วันพฤหัสที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568

“ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศภายใต้ระยะเปลี่ยนผ่าน” โดย ผศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

On November 1, 2019

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศนั้นต้องพิจารณาภายใต้พลวัตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและพลวัตของระบบโลก และต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์อาเซียนของไทยไปด้วยพร้อมกัน นอกจากนี้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปต้องมีลักษณะเป็น Regional Approach ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก (Regional common benefits) และมีลักษณะเป็น Inclusiveness โดยการกำหนดยุทธศาสตร์และการดำเนินการควรดึงการมีส่วนร่วมจากกลุ่มหลากหลายในประเทศ งบประมาณปี 2563 ต้องสะท้อนถึงยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศลักษณะดังกล่าวด้วย หากพิจารณาดูพบว่างบประมาณปี 2563 ยังขาดเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์เชิงรุกในการรับมือกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากสงครามทางการค้า เศรษฐกิจไทยโดยภาพรวมขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพจะทำให้งบประมาณอาจขาดดุลมากกว่าที่ประมาณการเอาไว้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมจากฐานขาดดุลเดิม 454,000 ล้านบาท อีก 30% หรือประมาณ 136,200 ล้านบาท เพิ่มจาก 2.5% ต่อ GDP เป็น 2.6% ต่อ GDP เป็นอย่างน้อยเพื่อรับมือความท้าทายจากความถดถอยของเศรษฐกิจโลกปีหน้า แม้นสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยยังอยู่ในระดับที่ยังบริหารจัดการได้ แต่เนื่องจากรัฐบาล คสช. ได้จัดทำงบประมาณขาดดุลมาอย่างต่อเนื่องแต่เศรษฐกิจก็ยังไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายหรือขยายตัวไม่เต็มศักยภาพ นอกจากนี้ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความยากลำบากทางเศรษฐกิจ แต่รัฐบาล คสช. และรัฐบาลชุดนี้ซึ่งเป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจจาก คสช. ยังคงนำเงินภาษีของประชาชนไปจัดซื้ออาวุธเพิ่มขึ้นทุกปี เพิ่มงบประมาณความมั่นคงทั้งที่ประเทศไม่ได้มีปัญหาวิกฤตความมั่นคงใดๆ ขณะที่โรงพยาบาลขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงเรียนขาดครูคุณภาพ มหาวิทยาลัยขาดงานวิจัยและการลงทุนนวัตกรรม เกษตรกรขาดระบบชลประทาน เผชิญปัญหาภัยแล้งสลับน้ำท่วม เพราะขาดการลงทุนทางด้านการบริหารจัดการน้ำ งบปี 2563 ไม่ได้ตอบโจทย์เหล่านี้ จำเป็นที่พรรคฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยต้องทำการแปรญัตติให้มีการจัดสรรงบประมาณกันใหม่ เพื่อมุ่งเป้าสู่การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ดีขึ้น

งบประมาณยังขาดการรับมือความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องมีโครงการหรืองบประมาณเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ งบประมาณจึงไม่ได้ถูกใช้ไปอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อบริหารประเทศแบบมองไปข้างหน้า ไม่ได้มุ่งสู่การแก้ปัญหาใหญ่ๆของประเทศที่เผชิญโดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การลดการผูกขาดเพิ่มการแข่งขัน ปัญหาความถดถอยของความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนความยากลำบากทางเศรษฐกิจและหนี้สินของประชาชนระดับฐานรากและการขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน งบประมาณจำนวนไม่น้อยถูกจัดสรรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าผ่านบัตรสวัสดิการคนจน ใช้วิธีการแจกเงินมากกว่ามาตรการแบบยั่งยืนในลักษณะสร้างงาน สร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ในระยะยาว งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 3,200,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 2,393,120.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2562 จำนวน 120,463.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.3% และคิดเป็นสัดส่วน 74.7% ส่วนรายจ่ายลงทุน จำนวน 655,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2562 จำนวน 5,861.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.9% และคิดเป็นสัดส่วน 20.5% ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมีสัดส่วน 21.6% เห็นได้ว่างบประมาณปี 2563 ก็ไม่ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างงบประมาณ งบลงทุนจึงมีสัดส่วนต่ำเช่นเดียวกับโครงสร้างงบประมาณในหลายทศวรรษที่ผ่านมา การที่ไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างงบประมาณเนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้เอาจริงเอาจังในการปฏิรูประบบราชการและการลดขนาดของหน่วยราชการ ยุบและเลิกหน่วยงานที่ไม่มีภารกิจหรือไม่ค่อยมีความจำเป็นแล้ว งบปี 2563 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มาก เพราะไม่ได้มีโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากทั้งที่ขณะนี้เรากำลังเผชิญปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอยู่ การประมาณการรายได้จากการเก็บภาษีอาจสูงเกินไป อาจจะเกิดการขาดดุลมากกว่าที่คาดการณ์ เพราะเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าประมาณการทำให้เก็บภาษีได้น้อย รัฐบาลอาจสามารถจัดเก็บรายได้ประมาณ 2.725 ล้านล้านบาทหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ 3-4% ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในระดับดังกล่าว มีการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคโนโลยีเพื่อติดตามให้ผู้ประกอบการเสียภาษีสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และการเข้าสู่ระบบบัญชีเดียวทำให้กรมสรรพากรสามารถเก็บภาษีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดสรรงบกลางสูงเกินไปกว่า 500,000 ล้านบาท ทำให้ขาดรายละเอียดเรื่องโครงการการใช้เงินงบประมาณ ตรวจสอบการใช้เงินยากขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการถูกปรับลดงบค่อนข้างมาก อย่างหน่วยงานรัฐสภาตั้งงบรวมกันที่ 8,684.6 ล้านบาท ลดลงจากเดิม 13.23% ที่น่าสนใจคือสำนักงานเลขาธิการสภาถูกตัดงบในภาพรวมลงไป 18.47%

ขณะที่หน่วยงานของศาล ประกอบด้วย สำนักงานศาลปกครอง, สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งงบรวมกันที่ 20,234.9 ล้านบาท ลดลงจากเดิม 10.49% ขณะที่น่าสนใจว่าศาลรัฐธรรมนูญกลับได้รับงบเพิ่ม 25.83% กระทรวงกลาโหมขอตั้งงบ 233,353.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 เป็นเงิน 6,226.8 ล้านบาท (คิดเป็น 2.74%) โดยกองทัพบกได้รับงบ 113,677.4 ล้านบาท มากที่สุด งบประมาณกลาโหมควรเน้นไปที่ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติจะดีกว่า โดยเฉพาะรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ควรเพิ่มงบประมาณทางด้านการศึกษา การวิจัย และสาธารณสุข รวมทั้งควรมีโครงการลงทุนทางด้านการบริหารจัดการน้ำเพิ่มเติม มหาวิทยาลัย 53 แห่งถูกปรับลดงบประมาณลง โดยมหาวิทยาลัยมหิดลถูกปรับลดงบสูงสุดมากกว่าพันล้านบาท ส่วนอีก 23 สถาบันถูกลดงบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยล้านบาท กระทรวงการอุดมศึกษาฯควรไปต่อรองไม่ให้มีการปรับลดงบมากเกินไป เพราะจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาขั้นสูงของประเทศได้

นอกจากนี้การจัดทำงบประมาณควรให้ความสำคัญกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้น และให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์สร้างโอกาสและความเสมอภาคเพิ่มขึ้น

การเอาจริงเอาจังในเรื่องการปฏิรูปจะทำให้ “ไทย” สามารถก้าวสู่การเป็นประเทศร่ำรวยหรือพัฒนาแล้วได้ในระยะ 15-20 ปีข้างหน้า โดยต้องเริ่มต้นการพัฒนาให้ระบอบประชาธิปไตยมีคุณภาพและเข้มแข็ง โลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิมจากการขยายตัวของลัทธิกีดกันทางการค้า ผลกระทบสงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ปัญหาฮ่องกงกับพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างชาติตะวันตกกับจีน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสี่ยงและโอกาสต่อประเทศไทย การวางตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) และการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objective) ของประเทศ มีความสำคัญต่อการฟันฝ่าภาวะความผันผวนไม่แน่นอนและนำพาประชาชนไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

หลายคนอาจตั้งคำถามว่าเรามียุทธศาสตร์ในการปฏิรูปประเทศหรือไม่? เราจะปฏิรูปประเทศท่ามกลางความขัดแย้งในระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร? การเปลี่ยนผ่านในระยะนี้คือการเปลี่ยนผ่านจากระบอบกึ่งประชาธิปไตย (ระบอบสืบทอดอำนาจจาก คสช.) ไปยังระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปฏิรูปเป็นสิ่งที่จะมาคลี่คลายความขัดแย้งในระยะเปลี่ยนผ่านได้หรือไม่?

ความขัดแย้งในระยะเปลี่ยนผ่านคือ การต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่พยายามรักษาสถานภาพเดิมกับฝ่ายที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง เหมือนดั่งที่อันโตนิโอ กรัมชี (Antonio Gramsci) กล่าวไว้ว่า “วิกฤตการณ์ย่อมก่อตัวขึ้นเมื่อสิ่งเก่ากำลังจะตายและสิ่งใหม่ยังไม่สามารถถือกำเนิด ในช่วงว่างนี้จะมีอาการวิปริตผิดเพี้ยนมากมายหลากหลายแบบปรากฏออกมา” การปฏิรูปจะช่วยทำให้ความขัดแย้งรุนแรงและวิกฤตการณ์เบาบางลงด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการหารือ เจรจาต่อรองกัน กระบวนการดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเมื่ออยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เพราะสามารถดึงการมีส่วนร่วมของคนจำนวนมากที่สุดได้

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศนั้นต้องพิจารณาภายใต้พลวัตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและพลวัตของระบบโลก และต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์อาเซียนของไทยไปด้วยพร้อมกัน นอกจากนี้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปต้องมีลักษณะเป็น Regional Approach ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก (Regional common benefits) และมีลักษณะเป็น Inclusiveness โดยการกำหนดยุทธศาสตร์และการดำเนินการควรดึงการมีส่วนร่วมจากกลุ่มหลากหลายในประเทศ เป็นการกำหนดจาก “ล่างสู่บน” มากกว่า “บนสู่ล่าง” แบบใช้อำนาจสั่งการด้วยนโยบายจากผู้มีอำนาจทางเดียว

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศนี้ไม่ควรตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในทุกเรื่อง ประชาคมและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะหลายศูนย์กลางที่เกื้อกูลและเติมเต็มกันมากกว่าการจัดรูปแบบเช่นเดียวกับจักรวรรดิในอดีต การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนจะประกอบไปด้วยประชากรราว 600 กว่าล้านคน คิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากรโลก ขนาดของจีดีพีเท่ากับร้อยละ 5 ของโลก อาเซียนมีความหลากหลายทั้งในแง่การเมืองการปกครอง ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเงิน ทรัพยากรธรรมชาติ และขนาดของประเทศ

การส่งออกและการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งล่าสุดเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังอาเซียนในปี พ.ศ. 2557 อยู่ที่ร้อยละ 26.11  เทียบกับปี พ.ศ. 2537 อยู่ที่ร้อยละ 19

ขนาดของเศรษฐกิจไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 31 ของโลก และคิดเป็นเพียง 0.5% ของจีดีพีโลก เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดใหญ่กว่าไทย 40 เท่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ของไทยจะเป็นประโยชน์ต่อไทยทั้งในแง่อำนาจต่อรองในเวทีการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

เดิมผู้นำอาเซียนต้องการให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันเป็นหนึ่งในเสาหลักของประชาคมเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ต่อมาในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ผู้นำอาเซียนได้เลื่อนกำหนดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนให้สามารถบรรลุผลได้ในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ต่อมาจึงมีการเลื่อนเป็นต้นปี พ.ศ. 2559 เนื่องจากประเทศสมาชิกบางส่วนไม่มีความพร้อม

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ได้มีการกำหนดพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ภายในต้นปี พ.ศ. 2559 การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน การเงิน และแรงงานฝีมือ 8 สาขาวิชาชีพ จะเป็นไปอย่างเสรีเต็มรูปแบบ เป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ยุทธศาสตร์ที่สอง การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่สาม การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ยุทธศาสตร์ที่สี่ การเป็นภูมิภาคที่มีบูรณาการเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก

ก่อนที่เราจะกล่าวถึงการปฏิรูปประเทศเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ต้องพิจารณาประเด็นความท้าทายภายในอาเซียนเสียก่อน ประชาคมอาเซียนมีความล่าช้าในการดำเนินการตามเป้าหมายและพันธกิจเพราะใช้หลักฉันทามติ กระบวนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจึงล่าช้า แต่เมื่อดำเนินการได้แล้วจะเกิดความแน่นอนสูง การขาดท่าทีร่วมกันในบางประเด็นและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศสมาชิกเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการคืบหน้าของประชาคม สมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญกับ “กับดักเทคโนโลยีขั้นกลาง (Medium-Technology Trap)” ยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองได้ ต้องการซื้อเทคโนโลยีพื้นฐานจากชาติตะวันตกเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดหรือดัดแปลง

การปฏิรูปประเทศไทยต้องดำเนินการให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปสังคม ปฏิรูปศาสนาและวัฒนธรรม ปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปศาลและกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปสื่อมวลชน เป็นต้น การปฏิรูปต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางมุ่งยกระดับ “คุณภาพชีวิต” ของประชาชน การปฏิรูปต้องนำมาสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน มีเสถียรภาพ มีคุณภาพและมีพลวัต การเติบโตและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ต้องแลกมาด้วยความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิแรงงาน มีประชาชนในอาเซียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆ การปฏิรูปของประเทศอาเซียนจึงต้องอาศัยทั้งเจตจำนงร่วมกันของผู้นำแต่ละประเทศสมาชิกและเป้าหมายร่วมกันของประชาคม

สำหรับประเด็นปฏิรูปประเทศภายใต้พลวัต AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีหลายเรื่อง ในบทความทางวิชาการชิ้นนี้จะเน้นไปที่มิติทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่หรือปัจจัยที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลาง ประเด็นที่ไทยต้องรองรับและเตรียมความพร้อมเพื่อให้ได้ประโยชน์จากพลวัตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มที่

การปฏิรูปเศรษฐกิจโดยภาพรวม

ต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจใน 2 ด้านสำคัญคือ สร้างความเป็นธรรมและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ในประชาคมอาเซียนเองนั้นมีปัญหาความยากจนและปัญหาความเท่าเทียมกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV (ประกอบไปด้วย เขมร ลาว พม่า และเวียดนาม) การจะแก้ปัญหาได้ต้องอาศัยแนวทางแบบบูรณาการและมีความหลากหลาย (Multidimentional and Integrated Approach) เน้นยุทธศาสตร์การเติบโตแบบ Inclusive Growth และการคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) ไทยและอาเซียนต้องแสวงหาความร่วมมือระดับมหภาคระหว่างประเทศผ่านทาง ESCAP และ ADB เนื่องจาก 2 หน่วยงานนี้สนับสนุนให้มีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและเสมอภาค (Macroeconomic Policies for Inclusive and Sustainable Development)

ภายใต้โลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีโดยเฉพาะภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการดูแลบรรดาธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม รวมทั้งกิจการที่ปรับตัวไม่ทันและแข่งขันไม่ได้ จะทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจมีความซับซ้อนและกระจายตัวมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่สูญเสียอาชีพและยังไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมหรือกิจการที่แข่งขันได้ ตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้นและใหญ่ขึ้นย่อมเป็นโอกาสแห่งการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดได้

การลดช่องว่างทางรายได้ การแก้ความยากจนและสร้างความเป็นธรรมทางสังคมจำเป็นต้องดำเนินการใน 2 ด้านคือ ด้านผู้มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอย่างเหลือล้น – ใช้แนวทางการคลัง การงบประมาณ การภาษี และการป้องกันการผูกขาด ส่วนด้านคนยากไร้ – ผลักดันให้กลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส หลุดพ้นจากภาวะขัดสนยากจนด้วยการสร้างโอกาสให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต พัฒนาระบบสวัสดิการโดยรัฐอย่างเป็นระบบ จัดให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคม (Social protection) และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายสาธารณะ

ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาการกระจายรายได้รุนแรงยิ่งขึ้น ความแปรปรวนของภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จะทำให้เกษตรกรยากจน ต้องประสบความแร้นแค้นทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เราตั้งเป้าไปสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุข (green and happiness society)” แต่ดูเหมือนสภาพความเป็นจริงที่ทุกคนเผชิญไม่เป็นไปตามเป้าหมายเลย ทั้งความแตกแยกขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความไม่ชัดเจนของกฎเกณฑ์กรณีมาบตาพุด ต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ต้องการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศ ในทุกขั้นตอนของแผนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนเพื่อมุ่งสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”

เแม้นปัญหาจะมากแต่ก็ต้องเริ่มต้นสร้างภาวะการกินดี อยู่ดี มีสุข และมีสิทธิ ให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทย โดยอาศัยฐานของระบบสวัสดิการที่เข้มแข็ง ฐานสวัสดิการดังกล่าวนำมาซึ่งสิทธิและสวัสดิการ โดยทิศทางแนวนโยบายด้านสวัสดิการสังคมที่เป็นไปได้และสามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การสร้าง สังคมสวัสดิการ (welfare society)” ขึ้นโดยผนึกกำลังจากภาคส่วนต่างๆในสังคมสร้างสรรค์สวัสดิการสังคมขึ้นในหลายรูปแบบ มีการจัดการโดยหลายสถาบัน และสร้างความร่วมมือจากหลายฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสวัสดิการอย่างกว้างขวางครอบคลุม โดยแต่ละรูปแบบและแต่ละสถาบันมีความเป็นอิสระต่อกัน ภายใต้ความรับผิดชอบและการดูแลของสังคมโดยรวม

การสร้างและการพัฒนาสังคมสวัสดิการซึ่งเป็นระบบสวัสดิการที่หลากหลาย เปิดกว้างเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีการจัดการในหลายรูปแบบ ทั้งเอกภาคี ทวิภาคี ไตรภาคี และพหุภาคี ตามแต่ลักษณะของผู้จัดสวัสดิการสามารถดำเนินการเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

การปฏิรูปภาษี ต้องปฏิรูปทั้งโครงสร้างภาษี อัตราภาษี ฐานภาษี ใช้เครื่องมือภาษีในการจัดการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้ดีขึ้น โดยปฏิรูปให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานอาเซียน ระบบภาษีต้องทำให้เศรษฐกิจและหน่วยงานทางเศรษฐกิจสามารถแข่งขันได้และมีความเป็นธรรม

มาตรการภาษีสามารถจัดการทางด้านเศรษฐกิจได้ทั้งในมิติด้านการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ลดภาษีการลงทุน การบริโภค หรือกิจกรรมการผลิต) การกระจายความมั่งคั่ง (เพิ่มภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก) สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน (ลดภาษีให้กับวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตบางประเภท) กระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน) และยังช่วยในการจัดการทางด้านสังคม (ภาษีบาปควบคุมกิจกรรมอบายมุข) และปัญหาสิ่งแวดล้อม (เก็บภาษีมลพิษต่างๆ) รวมทั้งการเสริมสร้างให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็งด้วยการทำให้พรรคการเมืองและสถาบันทางการเมืองเป็นของมหาชนมากขึ้นผ่านการบริจาคภาษีหรือบริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมืองแล้วสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem