วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เครือข่ายราชบุรีโมเดลร่วมหน่วยงานรัฐชูต้นแบบเกษตรGAPใช้เคมีไร้สารตกค้าง

On September 27, 2019

ตามที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤษฎา บุญราช ได้รับดูแลและเริ่ม“โครงการราชบุรีประชารัฐ พืชผักและผลไม้ปลอดภัย นำไทยสู่ครัวโลก” เพื่อใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบของการผลิตผักและผลไม้ด้วยการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย รวมทั้งให้มีการศึกษาผลกระทบจากการปฏิบัติจริง หลังจากเกษตรกรได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี โดยเปรียบเทียบและตรวจสอบผลอย่างต่อเนื่อง ก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินโครงการ ทั้งในด้านสุขภาพเกษตรกรและการตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล พร้อมพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ได้แก่ สารพาราควอตไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอส ไม่ได้ส่งผลกระทบด้านลบดังที่เป็นข่าว เนื่องจากกระแสข่าวเรื่องสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซ้ำเติมเกษตรกรเพิ่มจากปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง แถมด้วยต้นทุนพุ่งจากการกักตุนสารเคมี ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น 3 เท่า กระทบไกลถึงเศรษฐกิจ ภาพลักษณ์ประเทศและการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมในระยะยาว

นางสาวอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง ผู้แทนเกษตรกรในโครงการฯเปิดเผยว่า “โครงการราชบุรีประชารัฐ ได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมอยู่ภายใต้การทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรของเครือข่ายผ่านการรับรองมาตรฐาน GAPเป็นการทำงานภายใต้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เกษตรกร และภาคเอกชน เพื่อมุ่งเน้นการผลิตอาหารปลอดภัยไร้สารตกค้างแม้จะใช้สารเคมีซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกก็มีใช้กันในทุกประเทศ

2

ทั้งนี้ อยากจะเน้นย้ำว่าการพัฒนาภาคการเกษตรกรรม คงต้องยึดหลักผสมผสานอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบสอดคล้องกับความเป็นจริง การผลิตอาหารปลอดภัยมี 2 ระบบ คือการเกษตรอินทรีย์คือไม่ใช้สารเคมีเลย และการเกษตรมาตรฐาน GAP ใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ไร้ผลตกค้างมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เกษตรปลอดภัยแต่ด้วยวิธีการที่ต่างกัน สำหรับโครงการราชบุรีประชารัฐฯ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการรุ่นแรกทั้งสิ้น 50 รายจากผู้ปลูกพืช ผัก และผลไม้ ในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันเกษตรกรดังกล่าวปฏิบัติตนตามมาตรฐาน GAP เพาะปลูกและใช้สารเคมีอย่างถูกต้องเหมาะสมรู้จักป้องกันตนเอง และใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นกิจนิสัย โดยจะเสร็จสิ้นโครงการในเดือนธันวาคมนี้”

นอกจากนี้ วันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา เกษตรกรมาตรฐานGAP รุ่นแรกได้เข้ารับการอบรมและการสอบผ่านตามมาตรการจำกัดการใช้สารพาราควอตไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอสและขอยืนยันว่า เกษตรกรยังจำเป็นต้องใช้สารกำจัดวัชพืช รวมทั้ง มีการตรวจสอบน้ำ ดิน ผักและผลไม้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ตลอดระยะเวลา 2 ปี ก็ไม่พบการตกค้างของสารพาราควอต

“โครงการฯ จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยดีจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 5 ราชบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ที่เป็นหน่วยงานที่เกษตรกรสามารถพึ่งพาได้อย่างแท้จริง สำหรับแผนการดำเนินงานต่อไป จะขยายผลไปสู่เกษตรกรในเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น พร้อมส่งผลผลิตสู่ตลาดโลกและส่งต่อผลิตผลคุณภาพสูงไปยังกลุ่มโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ท้ายที่สุด เกษตรมาตรฐาน GAP นี้ จะเป็นเครื่องยืนยันผลผลิตการเกษตรถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค ด้วยการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดีกว่าการแบนหรือยกเลิกใช้สารเคมี และปราศจากทางออกที่ยั่งยืน

3

ท้ายที่สุด เกษตรกรจะไม่ยอมให้ผู้ที่ไม่รู้ ผู้ที่ให้ข่าวร้ายมาทำลายเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่เกษตรกร และขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่มีบัญชาเร่งด่วนมาที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมข้อมูลทั้ง 4 ฝ่ายคือ รัฐ ผู้ผลิต เกษตรกร ประชาชน และท่านยังเน้นย้ำว่า เกษตรกรต้องไม่เดือดร้อนกับวิธีการแก้ปัญหา” ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง กล่าวสรุป


You must be logged in to post a comment Login