- อย่าไปอินPosted 20 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ดอกเบี้ยกับซะกาต
คอลัมน์ : สันติธรรม
ผู้เขียน : บรรจง บินกาซัน
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่ 30 สิงหาคม-6 กันยายน 2562)
สังคมอาหรับเมื่อพันกว่าปีก่อนเป็นสังคมที่ผู้คนส่วนใหญ่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายและเลี้ยงสัตว์ เมืองมักก๊ะฮฺเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญของชาวอาหรับในสมัยก่อนหน้าอิสลาม สินค้าจากอินเดียถูกนำมาขึ้นฝั่งที่เยเมนและถูกขนส่งมายังมักก๊ะฮฺ และถูกพ่อค้าที่นั่นซื้อไปขายยังชามหรือซีเรียในปัจจุบัน เมื่อขายสินค้าหมดชาวอาหรับจะซื้อสินค้าจากที่นั่นซึ่งมาจากจีนและอาณาจักรไบแซนตินกลับมาขายที่เมืองมักก๊ะฮฺหรือส่งต่อไปยังเยเมน
นบีมุฮัมมัดเคยเดินทางไปกับกองคาราวานของลุงตั้งแต่อายุ 12 ปีจนกระทั่งเป็นหนุ่ม ท่านจึงมีประสบการณ์ในการค้าและได้ยินเรื่องราวต่างๆจากพ่อค้าต่างแดนที่มาทำการค้าขายกันที่นั่น ท่านจึงพอมีความรู้ข่าวความเป็นไปของชาติต่างๆรอบคาบสมุทรอาหรับพอสมควร
ด้วยความที่มีประสบการณ์ในการค้าและมีความซื่อสัตย์จนชาวเมืองมักก๊ะฮฺให้ฉายาท่านว่า “อัลอะมีน” นางเคาะดีญะฮฺ เศรษฐินีแม่ม่าย จึงชวนท่านมาร่วมกันทำการค้า โดยตกลงกันว่านางจะให้ท่านนำกองคาราวานสินค้าของนางไปขายยังซีเรีย ส่วนนบีมุฮัมมัดเป็นผู้ใช้ความสามารถในการค้าขายโดยนางจะไม่เข้าไปก้าวก่าย ได้เงินมาเท่าใด นบีมุฮัมมัดจะคืนทุนให้นาง ส่วนกำไรที่ได้หลังจากหักทุนแล้วจึงแบ่งกันตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ วิธีการทำการค้าหรือธุรกรรมเช่นนี้ในภาษาอาหรับเรียกว่า “มุฎอเราะบ๊ะฮฺ”
แต่เมื่อนบีมุฮัมมัดได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ศาสนทูตประกาศศาสนาของพระเจ้าเมื่ออายุได้ 40 ปี ท่านต้องยุติการค้าขายทั้งหมดเพื่อทุ่มเทให้แก่ภารกิจที่พระเจ้ามอบหมายมา
ในเวลานั้นการจะซื้อสินค้าจำนวนมากๆเพื่อนำไปขาย พ่อค้าชาวอาหรับต้องกู้เงินจากนายทุนเงินกู้ชาวอาหรับด้วยกันหรือไม่ก็กู้จากนายทุนเงินกู้ชาวยิว และเมื่อกู้เงิน ผู้กู้ย่อมต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ผู้ให้เงินกู้
เมื่อประกาศศาสนาได้สัก 4-5 ปี พระเจ้าได้มีบัญชาลงมาให้ท่านเตือนชาวอาหรับว่าดอกเบี้ยที่พวกเขาจ่ายไปโดยหวังว่ามันจะช่วยให้ตนเองมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการทำการค้านั้น มันไม่ได้เพิ่มพูนขึ้นในสายตาของพระเจ้า และแนะนำว่าการจ่ายซะกาตโดยหวังจะได้พบพระเจ้าต่างหากที่จะได้รับการตอบแทนเป็นทวีคูณ
ดอกเบี้ยในภาษาอาหรับเรียกว่า “ริบา” หมายถึงส่วนที่เกินจากทุนเดิม เช่น เกินจากเงินต้น หรือน้ำที่ถูกเติมลงไปในนมเพื่อให้นมมีจำนวนมากขึ้นก็ถือเป็นริบา ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม แต่นี่เป็นเพียงคำแนะนำหรือคำเตือน ยังไม่ได้มีการห้าม
ส่วนคำว่า “ซะกาต” หมายถึงการงอกงาม การเจริญเติบโต และหมายถึงการขัดเกลาให้สะอาดบริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงการขัดเกลาวิญญาณให้สะอาดหมดจดจากมลทินแห่งความตระหนี่ถี่เหนียวที่เกาะกินจิตใจ ทั้งๆที่ในตอนนั้นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับซะกาตยังไม่ได้ถูกประทานมา คำว่าซะกาตจึงเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงการบริจาค
คำว่า “ริบา” กับคำว่า “ซะกาต” สื่อความหมายถึงการเพิ่มพูน แต่แตกต่างกันตรงที่ความเพิ่มพูนจากริบาเกิดจากความอยากได้ แต่ความเพิ่มพูนจากซะกาตเกิดจากความอยากให้
ประเทศไทยเริ่มเห็นผลร้ายของดอกเบี้ยเมื่อตอนที่ต้องเจ็บหนักจากวิกฤตต้มยำกุ้งใน พ.ศ. 2540 ตอนนี้รัฐบาลได้ให้ธนาคารของรัฐบางแห่งลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านเหลือ 0% ในปีแรก แต่ในปีต่อไปจะเริ่มคิด
ขณะเดียวกันรัฐบาลก็พยายามหาทางแจกจ่ายเงินให้แก่ประชาชนจับจ่ายใช้สอยเพื่อเม็ดเงินจะได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งดูเป็นเรื่องดี แต่ที่ไม่ดีก็คือเงินที่นำมาแจกจ่ายนี้มิได้มาจากเศรษฐี แต่รัฐบาลกู้มาแจก ในที่สุดเงินแจกเหล่านี้จะไหลเข้ากระเป๋าเศรษฐี และประชาชนต้องเป็นผู้เสียภาษีชำระหนี้อีกหลายชั่วรุ่น
You must be logged in to post a comment Login