- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
กรมสุขภาพจิตแนะวิธีเตรียมพร้อมกายใจเข้าสู่วัยเกษียณ
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าใกล้สู่การเกษียณอายุราชการ เนื่องจากการเกษียณอายุราชการ เป็นการครบกำหนดอายุ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งวันเกษียณอายุราชการ ตรงกับวันที่ 30 กันยายนของทุกปี ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านก้าวสู่การเริ่มต้นใหม่ของผู้ที่เกษียณอายุราชการ โดยปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงนี้ อาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น ปัญหาทางด้านสุขภาพกายใจ เศรษฐกิจ สังคม โดยปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ จะเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เกษียณอายุได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากผู้ที่จะเกษียณอายุ มีการเตรียมความพร้อมในการวางแผนชีวิตก่อนที่จะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุหรือวัยเกษียณนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
กรมสุขภาพจิต จึงขอแนะนำวิธีการเตรียมความพร้อมกายใจ ก่อนเข้าสู่วัยเกษียณด้วยการสร้างสุข 5 มิติ ดังนี้ 1. สุขสบาย (Health) ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายตามศักยภาพและความสนใจ ไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการออกแรงกายในชีวิตประจำวัน สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ตามสภาพที่เป็นอยู่ ทำงานอดิเรกที่ชอบ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำเป็นเพียงพอ ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อสุขภาพ 2. สุขสนุก (Recreation) ผู้สูงอายุสามารถเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน ด้วยการทำกิจกรรมนันทนาการ หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้อารมณ์ดี จิตใจสดชื่น แจ่มใส กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา รวมถึงการเล่นกีฬา ดนตรี และทำงานศิลปะ 3. สุขสง่า (Integrity) เป็นการสร้างความรู้สึกพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจ ความเชื่อมั่น การยอมรับนับถือ การให้กำลังใจตนเอง ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การเอื้อเฟื้อแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานบ้าน ดูแลเด็ก ช่วยเหลือกิจกรรมในครอบครัวและชุมชน เป็นต้น
4. สุขสว่าง (Cognition) เป็นความสามารถของผู้สูงอายุในด้านความจำ ความคิดอย่างมีเหตุมีผลการสื่อสารการวางแผนแก้ปัญหา และการจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ฝึกทักษะการสื่อสารการคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจที่ดี การฝึกทักษะในการเลี้ยงหลาน ตลอดจนการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน และ5. สุขสงบ (Peacefulness) ซึ่งเป็นความสามารถของผู้สูงอายุในการรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ สามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกคิดบวก หาวิธีผ่อนคลายความเครียด ฝึกสติ สมาธิ สามารถปรับตัว และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงได้
You must be logged in to post a comment Login