- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 5 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 day ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
5 พันธมิตรเกษตร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ผนึกกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลยั่งยืน
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย สมาคมเกษตรปลอดภัย บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัดและบริษัทซินเจนทาครอปโปรเทคชั่นจำกัด ประสานความร่วมมือโครงการ “ความยั่งยืนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลด้านสังคม สุขภาพสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ” เพื่อยกระดับองค์ความรู้และนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรมอ้อยและ ทั้งระดับฟาร์มและระดับโรงงาน ให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล
นายสมพล โนดไธสง รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประธานเปิดงานและร่วมลงนามความร่วมมือโครงการ “ความยั่งยืนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลด้านสังคม สุขภาพสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ” พร้อมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยบนความท้าทายในเวทีโลก ท่ามกลางพันธมิตรภาคเกษตรกรรมไทย ดร. กิตติ ชุณหวงศ์นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ นายกสมาคมเกษตรปลอดภัย นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานกรรมการบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัดและนายธนัษ อภินิเวศ ผู้อำนวยการบริษัทซินเจนทาครอปโปรเทคชั่นจำกัดประเทศไทย
ดร. กิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงยุทธศาสตร์ของไทย ส่งออกเป็นลำดับ 3 รองจากยางพาราและข้าว มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกอ้อยรวมกว่า 11 ล้านไร่ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยกว่า 430,000 ครัวเรือน คิดเป็นเกษตรกรกว่าล้านราย สร้างรายได้สูงเกือบ 300,000 ล้านบาทต่อปีนอกจากนี้ยังมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากอ้อย เช่น เอทานอล พลังงานไฟฟ้าชีวมวล กระดาษ ปุ๋ย อาหาร เครื่องสำอางอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ขณะที่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมีบทบาทสำคัญสูง แต่ปัจจุบันกลับประสบปัญหาหลายด้าน ทั้งในด้านระบบการผลิต ความแปรปรวนของผลผลิตจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาอ้อย การขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการแข่งขันทางการค้าโลก ส่งผลกระทบไปทุกระดับในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น การประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งผู้ผลิต เกษตรกร โรงงานอุตสาหกรรม รัฐและเอกชน จึงเป็นทางออกสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลให้มีความยั่งยืน
โครงการ “ความยั่งยืนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลด้านสังคม สุขภาพสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ” หรือ Social,Health,Environment,Economics,Partnership for Sustainable Sugarcane (SHEEP for Sustainable Sugarcane)เป็นการดำเนินงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทั้งระดับฟาร์มและโรงงานที่จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล พร้อมยกระดับสู่สากลในมาตรฐาน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสังคม (S-Social) ทุกคนในภาคอุตสาหกรรมฯมีความสุข 2) ด้านสุขภาพ (H-Health) ทุกคนในภาคอุตสาหกรรมฯและผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี 3) ด้านสิ่งแวดล้อม (E-Environment) ทุกคนในภาคอุตสาหกรรมฯใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4) ด้านเศรษฐกิจ (E-Economics) ทุกคนในภาคอุตสาหกรรมฯ มีความเป็นอยู่ที่ดี 5) ด้านพันธมิตร (P-Partnership) ทุกคนในภาคอุตสาหกรรมฯ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
“แต่ละหน่วยงานต่างตกลงร่วมมือกันตามบทบาทและความเชี่ยวชาญ โดยสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์กลางประสานงาน รวบรวมนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยและทดลองให้มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลดีขึ้น สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับผิดชอบส่งเสริมงานวิจัย หลักดันนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสม สมาคมเกษตรปลอดภัยสนับสนุนด้านวิทยากร สร้างความรู้ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้เกษตรกรและทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ สร้างโรงเรียนอ้อยโดยเกษตรกรเพื่อเกษตรกร บริษัท ซูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ประสานความร่วมระหว่างสมาคมโรงงานน้ำตาลและโรงงานอ้อยทั่วประเทศ เพื่อนำแนวทางไปประยุกต์ปรับใช้และเผยแพร่ความรู้ไปสู่บุคลากรในวงการ บริษัทซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัดสนับสนุนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน สร้างความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย” ดร. กิตติ ชุณหวงศ์ กล่าวสรุป
You must be logged in to post a comment Login