- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ภูมิแพ้ในไทยน่าหวั่นใจ แพทย์ชูแนวทางภูมิคุ้มกันบำบัดพิชิตโรคภูมิแพ้จากไรฝุ่น
แพทย์ระบุสถานการณ์โรคภูมิแพ้ในไทยน่าหวั่นใจ เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในรอบ 40 ปี พบอัตราคนไทยป่วยภูมิแพ้จากไรฝุ่นสูงถึง 80% พร้อมเผยวิวัฒนาการรักษา แนวทาง “ภูมิคุ้มกันบำบัด” สามารถพิชิตโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจจากไรฝุ่น ส่งผลอาการทุเลา-หายขาด ย้ำ วิธีป้องกันประชาชนควรเร่งกำจัดไรฝุ่น ภัยเงียบภายในบ้าน หลีกเลี่ยงพื้นที่ PM 2.5 และให้ใช้ชีวิตตามทฤษฎี 4 Es “กินดี ออกกำลังดี สภาพแวดล้อมดี อารมณ์ดี”
ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหืด โรคภูมิแพ้ และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่าปัจจุบันสถานการณ์คนไข้โรคภูมิแพ้ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนโดยคนไทยเป็นภูมิแพ้เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในรอบ 40 ปี โดยเฉพาะโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ประมาณ 40-50 % โรคหอบหืด 10-15% ซึ่งมีภูมิแพ้อากาศร่วมด้วยอีกประมาณ 80% ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีสารก่อภูมิแพ้ คือ ไรฝุ่น
พร้อมกันนี้ยังมีจำนวนผู้ป่วยใน (Hospitalization) โดยผู้ป่วยโรคหืด 115,577 รายต่อปี และมีจำนวนผู้ป่วยใน 2,204 ราย และมีอัตราผู้ป่วยอาการหนักถึง 21.7 % และป่วยรับการรักษาที่โรงพยาบาล 15 %
ขณะนี้คนไทยเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีคนไข้โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจมากขึ้น พบว่า ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ และการกินอาหารที่มีผลมากกว่าพันธุกรรม เนื่องจากคนไข้ส่วนใหญ่ครอบครัวไม่มีใครเป็นโรคภูมิแพ้
“สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้น เริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ที่อาจจะสัมผัสมลพิษ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี มีฝุ่น PM 2.5 มลพิษจากสูบบุหรี่หรือควันจากการหุงต้ม จุดธูปสัมผัสไรฝุ่นมากเกินไปซึ่งพบว่าคนไทยแพ้ไรฝุ่นประมาณ 80% แม่ตั้งครรภ์ที่รับประทานไขมันชนิดดีน้อย ความอ้วนของแม่ที่ตั้งครรภ์ การใช้ยาปฎิชีวนะมากเกินไป และลักษณะการคลอด อย่าง การผ่าคลอด ซึ่งการใช้ยาปฎิชีวนะและการผ่าคลอดมีผลต่อจุลินทรีย์สุขภาพ ทำให้จุลินทรีย์นี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทำให้เสี่ยงเกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืดได้ และเมื่อคลอดออกมาไม่ได้กินนมแม่ รวมถึงการใช้ชีวิตของคนเมือง ภาวะโลกร้อน อากาศที่เปลี่ยนแปลง และการใช้ชีวิตไม่ติดดิน” ศ.พญ.อรพรรณ กล่าว
ศ.พญ.อรพรรณ กล่าวต่อว่าด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แนวทางการรักษาโรคภูมิแพ้มีนวัตกรรม เทคโนโลยี แนวทางใหม่ๆ อีกมากมาย โดยการรักษา ที่เหมาะกับคนไข้แต่ละราย (personalized treatment) จะรักษาโดยการป้องกันและทำให้หายขาดแบบไม่เน้นการใช้ยา เพราะธรรมชาติการใช้ยาเป็นเพียงการคุมอาการไม่ให้เกิดขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถหยุดใช้ยาได้
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดโดยมีไรฝุ่นเป็นภูมิที่แพ้ เราจะรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนธรรมชาติของโรคได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันก็สำคัญโดยแบบเดิมเป็นวิธีฉีดใต้ผิวหนังซึ่งคนไข้ต้องมาหาหมอเพื่อฉีดยาเป็นระยะเวลาห้าปี ปัจจุบันมีรูปแบบใหม่ ชนิดแบบอมใต้ลิ้นจะทำให้สะดวกขึ้น ใช้ได้ง่าย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดที่ประเทศไทยถือเป็นอันดับต้นๆของเอเชียที่มีความล้ำหน้าในการรักษา โดยการเปลี่ยนภูมิคุ้มกันของร่างกายหรือภูมิคุ้มกันบำบัดจะทำให้คนไข้สามารถหายขาดจากโรคได้ ซึ่งเริ่มต้นก็ต้องตรวจเช็คคนไข้ว่าแพ้อะไร และใช้วิธีการรักษาตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่างเช่น หากคนไข้แพ้ไรฝุ่นก็จะมียาที่พัฒนาจากไรฝุ่นมาทำการรักษา เป็นต้น
ส่วนการป้องกันนั้น จะเป็นการปรับการใช้ชีวิตโดยใช้ทฤษฎี 4 Es หลักการดูแลภูมิแพ้ นั้นก็คือ Eating หรือ การกิน โภชนาการ ต้องกินอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์สูง มีไขมันชนิดดี เช่น จะเป็นพวกไขมันจากพืช ไขมันจากปลาทะเลน้ำลึก หรือวิตามินดี Exercise การออกกำลังกาย Environment ปรับสภาพแวดล้อม และ Emotion ปรับสภาวะทางอารมณ์
ศ.พญ.อรพรรณ กล่าวปิดท้ายอีกว่าคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จากไรฝุ่นมีประมาณเกือบครึ่งที่ไม่รู้ว่าเป็นโรค จึงอยากให้ทุกคนสังเกตตัวเองว่าเป็นหรือไม่โดยแพทย์ต้องตามให้ทันและคนไข้ต้องตื่นตัว
“โรคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี แพทย์ต้องตามให้ทันและคนไข้ต้องตื่นตัว เพราะโรคภูมิแพ้เกิดขึ้นได้คนทุกเพศ ทุกวัย ต้องเน้นการรักษาให้หาย และเน้นให้แพทย์เข้าใจแนวทางการวินิจฉัยโรค รักษาให้ถูกต้อง” ศ.พญ.อรพรรณกล่าวปิดท้าย
////////////////////////////
You must be logged in to post a comment Login