- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 12 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 day ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
สมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันฯวอนพณ.วางแผนช่วยเหลืออย่างยั่งยืน
นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “วันที่ 1 ตุลาคมนี้ กระทรวงพาณิชย์ จ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ราคาปาล์มน้ำมันกิโลกรัมละ 4 บาท โดยรับเงินส่วนต่างจากราคาประกันและราคาตลาด ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ โดยส่วนตัวแล้ว ไม่อยากให้รัฐนำภาษีประชาชนมาใช้ อยากให้วางแผนช่วยเหลืออย่างยั่งยืน เบื้องต้นมีหลายมาตรการออกมาสนับสนุน เพื่อลดการใช้ภาษีประชาชน คาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในต้นปีหน้า แต่มาตรการดังกล่าว อาจไม่สำเร็จได้ เนื่องจาก ต้นทุนการผลิตกำลังจะเพิ่มขึ้นจากปัญหาการแบนสารเคมี จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการณ์ความร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศสูงสุด”
ปัจจุบัน มีองค์กรออกมาเสนอให้ใช้สารทดแทนโดยไม่เคยลงมือทำเกษตรกรไม่ใช่หนูทดลองที่ภาครัฐ NGO หรือผู้ขายจะเข้ามาสั่งให้ซ้ายหันขวาหันแล้วเกษตรกรต้องทำตามเกษตรกรขอเป็นคนเลือกเองว่าจะใช้อะไร สารตัวไหน มีอะไรมาทดแทนได้จริงหรือไม่ ปลอดภัยจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรกลุ่มปาล์มน้ำมัน ขอให้กำลังใจท่านนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการวัตถุอันตรายและข้าราชการทุกคน ในการยืนยันมติจำกัดการใช้ 3 สารเคมี พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอสรวมทั้งสนับสนุนให้เกษตรเพาะปลูกตามมาตรฐาน GAP ใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องตามข้อปฏิบัติกรมวิชาการเกษตร ซึ่งถือเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
นอกจากนี้ เกษตรชาวสวนปาล์มในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีหลายร้อยครอบครัว คิดเป็น 100% ได้เข้าร่วมอบรมและสอบเพื่อรับใบอนุญาตใช้สารเคมี ตามมาตรการจำกัดการใช้ที่ได้กำหนดแล้ว นายสุชล สินผดุง เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดปทุมธานี กล่าวเสริมว่า “เกษตรกรทุกคนต้องการใช้ พาราควอต จึงได้ตอบรับเข้าร่วมอบรมกันทุกคน โดยการสอบและการอบรมไม่ได้เป็นเรื่องยากเลย เป็นสิ่งที่เกษตรกรรู้และปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว ที่สำคัญ ชาวสวนปาล์มใช้สารพาราควอตเพียงปีละ 2 ครั้ง เพื่อฉีดพ่นในช่วงหญ้าเติบโตมาก ป้องกันเป็นที่อยู่อาศัยของงู หรือสัตวเลื้อยคลานที่มีพิษอื่น ๆ โดยสวนของตนเองมีขนาดพื้นที่กว่า 40 ไร่ ไม่สามารถหาแรงงานคนมาจัดการได้”
You must be logged in to post a comment Login