- อย่าไปอินPosted 7 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ทช.เปิดตัวโครงการ“1 โรงเรียน 1 ป่าชายเลน” ในพื้นที่ 24 จังหวัดชายทะเล
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 และสถานีพัฒนาทรัพยากร ป่าชายเลนที่ 44 ร่วมกับโรงเรียนบ้านแสงวิมาน และผู้นำชุมชน จัดโครงการ “1 โรงเรียน 1 ป่าชายเลน”ในโอกาสนี้ นายจเรศักดิ์ นันตะวงษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นผู้แทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าว โดยมีนายอภิชัย เอกวนากุล ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น คณะครู และนักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนประมาณ 300 คน ณ บริเวณป่าชายเลนบ้านแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การฝึกเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลนให้กับโรงเรียน การปลูกป่าชายเลน บนเนื้อที่ 10 ไร่ ใช้กล้าไม้ชนิดไม้โกงกางใหญ่ จำนวน 7,000 ต้น และการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ชนิดปูดำ และปูแสม จำนวน 10,000 ตัว
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า “ป่าชายเลน”เป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลนน้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ อ่าว บริเวณชายฝั่งทะเลในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ ป่าชายเลน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophor sp.) เป็นไม้สำคัญ และมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ตัวอย่างเช่น ถั่วดำ ถั่วขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงขาว โปรงแดง ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมขาว แสมทะเล สำพู ลำพูทะเล ตาตุ่มทะเล เหงือกปลาหมด เป็นต้น
นายจตุพร กล่าวต่อว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) มีภารกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการ ทรัพยากรทางทะเล ซึ่งรวมทั้งป่าชายเลนให้คงอุดมสมบูรณ์ มั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน ตลอดจนสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมสามารถส่งเสริมให้ประชาชนร่วมปลูกป่าชายเลนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชุมชนในป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จำนวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ ทำให้ป่าชายเลนจะประกอบ ไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จำนวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ ทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่ว่างไข่และอนุบาลตัวอ่อนรวมถึงที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด
นายจเรศักดิ์ นันตะวงษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า จากภารกิจของการจัดทำโครงการ “1 โรงเรียน 1 ป่าชายเลน” เป็นการสร้างความรับรู้และความเข้าใจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วม รวมถึงการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมั่นคง ดังนั้น กรม ทช. จึงได้ร่วมกับสถาบันศึกษาจัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อร่วมฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรม หรือเปลี่ยนสภาพให้กลับคืนสู่ความสมบูรณ์ โดยตั้งเป้าหมายร่วมกับโรงเรียนและชุมชนในท้องที่ 24 จังหวัดชายทะเล จังหวัดละ 1 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 แปลง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฟื้นฟูความรู้ ความเข้าใจและจิตสำนึก รณรงค์การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมให้คืนสู่ความสมบูรณ์ ตลอดจนเพื่อปลูกฟื้นฟูเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปัญหาภาวะโลกร้อน และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรป่าชายเลน
สำหรับการจัดทำโครงการ “1 โรงเรียน 1 ป่าชายเลน” เป็นโครงการที่กรม ทช. ร่วมกับโรงเรียนในท้องที่ 24 จังหวัด กำหนดคัดเลือกพื้นที่ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมและเหมาะสมปลูกเป็นแปลงปลูกป่าชายเลนของจังหวัดๆ ละ 1 โรงเรียนๆ ละ 1 แปลง พร้อมช่วยกันดูแลบำรุงรักษาให้กล้าไม้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้คืนสู่ความสมบูรณ์ โดยการจัดโครงการในครั้งนี้ได้เลือกโรงเรียนบ้านแสงวิมาน จ.นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่เปิดโครงการแห่งแรกและจะดำเนินการให้ครบทั้ง 24 จังหวัดต่อไป “นายจเรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย”
You must be logged in to post a comment Login