- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
จากเสียงตะโกนในโรงหนัง (๒๔๘๙) สู่พลังแห่งโซเชียลเน็ตเวิร์ค (2562)
คอลัมน์ : เรื่องจากปก
ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่ วันที่ 26 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2562)
สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดกระแสดราม่ากลับไปกลับมาเกี่ยวกับเรื่องที่ “อ้น-สราวุธ” ดาราชื่อดัง ได้โพสต์ระบายความรู้สึกส่วนตัวบนเฟซบุ๊ค พร้อมภาพถ่ายในโรงหนังประจานคนที่ไม่ยืนระหว่างที่มีเพลงสรรเสริญพระบารมี
ท่ามกลางความเห็นที่หลากหลาย หลายคนชื่นชมสนับสนุนการแสดงความรู้สึกของอ้น หลายคนมองว่าเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล หลายคนมองว่าคนที่ไม่ยืนกับคนที่ยืนถ่ายภาพหรือถ่ายคลิป หากมองในเรื่องความไม่สำรวมก็แทบไม่แตกต่างกัน
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2489 มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง มีไอ้โม่งนิรนามตะโกนออกมาท่ามกลางความมืดในโรงหนังที่มีผู้ชมอยู่อย่างเนืองแน่นว่า.. “ปรีดีฆ่าในหลวง”.. ข่าวจากเสียงตะโกนถูกแพร่กระจายไปทั่วทั้งพระนคร
ต่อมาในปี 2490 เกิดเหตุพลิกผันทางการเมือง มีการรัฐประหารขึ้น สืบทราบภายหลังพบว่าผู้ที่ตะโกนได้รับการว่าจ้างมาจากนักการเมืองคนหนึ่งในพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่ง ซึ่งต่อมานักการเมืองจากพรรคนั้นได้เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับกลุ่มทหารที่ใช้ชื่อว่า “คณะทหารแห่งชาติ” ที่ทำการรัฐประหารนั่นเอง
ว่ากันว่าการตะโกนในโรงหนังครั้งนั้นหากเทียบเคียงกับปัจจุบันก็เหมือนกับการโพนทะนาผ่านสังคมในยุคนั้น จะต่างกันก็เพียงความรวดเร็วของปฏิกิริยาการโต้กลับ เพราะการเสพสื่อในปัจจุบันสามารถโต้ตอบกันได้เพียงปลายนิ้วในเสี้ยววินาที
แม้ว่าโพสต์ดังกล่าวผู้โพสต์จะลบโพสต์ตัวเองไปแล้วด้วยเหตุผลส่วนตัว แต่ก็มีมือดีแคปหน้าจอไว้และนำมาโพสต์สู่สื่อโซเชียลต่างๆจนเกิดดราม่าต่อได้อีก
แต่ที่สาหัสยิ่งกว่าก็คือ พบว่าความกล้าในการแสดงความคิดเห็นของผู้คน ทั้งท่วงทำนองของการประชดประชันเสียดสีและการอธิบายอย่างมีเหตุผล มีตรรกะ กลับแหลมคมและตรงประเด็น
เหตุการณ์ในปี 2489 ใช้เวลาเนิ่นนานกว่าจะทำให้ความจริงเริ่มกระจ่างชัดว่า ใครตะโกน ใครได้ประโยชน์ ใครเสียหาย แม้จะสายไป แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างได้ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
ในขณะที่เหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน ท่ามกลางความเชี่ยวกรากของกระแสโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ควบคุมกันแทบไม่ได้ ทุกเหตุการณ์ได้ถูกบันทึกไว้ทันที มีผลสะเทือนอย่างฉับพลันในความรู้สึก
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ใครถูกใครผิด แต่ประเด็นอยู่ที่ความคิดเห็นและการสะท้อนกลับในยุคปัจจุบันนั้นช่างรวดเร็วและทันที มากกว่าเมื่อสมัยปี 2489 ยิ่งนัก
สังคมไทยได้อะไรจากประเด็นนี้? คำตอบย่อมแตกต่างกันไป แต่ความรู้สึกนึกคิดข้างในคงทำให้หัวใจเต้นระทึกมิใช่น้อย!!??
You must be logged in to post a comment Login