วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

“มกอช.”ตรวจสอบเข้มคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย GAP ตลาดสดค้าส่งสินค้าเกษตรรายใหญ่ 7 แห่งในพื้นที่ปทุมธานี

On August 26, 2019

นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์  เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)  กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีมอบป้ายรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทตลาดสดจังหวัดปทุมธานีว่า  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรของประเทศให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  โดยได้มอบหมายให้มกอช.ดำเนินงานตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพมาตรฐานปลอดภัยภายใต้สัญลักษณ์ Q เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้า Q และหาซื้อสินค้า Q ได้อย่างสะดวก

ดังนั้น  มกอช.  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จังหวัดปทุมธานีได้ร่วมกันตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย(Q) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554   ด้วยการตรวจรับรองและติดตามสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ตามเกณฑ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด  พร้อมมอบป้ายรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทตลาดสดจังหวัดปทุมธานีเป็นประจำทุกปี

2

นางสาวจูอะดี  กล่าวด้วยว่า   ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารในส่วนต้นทางของห่วงโซ่อาหาร   เพื่อให้ได้เป็นสินค้าQ ที่มีความปลอดภัยก่อนบริโภค โดยการตรวจรับรองระบบการผลิต   เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยตามระบบการผลิตเกษตรที่ดีและเหมาะสม(GAP : Good Agricultural Practice)ลดการใช้สารเคมี ฮอร์โมนหรือสารเร่งการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆ  ขณะเดียวกันการรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากแหล่งผลิตที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GAP ก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการควบคู่กันไป

4

“ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานี เป็นที่ตั้งตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ของประเทศ ที่มีสินค้ากระจายไปเกือบทั่วประเทศ   มกอช.และจังหวัดปทุมธานีได้ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการตรวจรับรองตลาดสดให้ได้คุณภาพมาตรฐานปลอดภัยภายใต้สัญลักษณ์ Q เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรของประเทศให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจว่าตลาดสดแหล่งค้าส่งสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศมีคุณภาพมาตรฐานก่อนที่จะกระจายไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ” นางสาวจูอะดี กล่าว

5

ด้านนางละออง ชื่นฉอด เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี  กล่าวว่า     ในปี 2562 จังหวัดปทุมธานี มีตลาดเป้าหมายจำนวน 7 แห่ง   ประกอบด้วย ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไอยรา  ตลาดรังสิต ตลาดสะพานแดง ตลาดพระยาสมาน และตลาดอินเตอร์มาร์ท  มีผู้ประกอบการแผงค้าเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 352 แผงค้า แบ่งเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้

6

 

1. กิจกรรมตรวจประเมินร้านค้าใหม่ จำนวน 35 แผงค้า ได้แก่  ตลาดไท 27 แผงค้า ตลาดไอยรา 4 แผงค้า และตลาดสี่มุมเมือง  4 แผงค้า

2. กิจกรรมตรวจติดตามร้านค้าเดิม จำนวน 258 แผงค้า ได้แก่  ตลาดรังสิต 22 แผงค้า ตลาดไอยรา 7 แผงค้า ตลาดสะพานแดง  6 แผงค้า ตลาดพระยาสมาน 13 แผงค้า ตลาดสี่มุมเมือง 68 แผงค้า และตลาดไท 142 แผงค้า

3. กิจกรรมตรวจต่ออายุร้านค้าเดิมที่ป้ายรับรองค รบ 3 ปีจำนวน59 แผงค้า ได้แก่ ตลาดอินเตอร์มาร์ท 10 แผงค้าตลาดไอยรา 13 แผงค้า และตลาดสี่มุมเมือง 36 แผงค้า

7

page1


You must be logged in to post a comment Login