วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ไขข้อข้องใจ “กัญชา” จากยาเสพติด สู่ ยารักษาโรค

On August 9, 2019

นายแพทย์สมนึก  ศิริพานทอง แพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยสุขภาพประจำ Bangkok Anti Aging Center จัดสัมมนาสุขภาพในหัวข้อ ไขข้อข้องใจ “กัญชา”  จากยาเสพติด สู่ ยารักษาโรค เพราะเมื่อกระแส “กัญชา”  ใช้รักษาโรค เข้ามาสู่ประเทศไทย  หมอจึงอยากอธิบายให้เข้าใจ

ต้องเริ่มเกริ่นก่อนว่า “กัญชา” ถูกบรรจุอยู่ในตำราแพทย์อายุศาสตร์อินเดียมานานแล้ว ว่ามีสรรพคุณรักษาโรค ลดอาการแก้ปวด ลดการอักเสบได้  แต่เราต้องรู้ก่อนว่าสารที่การออกฤทธิ์แก้อักเสบระงับปวดนั้นคือ CBD (  Cannabidiol ) ไม่ใช่ สารTHC (Tetrahydrocannabinol)  เพราะสาร THC ที่สกัดจากกัญชาทำให้เกิดอาการมึนเมา  เบลอได้

เพราะฉะนั้นการที่จะใช้ฤทธิ์ในการรักษาโรคคือต้องสกัดเป็นสาร CBD เท่านั้น  จากการที่หมอใช้ทดลองรักษาคนไข้โรคมะเร็งกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านมา สรุปผลการรักษาเซลล์มะเร็ง สำหรับคนที่เป็นมะเร็งเต้านม ลดลง และร่างกายคนไข้ฟื้นตัวได้เร็วสามารถกินอาหารได้พักผ่อนได้  ที่สำคัญคือ เซลล์มะเร็งมีรีเซ็พเตอร์หรือตัวรับสัญญาณกับกัญชาส่งผลที่ร่างกายเรา  กลไกเปลี่ยนไปเป็นตัวสร้างโปรตีน ทางการแพทย์เรียกว่า ER  เอนโดรพลาสมิคเรติคูลัม เป็นโรงงานที่สร้างโปรตีนที่มีระบบสายใย สร้างสารเซราไมค์เกิดขึ้นมากมาย

สารเซราไมค์มีลักษณะลื่นเหมือนฟองสบู่ ในเซลล์มะเร็งมีถุงเก็บน้ำยาเรียกว่า “ไลโซโซม” มีฤทธิ์เป็นกรดที่รุนแรงมาก ถ้าถุงนี้รั่วออกมาในร่างกายสามารถทำงายเซลล์ให้ตายลงทันที

วิธีการใช้การรักษา ต้องให้ร่วมกับยาเพื่อนำทางให้สารสกัดออกฤทธิ์ไปถึงเซลล์มะเร็ง  แพทย์ที่ใช้ต้องมีความเชี่ยวชาญและมีการวางแผนการบริหารร่างกายผู้ป่วยให้พร้อม   เพื่อเตรียมรับสารสกัดกัญชาและองค์ประกอบให้ครบ

เทคนิกการบริหารร่างกาย ทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย

1.ตัวรับสัญญาณที่สมอง เพราะฉะนั้นการบริหารสารสกัดกัญชาให้ไปถึงสมอง จึงต้องใช้วิธีการหยดที่ใต้ลิ้นเพื่อให้ไปออกฤทธิ์ถึงสมองได้ การกระตุ้นที่สมองมีวัตถุประสงค์ คือ ทำให้ร่างกายง่วงนอน คนไข้นอนหลับ ได้พักผ่อน โอกาสที่อาการดีขึ้นร่างกายฟื้นฟูเป็นไปได้สูง แต่ทั้งนี้ขึ้นขึ้นกับบุคคลที่รับการตอบสนองร่วมด้วย

ในบางกรณีเมื่อไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง  และใช้สารสกัดจากกัญชาในปริมาณมากเกินไป บางรายจึงมีอาการข้างเคียงรุนแรง เช่น ความดันลดลงรวดเร็ว ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ มีอาการบ้านหมุน และต่อด้วยอาการอาเจียน และปัจจุบันทางการแพทย์จึงสรุปได้ว่า ไม่มีการระบุปริมาณที่แน่นอนถูกต้องของการใช้สากสกัดจากกัญชา

2.   ตัวรับรับสัญญาณ CB2 อยู่ที่ระบบม้ามอยู่ทางด้านซ้ายของลำไส้  จึงต้องใช้เทคนิกในการทดลองใช้โดยการผสมกับมะพร้าว แล้วสวนเข้าทางทวารหนัก วิธีการนี้เป็นการใช้กลไกทางสริระวิทยามาเพื่อช่วยกระตุ้น

3.  ใช้วิธีการ Entourage คือมีตัวเสริมเข้าไปช่วยใช้ร่วมกัน เช่น กรดไขมันจากโอเมก้า 3  ที่สกัดมาจากพืชเท่านั้น จำพวกเมล็ดแฟ็กซ์ เมล็ดเจียร์   อีกวิธีคือใช้ ตำรับยา 16 ตำรับเข้ามาช่วยผสมผสาน

สรุปอย่างย่อในความคิดเกห็นส่วนตัวของผม คือ  “กัญชา” ต้องสกัดให้ถูกจึงจะได้ผล เดิมทีประเทศแถบอเมริกาหรือยุโรปให้ความสนใจมาก ทางการแพทย์จึงมีการวิจัยเพื่อสกัดแยก เป็น THC หรือเป็น CBD บางประเทศสกัดออกมาเป็น สารฮิวมูลีน หรือสารลิโมนีน อีกมากมาย  ในกลุ่มที่สกัดกัญชา เรียกว่า CBD (cannabidiol)  มีการทดลองเอาสารสกัดกัญชา บวกกับสารอีกมากมาย ผลคือไม่มีการตอบสนอง

สุดท้ายต้องใช้กัญชาทั้งต้นมาสกัด หรือต้องเข้าใจถึงความสำคัญ ของการแยกโมเลกุลจาก “กัญชา” เพื่อให้ได้ฤทธิ์ทางการรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง  และไม่ใช่ว่าโรคมะเร็งทุกชนิดจะตอบสนองสารสกัดจากกัญชาได้เหมือนกัน ต้องเป็นกรณีแล้วใช้เทคนิก 3 ประสานมารวมกัน  เพราะเริ่มต้นขั้นตอนก่อนการรักษา  หมอต้องนำของเสียออกจากร่างกายผู้ป่วยโรคมะเร็งก่อน ต่อด้วยการสร้างภูมิต้านทานให้กับคนไข้ ต่อจากนั้นจึงให้ผู้ป่วยเข้ารับกระบวนการรักษาที่ถูกต้อง ต้องรักษาแบบตัดรากเพื่อไม่ให้มีอาการฟื้นกลับมาอีก นี่คือวิธีของทางการแพทย์แผนไทย

ในความคิดเห็นส่วนตัวหมอ ถ้าเราเลือกใช้กัญชาในวิธีการที่ถูกต้อง และในปริมาณที่เหมาะสม โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด    การตอบสนองอาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นดีขึ้น   แต่ในโรคมะเร็งรุนแรงยังต้องใช้วิธีทางการแพทย์ปัจจุบัน เพื่อจัดการกับเซลล์ก้อนมะเร็งใหญ่ก่อน เช่น การคีโม การฉายแสง  แล้วควบคู่กันกับการรักษาด้วยสมุนไพรจากสารสกัดกัญชาเพื่อความสมดุลของเซลล์ในร่างกาย

หมอมองว่าเป็นทางเลือกของทุกคนที่ต้องมีความเข้าใจ และตัดสินใจในการเลือกแนวทางการรักษาแบบที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง เพียงแต่เราต้องรู้ข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนเสียก่อน เพราะเราต้องเลือกทางออกที่ดีที่สุดให้กับชีวิตตัวเอง  อนึ่ง  ในประเทศไทยเรายังไม่มีการรับรองผลการรักษาที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยตรับ


You must be logged in to post a comment Login