดยทางน้ำดังกล่าวอาจมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปีหรือบางช่วงเวลาก็ได้และยังกล่าวถึงกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำผังน้ำการประกาศใช้และรายละเอียดอื่นๆด้วย

5

ดังนั้นสทนช. จึงดำเนินโครงการจัดทำแผนหลักการจัดทำผังน้ำเพื่อกำหนดกรอบแนวทางรูปแบบแผนที่ผังน้ำที่เหมาะสมให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ในทุกลุ่มน้ำทั่วประเทศโดยจะเน้นถึงการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในขอบเขตพื้นที่ตามระบบทางน้ำที่ได้กำหนดแนวเขตไว้ในผังน้ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อสนับสนุนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งภาวะน้ำท่วมรวมถึงคุณภาพน้ำด้วยโดยว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นสถาบันที่ปรึกษาดำเนินงานโครงการจัดทำแผนหลักการจัดทำผังน้ำโดยมีกำหนดกรอบแนวทางวิธีการศึกษาการจัดทำผังน้ำที่เหมาะสมเพื่อกำหนดรูปแบบแผนที่ผังน้ำให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ. 2561 ซึ่งโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ270วันเริ่มตั้งแต่วันที่24พฤษภาคม2562กำหนดแล้วเสร็จในวันที่17กุมภาพันธ์2563

1

เลขาธิการ สทนช. กล่าวต่อว่า ในอดีตที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆมีจัดทำผังการระบายน้ำตามภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานเช่นกรมชลประทานจัดทำผังการระบายน้ำของแม่น้ำสายหลักต่างๆซึ่งอยู่ในรูปแบบของไดอะแกรมเส้นเพื่อให้มองถึงความเชื่อมโยงของระบบระบายน้ำต่างๆหรือกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำผังระบายน้ำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่4) พ.ศ. 2558ซึ่งแสดงผลเป็น4ผังได้แก่1) แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท2) แผนผังแสดงที่โล่ง3) แผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งและ4)แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคเพื่อการระบายน้ำซึ่งเป็นการแสดงถึงการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆในภาพรวมของแต่ละจังหวัด

2

การจัดทำผังน้ำภายใต้พ.ร.บ.น้ำฯครั้งนี้ จะครอบคลุมระบบน้ำทั้งหมดในพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานต่างๆทั้งในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลวิเคราะห์กำหนดผังน้ำบังคับใช้ผังน้ำตามกฎหมายและใช้ประโยชน์เพื่อไปประกอบเป็นข้อมูลในการดำเนินกิจกรรมด้านน้ำทั้งในภาวะปกติภาวะน้ำแล้งภาวะน้ำท่วมเช่นบ้านที่อยู่อาศัยหรือโรงงานอยู่ในเขตพื้นที่น้ำหลากหรือไม่ระดับน้ำหลากที่เป็นไปได้ในคาบการเกิดต่างๆนิคมอุตสาหกรรมที่จะก่อสร้างใหม่อยู่ในเขตน้ำหลากหรือไม่เป็นตั้งอยู่ในพื้นที่กีดขวางการระบายน้ำหรือไม่ระดับความสูงเท่าใดที่น้ำจะไม่ท่วมซ้ำซากช่องทางใดที่จะสามารถระบายน้ำหลากได้อย่างรวดเร็วคำถามเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าผังน้ำจะช่วยให้คำตอบในเบื้องต้นได้” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

4

สำหรับการประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ประกอบด้วย การบรรยายโดยวิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ “กรอบแนวคิดการจัดทำผังเมือง ผังน้ำ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง “การจัดทำทะเบียนแหล่งน้ำ และฐานข้อมูลที่รองรับการจัดทำน้ำ” โดย กรมทรัพยากรน้ำ “กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ลำน้ำธรรมชาติและการบังคับใช้ในปัจจุบัน” โดยกรมเจ้าท่า “แนวทางการดำเนินงานจัดทำผังน้ำ” โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการบรรยายโดยวิทยากรจากประเทศที่มีเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านผังน้ำได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และเกาหลีใต้ ในหัวข้อ “กรอบแนวคิดผังน้ำและการใช้งาน”พร้อมมีการระดมความคิดเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รูปแบบผังน้ำที่เหมาะสมอีกด้วย


You must be logged in to post a comment Login