วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ผู้ประกอบการ SMEs ยังคงกังวลเรื่องยอดขายลดลงในขณะที่ต้นทุนสินค้าจะเพิ่มขึ้นวอนรัฐช่วยเหลือต้นทุนวัตถุดิบ สาธารณูปโภค และแรงงาน

On September 27, 2019

นายสุวรรณชัย  โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) กล่าวว่า องค์ประกอบดัชนีด้านกำไรปรับตัวลดลงมากที่สุดมาอยู่ที่ระดับ 58.2 ในเดือนมิถุนายน (ลดลงจาก 71.0 ในเดือนพฤษภาคม) รองลงมาคือดัชนีองค์ประกอบด้านยอดจำหน่ายซึ่งปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 61.0 ในเดือนมิถุนายน (ลดลงจาก 70.8 ในเดือนพฤษภาคม) ระดับความเชื่อมั่นปัจจุบันของเดือนมิถุนายนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง และอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ในเกือบทุกสาขาสะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นที่ยังหดตัวผู้ประกอบการยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากอำนาจซื้อของประชาชนที่หดตัว ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังไม่เป็นปกติ การชะลอตัวของนักท่องเที่ยว เงินบาทที่แข็งค่าซึ่งส่งผลกระทบความสามารถในการแข่งขัน  และบรรยากาศเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปัจจุบันปรับตัวในทิศทางลดลง”

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจ TSSI ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (หรือเดือนกันยายน) ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 100.2 จุด (ลดลงจาก 100.8 จุด จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม) แต่ยังยืนเหนือระดับ 100 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคาดหวังว่าจะมีงบประมาณภาครัฐหรือเม็ดเงินจากมาตรการต่างๆ ตามที่ได้เคยหาเสียงไว้กระจายลงสู่พื้นที่

สำหรับความกังวลของผู้ประกอบการจากดัชนี TSSI ใน 3 เดือนข้างหน้า เป็นเรื่องยอดจำหน่าย ต้นทุน และการจ้างงาน เห็นได้จากองค์ประกอบดัชนีด้านยอดจำหน่ายที่ลดลงมาที่ระดับ 101.4 จากผลสำรวจในเดือนมิถุนายน (ลดลงจาก ระดับ 103.0 จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม)  องค์ประกอบดัชนีด้านต้นทุนที่หดตัวลงเหลือ 86.8 (จากระดับ 88.4 จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม)  และองค์ประกอบดัชนีด้านการจ้างงานที่หดตัวลงเหลือ 98.2 (จากระดับ 98.8 เมื่อเดือนพฤษภาคม)

นายสุวรรณชัยยังกล่าวต่อไปว่า ผลสำรวจระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม พบว่าผู้ประกอบการ SMEs ยังต้องการให้รัฐช่วยแก้ไขใน 5 เรื่อง ได้แก่ ช่วยแก้ไขปัญหาค่าวัตถุดิบ การสร้างเครือข่ายหรือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรวมตัวกัน (ร้อยละ 54.14) เป็นตัวกลางจัดหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูก (ร้อยละ 45.65) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในทุกภาคธุรกิจให้ความเห็นว่าการสร้างเครือข่ายให้ผู้ประกอบการมีความสำคัญมาก  ยกเว้นผู้ประกอบการค้าส่งที่เห็นว่าการให้ภาครัฐเป็นตัวกลางจัดหาวัตถุดิบมีความสำคัญกว่า

การช่วยแก้ไขปัญหาค่าสาธารณูปโภคด้วยการส่งเสริมให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน (ร้อยละ 35.12) สนับสนุนค่าใช้จ่ายขั้นต่ำให้ธุรกิจ (ร้อยละ 34.55) ให้ความรู้ในการบริหารจัดการใช้สาธารณูปโภคอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 30.26)  ทั้งนี้ผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการใช้สาธารณูปโภคอย่างมีประสิทธิภาพ  ส่วนผู้ประกอบการกรุงเทพปริมณฑลและภาคเหนือ รวมถึงผู้ประกอบกิจการภาคค้าส่งและค้าปลีกให้ความสำคัญกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายขั้นต่ำให้ธุรกิจมากกว่า

การช่วยแก้ไขปัญหาราคาเชื้อเพลิงด้วยการเป็นตัวกลางจัดหาเชื้อเพลิงราคาถูก (ร้อยละ 50.04) และสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์/เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน (ร้อยละ 49.60)

ช่วยแก้ไขปัญหาค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพแรงงาน (ร้อยละ 37.18) สนับสนุนเงินทุนสวัสดิการให้แรงงาน (ร้อยละ 33.12)  สนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโยลีเพื่อลดการใช้แรงงาน (ร้อยละ 29.61)

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังคงต้องการให้รัฐช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของกิจการ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ 24.91)  การปล่อยสินเชื่อเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยคงที่ (ร้อยละ 22.52)  การปรับลดเงื่อนไขการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก (ร้อยละ 22.16)  การงดเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ (ร้อยละ 17.46)  การสนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทางการเงิน (ร้อยละ 12.94)   ในขณะที่การยกเว้นภาษีมีผู้เห็นด้วยเพียงร้อยละ 0.02

“ผู้ประกอบการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และผู้ประกอบการค้าปลีกมีความเห็นว่าการปรับลดเงื่อนไขการยื่นกู้สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กมีความสำคัญมากที่สุด ในขณะที่ ผู้ประกอบการภาคใต้เห็นว่าการให้สินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยคงที่มีความสำคัญกว่า”


You must be logged in to post a comment Login