- อย่าไปอินPosted 18 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“อ.ดร.นพ.ณัฐพล ภาณุพินธุ” คิดค้น Platform Technology ศึกษาการสื่อสารของเซลล์กระดูกเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองยา และผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษาภาวะกระดูกพรุน
เมื่อเร็วๆ นี้ อาจารย์ ดร. นายแพทย์ณัฐพล ภาณุพินธุภาควิชาสรีรวิทยา และหน่วยวิจัยแคลเซียมและกระดูกคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาฟิสิกส์ จากโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฐานสำหรับงานวิจัยด้านกระดูกโดยการผสมผสานการเลี้ยงเซลล์กระดูกสามชนิดเข้าด้วยกันในระบบที่มีการไหลเวียนของเหลวแบบต่อเนื่อง” โดยได้กล่าวถึงปัจจัยหลายประการที่มีผลเสียต่อมวลกระดูก อาทิ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในกลุ่มหญิงหมดประจำเดือน นอกจากนี้ การลดลงของมวลกระดูกยังเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคธาลัสซีเมีย โดยการทดสอบประสิทธิภาพของสารที่ผ่านมามักทำในระบบนิ่งที่มีเซลล์เพียงชนิดเดียว ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงภายในกระดูกจริง เพราะกระดูกประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่ถูกกระตุ้นด้วยแรงภายนอกตลอดเวลา ดังนั้นโครงงานวิจัยนี้ จึงนำเสนอวิธีการศึกษาแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีฐาน (Platform Technology) ที่มีระบบขับเคลื่อนของเหลวแบบต่อเนื่อง ทำให้เซลล์กระดูกสามารถสื่อสารกันได้โดยตรง โดยช่วงแรกจะเป็นการทดสอบระบบด้วยยาที่ใช้อยู่ในคลินิก เพื่อรักษาภาวะกระดูกพรุนโดยใช้เทคนิคที่ไม่ซับซ้อนได้ผลแม่นยำ ช่วงที่สองจะเป็นการทดสอบการทำงานของเซลล์กระดูกโดยจำลองภาวะที่เกิดในโรคที่ได้กล่าวข้างต้น โดยต้องการทราบกลไกการทำงานของเซลล์กระดูกในภาวะเหล่านี้ เทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองยา หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษาภาวะกระดูกพรุน อีกทั้งได้สารที่ปลอดภัยก่อนนำไปทดสอบในสัตว์ทดลอง และมนุษย์ต่อไป
อาจารย์ ดร. นายแพทย์ณัฐพล ภาณุพินธุกล่าวเพิ่มเติมว่า ในการวิจัยการลดลงของมวลกระดูกในโครงงานวิจัยนี้ได้มุ่งศึกษาไปที่โรคธาลัสซีเมีย เพราะเป็นโรคที่จำเพาะอยู่พบได้บ่อยในเขตร้อนชื้น และประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียอยู่เป็นจำนวนมาก โดยพบว่าเป็นโรคนี้เกิดจากทางเลือดที่เกี่ยวกับการที่เม็ดเลือดแดงสร้างฮีโมโกลบินได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้การขนส่งออกซิเจนไม่มีประสิทธิภาพเปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้เกิดอีกทั้งยังมีภาวะการสะสมธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป จนไปกระทบต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงเซลล์กระดูก โดยทางหน่วยวิจัยแคลเซียมและกระดูกได้พิสูจน์แล้วในหนูทดลองที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย พบว่ามีกระดูกบางลง ซึ่งโครงงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการสื่อสารของเซลล์กระดูกเพื่อศึกษาการดูการเกิดโรคกระดูกพรุนในภาวะภาวะการสะสมธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไปในร่วมกับโรคธาลัสซีเมียซึ่งตัวเองได้เป็นผู้คิดค้นวิธีวิจัยขึ้นใหม่ โดยการเลี้ยงเซลล์กระดูก 3 ชนิด ซึ่งได้แก่ Osteocyte(เซลล์กระดูกรับแรง) Osteoblast(เซลล์กระดูกสร้างคอลลาเจน) และ Osteoclast(เซลล์สลายกระดูก) เข้าด้วยกันโดยใช้เทคโนโลยีฐาน (Platform Technology) ที่มีระบบขับเคลื่อนของเหลวแบบต่อเนื่อง
“ปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยโดยเลี้ยงกระดูก 3 เซลล์นี้ไปด้วยกันในระบบsystemเดียวกัน ซึ่งถ้าได้ผลดี เราอยากที่จะให้ Platform Technology ที่เราคิดค้นขึ้นนี้ สามารถบอกผลข้างเคียงของยาได้การทำงานของเซลล์กระดูกและยาที่ใช้รักษาในบริบทที่เหมือนจริง โดยอาจบอกได้ว่ายาที่พัฒนาขึ้นมานั้นรักษาโรคบางโรคได้ดี แต่มีฤทธิ์ทำลายกระดูก หรืออีกทั้งยังสามารถทราบถึงผลข้างเคียงจากยา และอาหารเสริมที่นำมาทดสอบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทำให้เราจะมองภาพจนจบ ซึ่งเป็นการใช้วิทยาศาสตร์พื้นฐานไปพัฒนาเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยมีโจทย์วิจัยรองรับ”
“คนไทยเป็นโรคกระดูกพรุนกันเยอะ เนื่องจากเราได้รับสารอาหารที่มีแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นทำอย่างไร ถึงจะเสริมสร้างมวลกระดูกได้ ซึ่งการออกกำลังกายช่วยทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เราต้องพยายามทำให้กระดูกมีการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ร่างกายได้มีการขยับเคลื่อนไหวไม่เช่นนั้นเราก็จะสูญเสียมวลกระดูกซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักทำให้ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และเป็นภาระแก่ผู้ดูแลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมนอกจากนี้ ปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกพรุนยังมีข้อจำกัดเนื่องจากยาที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพดีพอ หรือลดประสิทธิภาพลงเมื่อใช้ในระยะยาวยาบางชนิดยังมีผลข้างเคียงจนทำให้ต้องยุติการรักษาซึ่งการใช้ยารักษาเมื่อเป็นโรคแล้วหรือเมื่อเกิดกระดูกหักเหมือนการรักษาที่ปลายเหตุการรักษาโรคกระดูกพรุนที่ดีกว่าการรักษาก็คือการป้องกันโดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่กับการออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่เราพยายามรณรงค์ให้กับคนไทยมาโดยตลอด” อาจารย์ ดร. นายแพทย์ณัฐพล ภาณุพินธุ กล่าวทิ้งท้าย
You must be logged in to post a comment Login