วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

กระทรวงเกษตรชู “เกษตรอัจฉริยะ”กำจัดจุดอ่อนภาคเกษตรไทย

On September 27, 2019

นายอลงกรณ์   พลบุตร   ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวระหว่างเปิดงาน“การสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผักในโรงเรือนมะเขือเทศ”ภายใต้โครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรฯ ณ ศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภออู่ทอง(ศพก.) วิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทองต.จรเข้สามพันอ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรีว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตรตามนโยบายส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรที่จะนำไปสู่การให้บริการจากภาครัฐโดยอาศัยเทคโนโลยีหรือGovernment TechnologyและBig dataของกระทรวงเกษตรฯตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เนื่องจากเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรลงได้ 30% และยกระดับรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 60% อีกทั้งให้สามารถควบคุมผลผลิตได้ปริมาณแม่นยำสอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้อีกทางหนึ่งด้วย

S__52895755

อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำของโลกแต่เกษตรกรกลับมีหนี้สินจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม ดังนั้นจึงต้องปรับเปลี่ยนสู่การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยใช้ศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ทั่วประเทศ รวมถึง Young Smart Farmer กว่า 12,000 ราย อาสาสมัครเกษตรกว่า 75,000 รายและเกษตรแปลงใหญ่อีกกว่า 6,000 แปลงพื้นที่กว่า 5 ล้านไร่ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เชื่อมั่นว่าภายใน 2 ปีเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า ซึ่งจะต้องสร้างหลักประกันรายได้ให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน สามารถดึงลูกหลานเกษตรกรกลับมาทำอาชีพเกษตรได้ ลดปัญหาหนี้สิน ไร้ที่ดินทำกิน เป็นต้น

S__52895748

​สำหรับโครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรฯมีแผนดำเนินการนำร่องในพืชเศรษฐกิจจำนวน 6 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดและมะเขือเทศ (ในโรงเรือน) ล่าสุดได้ดำเนินการแล้ว 5 ชนิดเหลืออีก 1ชนิดคืออ้อยซึ่งเตรียมจัดตั้งแปลงสาธิตในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีในเร็วๆนี้ นอกจากด้านการผลิตแล้วยังมุ่งเน้นในการจัดเก็บและนำข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ทางการเกษตรต่างๆไปสู่การพัฒนา Big Data เกษตรอัจฉริยะและ IoT Platform เพื่อให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ในการวางแผนตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานขับเคลื่อนด้านการตลาดและระบบขนส่งภาคการเกษตร ที่กระทรวงเกษตรฯพยายามบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร เช่น ระบบรถห้องเย็นขนส่งสินค้า ระบบโลจิสติกส์ ระบบการค้าออนไลน์ เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตในตลาดออนไลน์ได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ Big Data Platform มาช่วยในการจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

S__52895756

ด้านนางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนตามนโยบายของกระทรวงเกษตรฯอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้เกษตรกรได้รับผลผลิตมากขึ้นและการสูญเสียผลผลิตลดลง

S__52895761

​สำหรับแปลงสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะโรงเรือนมะเขือเทศที่จัดทำขึ้นมีขนาด6x 28 เมตร ใช้เทคโนโลยีด้วยระบบเกษตรแบบแม่นยำในการจัดการแปลง อาทิ ระบบตรวจวัดอัตโนมัติด้วยระบบดิจิตอลอัจฉริยะในการวัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศความเป็นเป็นกรดเป็นด่างของดินและน้ำ(p-) การให้ปุ๋ยให้น้ำตามความต้องการของพืชที่เหมาะสม การตรวจวัดธาตุอาหารหลักในดิน การวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ กล้องสำหรับบันทึกข้อมูลระบบ HD การอ่านค่าและการจัดเก็บข้อมูลระบบคลาว์(Cloud) และระบบการควบคุมระยะไกล เป็นต้น ซึ่งทำให้สามารถจัดการตันพืชการให้น้ำให้ปุยและสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นการควบคุมคุณภาพผลผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีการควบคุมภายใต้ระบบ loT (ntemet of Things)ที่สามารถควบคุมจากระยะไกลหรือผ่านทางโทรศัพท์ได้

S__52895757

“ปัจจุบันมะเขือเทศเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมพืชหนึ่งของประเทศไทย โดยมีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศผลสดในประเทศจำนวน 11,278 ไร่คิดเป็นมูลค่า 337 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมและมะเขือเทศรับประทานผลสด เช่น ส้มตำ นอกจากนี้ยังมีการนำมะเขือเทศผลเล็กหรือมะเขือเทศเชอรี่มาวางจำหน่ายในท้องตลาดปรากฏว่าผู้บริโภคให้ความสนใจค่อนข้างมาก เพราะมีรสหวาน เมล็ดน้อย สามารถนำไปบริโภคโดยตรงแทนผลไม้ได้

S__52895760


You must be logged in to post a comment Login