- อย่าไปอินPosted 17 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“Fi Asia” ฉลองความสำเร็จจัดงานต่อเนื่อง24 ปี ประกาศเทรนด์อาหารและเทรนด์ผู้ประกอบการปี 2020
อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ แถลงข่าวประกาศความพร้อมจัดงาน ฟู้ดอินกรีเดียนท์ เอเชีย 2019 หรือ Fi Asia 2019 ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2562 ที่ไบเทค บางนา พร้อมครบรอบวาระสำคัญ 24 ปีแห่งความสำเร็จในการแสดงงานด้านอุตสาหกรรมอาหารแห่งเอเชีย ชี้โปรตีนแทนเนื้อสัตว์ขึ้นเทรนด์อาหาร 2020 และยกให้ปัจจุบันเป็นยุคแห่งงานวิจัยผสมเทคโนโลยี ย้ำผู้ประกอบการให้เร่งใช้ AI และเปลี่ยนแพคเกจจิ้งเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและอยู่ในมาตรฐานโลก
นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ ภูมิภาคอาเซียน บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า Fi Asia 2019 เป็นการจัดงานครั้งที่ 24 ของ Fi Asia ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ยกระดับ และสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทยและอาเซียนให้สามารถแข่งขันได้ในทุกตลาด โดยปีนี้มีผู้จัดแสดงสินค้าถึง 750 บริษัท จาก 50 ประเทศทั่วโลก และคาดการณ์ว่ามีผู้เข้าชมงาน ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีศักยภาพในการซื้อและเจรจาธุรกิจมากถึง 20,000 ราย โดย Fi Asia มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 25% ในทุกปีที่มีการจัดงาน และสร้างมูลค่าจากการซื้อ-ขายภายในงานมากถึง 250-300 ล้านบาทในแต่ละปี
พร้อมให้ความเห็นถึงสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐที่กำลังเกิดขึ้นว่า “ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากไม่มากก็น้อยในทุกประเทศ เนื่องจากทั้งสหรัฐและจีนนั้นเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีทั้งทรัพยากร แรงงาน ผลผลิต และตลาดขนาดใหญ่อยู่ในมือ ผลกระทบที่จะเห็นได้ชัดเจนก็คือผู้บริโภคไม่กล้าใช้เงิน เนื่องจากค่าเงินยังผันผวนและภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทางออกของอุตสาหกรรมอาหารรวมไปถึงภาคการเกษตรของไทย ก็คือต้องคอยมองหาช่องวางที่เกิดจากสงครามการค้า แล้วฉวยโอกาสเอาไว้ด้วยผลผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าประเทศอื่น ๆ ก็กำลังตั้งรับและพร้อมแข่งขันในโอกาสนี้อยู่ อย่างเช่นเวียดนามที่อยู่ใกล้จีนและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกลายมาเป็นคู่ค้าที่สำคัญของจีนในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งพัฒนาตนเองด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ก่อนที่จะถูกแซงหน้า และอาจจะเข้าไปเล่นในตลาดพรีเมี่ยมที่อยู่อีกระดับให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะผู้บริโภคมีปัจจัยในการบริโภคอยู่อย่างพอเพียง”
ด้านเทรนด์อาหารที่มีการทำข้อมูลอยู่ทุกปีของ Fi Asia ระบุว่าเทรนด์อาหารของปี 2020 คือ
โปรตีนแทนเนื้อสัตว์และโปรตีนสายพันธุ์ใหม่ ที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 6,725 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัว 6.4% ตามความนิยมบริโภคอาหารโปรตีนสูงเพื่อสร้างสมดุลทางโภชนาการทดแทนเนื้อสัตว์ โดยมี Plant Based Food หรือเนื้อไร้เนื้อเป็นดาวรุ่งของเทรนด์นี้
ลดน้ำตาล เพิ่มความหวานที่ดีต่อสุขภาพ การเปลี่ยนโครงสร้างอนุภาคของน้ำตาล เพื่อให้ละลายบนลิ้นได้เร็วกว่าเดิม ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับรสชาติความหวานเท่าเดิม อาหารมีรสชาติเหมือนเดิม 100% แต่สามารถลดน้ำตาลในการผลิตได้มากถึง 40%
อาหารพร้อมทานเพื่อสุขภาพ โดยคำนึงถึงปัจจัย 5 ประการ คือ มีปริมาณน้ำตาลน้อย ไขมันอิ่มตัวต่ำ ไขมันรวมต่ำ มีใยอาหาร และมีโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดอาหารพร้อมทานเพื่อสุขภาพของโลกจะมีมูลค่าประมาณ 10,551 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564
อาหารสำหรับผู้สูงอายุและโภชนาการแบบเฉพาะบุคคล การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประชากรโลก ทำให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคกลุ่มนี้มากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าประเทศไทย ในปี 2565 จะมีผู้สูงวัยอายุ 70 ปี มากถึง 4.6 ล้านคน
วัตถุดิบและส่วนผสมจากท้องถิ่น สืบเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือความแปลกใหม่อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต้องมองหาวัตถุดิบและส่วนผสมที่มีในเฉพาะบางพื้นที่เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม
เครื่องดื่มสีใส แต่งกลิ่น แต่งรส สดชื่น เมื่อตลาดเครื่องดื่มเริ่มอิ่มตัว การสร้างสรรค์สินค้าใหม่จึงเป็นอีกทางออกที่สร้างมูลค่าได้อย่างน่าสนใจ โดย Water Plus เครื่องดื่มสีใส แต่งกลิ่น แต่งรส และให้ความสดชื่น เกิดขึ้นมาเพื่อทำตลาดใหม่ หลังจากที่ตลาดเดิมอย่างน้ำอัดลมกำลังถึงจุดอิ่มตัว
ดื่มเพื่อสุขภาพ จากปัจจัยที่ผู้บริโภคเครื่องดื่มกำลังมองหาสินค้าที่มีน้ำตาลน้อยไปจนถึงไม่มีน้ำตาล แต่รสชาติอร่อยไปพร้อม ๆ กับเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจึงถูกคิดค้นขึ้นมากมายในยุคสมัยนี้ โดยเพิ่มส่วนผสมเพื่อบำรุงสมอง เสริมการทำงานของลำไส้ และเพิ่มความงาม
น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำมะพร้าว ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของน้ำดื่มบรรจุขวด เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการน้ำดื่มที่สะอาดและมีคุณภาพ โดยมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของ GDP พร้อมปัจจัยหนุนจากอากาศร้อนของปรากฏการณ์ El Nino ทำให้น้ำดื่มบรรจุขวดเป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะน้ำมะพร้าว
การแปรรูปแมลง แมลงเป็นอาหารโปรตีนสูงที่สามารถบริโภคทดแทนเนื้อสัตว์ได้ โดยแป้งที่ได้จากการทำแมลงให้เป็นผง 100 กรัม จะให้โปรตีนได้สูงถึง 50% ในขณะที่เนื้อสัตว์อื่น ๆ จะให้โปรตีนที่ 30% เท่านั้น แมลงใช้วัตถุดิบและสร้างมลพิษให้โลกน้อยมาก มูลค่าตลาดของแมลงทานได้อยู่ 12,000 ล้านบาท
ส่วนเทรนด์ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ปี 2020 คือ Food Waste Solutions เพื่อแก้ปัญหาการทิ้งอาหารให้เป็นขยะซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรในการผลิตเป็นอย่างมาก, AI ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลิตและการจัดการรวมไปถึงสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค, Packaging ที่ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานและการย่อยสลายตามธรรมชาติ, Bountiful Choice เมื่อแบรนด์ต่าง ๆ ถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์และความต้องการของผู้บริโภค นำไปสู่การสร้างสินค้าที่มีความสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น, Rising of Food & Agri-Tech จากการคาดการณ์ว่าประชาการโลกจะเพิ่มเป็น 10,000 ล้านคน เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจะต้องมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอีก 70% ส่งผลให้เทคโนโลยีและงานวิจัยต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทในการเกษตรมากขึ้น และ Foodie Influencer จากผลสำรวจที่ระบุว่าผู้บริโภคกว่า 58 % บอกว่าโซเชียลมีเดียและรีวิวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ทำให้เสียงบอกต่อมีพลังมากกว่าโฆษณาชวนเชื่อ บทบาทของ Foodie Influencer จึงมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคช่างเลือกเป็นอย่างมาก
Fi Asia เป็นงานแสดงสินค้าส่วนผสมอาหาร ที่จัดขึ้นในประเทศไทยทุก 2 ปี ทำให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตสินค้าเกษตรมีความตื่นตัวในการนำวัตถุดิบที่มีในประเทศมาแปรรูป เพิ่มนวัตกรรม และเทคโนโลยีให้สินค้าเกิดมูลค่ามากยิ่งขึ้น จากเทรนด์ต่าง ๆ เหล่านี้ ได้มีผู้ประกอบการด้านส่วนผสมอาหารนำสินค้าที่เกี่ยวข้องอยู่ในเทรนด์มาจัดแสดงซึ่งส่วนผสมถือเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายเพื่อตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยนอกจากผู้ประกอบการที่มาร่วมจัดแสดงสินค้าส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มในงานกว่า 750 บริษัททั่วโลก ได้มีพาวิเลี่ยนนานาชาติและแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ จีน ยุโรป ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ฝรั่งเศส อินเดีย ไทย และ พาวิเลี่ยนส่วนผสมจากธรรมชาติ พาวิเลี่ยนส่วนผสมเพื่อสินค้าสุขภาพ พาวิเลี่ยนส่วนผสมเพื่อเครื่องดื่ม และพาวิเลี่ยนจากผู้ประกอบการใหม่ นอกจากนี้ แล้ว ภายในงานยังมีกิจกรรมที่เสริมสร้างไอเดีย และให้ความรู้ด้านนวัตกรรมแก่ผู้เข้าชมงานอีกมากมาย ทั้ง Innovation Zone, Sensory Box, Innovation Tour, Beverage Theatre และส่วนจัดแสดงสินค้าท้องถิ่นของไทยที่เพิ่มการแปรรูป รวมไปถึงกิจกรรมสัมมนาและการประชุมในหัวข้อ Opportunity in ASEAN Food Industry, Opportunity in Indonesia and Halal Requirements, Unlock your health with snack เป็นต้น
You must be logged in to post a comment Login