- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ไขมันพอกตับ’ภัยเงียบ กว่าจะรู้ตัวอาจสายเกินไป
คอลัมน์ : โลกสุขภาพ
ผู้เขียน : พญ.ปิติญา รุ่งภูวภัทร โรงพยาบาลพระรามเก้า
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่ 30 สิงหาคม-6 กันยายน 2562)
ปัจจุบันผู้คนสามารถเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายขึ้น ยิ่งโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินยิ่งพบเจอได้ง่าย เวลาตรวจสุขภาพต้องมานั่งลุ้นว่าโคเลสเตอรอลจะเกินไหม ไตรกลีเซอไรด์จะพุ่งหรือไม่ โดยเฉพาะค่าน้ำตาลในเลือดที่มีผลให้เกิดความเสี่ยงสารพัดโรค ซึ่งนอกจากโรคเบาหวานแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวไม่แพ้กันคือ ไขมันพอกตับ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานแล้วไปใช้ได้หมด จนทำให้เกิดการสะสมอยู่ที่ตับ
ไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบ เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตับมีความผิดปกติ เพราะส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ มักตรวจพบและได้รับการวินิจฉัยเมื่อมาตรวจสุขภาพประจำปี อาจมีอาการอ่อนเพลียควบคู่ไปด้วย มีอาการจุกแน่นบริเวณชายโครงขวา ภาวะไขมันพอกตับโดยส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กลุ่มอาการอ้วนลงพุง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ชอบรับประทานอาหารหวาน ไม่ออกกำลังกาย และโดยส่วนใหญ่ไขมันพอกตับระยะแรกมักไม่มีอาการ แต่หากปล่อยทิ้งไว้จนเกิดการอักเสบเรื้อรังอาจทำให้กลายเป็นตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับได้
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่เรารับประทานไปใช้ได้หมด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่มีอาการ จึงอาจทำให้ไม่ทราบว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะไขมันพอกตับ
ดังนั้น การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีหรือทุก 6 เดือน จะช่วยให้พบความผิดปกติของตับได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะไขมันพอกตับสามารถตรวจเจอในระยะแรกๆ สามารถตรวจพบได้ผ่านการตรวจเลือด อัลตราซาวนด์ หรือการตรวจด้วยเครื่อง FibroScan ประกอบกับวิธีการป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรืออาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น เนื้อติดมัน เบคอน แฮม น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เบเกอรี่ ครีมเทียม หลีกเลี่ยงน้ำตาลฟรุกโตส เช่น เครื่องดื่มที่มีรสหวาน คุกกี้ ลูกอม น้ำผลไม้ (ควรรับประทานผลไม้ทั้งผลมากกว่า) และแนะนำว่าควรรับประทานไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วต่างๆ ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 4-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-45 นาที หากใครอยู่ในเกณฑ์อ้วน คือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ให้ลดน้ำหนักตัว สามารถปรึกษาแพทย์ว่าควรจะมีน้ำหนักประมาณเท่าไร ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 5-6 ชั่วโมงต่อวัน และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เป็นต้น
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพระรามเก้า ห่วงใยใส่ใจดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพสามารถรับคำปรึกษาและตรวจเช็กร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยง เมื่อร่างกายแข็งแรงสุขภาพจิตก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
You must be logged in to post a comment Login