วันพฤหัสที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568

“เสียดินแดน 14 ครั้ง วาทกรรมเฟคนิวส์ที่เพิ่งสร้างใน Google” โดยผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

On November 1, 2019

วาทกรรมเฟคนิวส์ (Fake News)

วันหนึ่งนายกรัฐมนตรีที่เป็นนายพลทหารที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการรัฐประหารพูดบนเวทีโลกด้วยความภาคภูมิใจว่า กลุ่มผู้นำของพวกเขาบริหารประเทศด้วยการค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ใน Google

ในอีกวันหนึ่งต่อมา พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ผู้นำที่แท้จริงของกองทัพไทย ก็กล่าวบรรยายในเวทีหอประชุมของกองทัพเรื่อง “แผ่นดินของเราในมุมมองด้านความมั่นคง” โดยเริ่มเล่าประวัติศาสตร์ว่าที่มาของดินแดนอาณาเขตประเทศไทยที่เป็นแบบนี้เพราะไทยเสียดินแดนมาแล้ว 14 ครั้ง

คำถามสำคัญคือ อะไรคือฐานข้อมูลที่นายพลทหารผู้นี้นำมาใช้ในการพูดได้อย่างเชื่อมั่นมากมายว่าไทยเสียดินแดนมาแล้ว 14 ครั้ง แม้ว่าจะไม่มีการอ้างอิงในการบรรยาย แต่คำตอบอย่างง่ายที่สุดคือ นายพลผู้นี้คว้าข้อมูลจากเฟคนิวส์ที่สร้างขึ้นและแปะฝังไว้ใน Google นำมาใช้ (ท่านลองพิมพ์คำว่าเสียดินแดนเข้าไปใน Google เสียดินแดน 14 ครั้งจะปรากฏขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ และเรียงกันหลายชิ้น รวมทั้งใน YouTube)

สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือคำถามที่ว่า ภูมิปัญญาในกองทัพไทยอับจนมากมายขนาดนั้นจริงๆหรือ? จึงคว้าเอาวาทกรรมชุดเฟคนิวส์ที่ถูกสร้างขึ้นไว้ใน Google มาใช้บรรยายอย่างเป็นทางการ นายพลเหล่านี้ได้เคยอ่านหนังสือวิชาการกันบ้างหรือไม่ ตำรับตำราประวัติศาสตร์ในหนังสือเรียนของโรงเรียนนายร้อยนั้นมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมั้ย นี่เป็นคำถามที่ดูจะมีคำตอบที่ยิ่งน่าตกใจถึงชุดวิธีการค้นคว้าหาปัญญาความรู้ของสังคมโดยรวม

นี่คือภาพสะท้อนวาทกรรมเฟคนิวส์ใน Google ที่ถูกสร้างและฝังตัวไว้มาหลายปี วันหนึ่งก็บรรลุความสำเร็จเมื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาข้อมูล “ความรู้” เพียงช่องทางเดียวอย่างง่ายๆ

วาทกรรมไทยเสียดินแดน 8 ครั้ง ถูกผลิตสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2482

คนไทยตั้งแต่อายุรุ่น 80-90 ปีลงมา ถูกปลูกความเชื่อในระบบโรงเรียนและระบบข่าวสารในสังคมตลอดมาว่า ประเทศไทยเสียดินแดนไป 8 ครั้ง ถึงแม้ว่าคนจำนวนมากจะจำไม่ได้ว่ามีดินแดนอะไรบ้างที่เสียไป แต่วาทกรรมที่ติดแน่นอยู่ในหัวแน่ๆคือ “ไทยเสียดินแดน”

วาทกรรมไทยเสียดินแดน 8 ครั้ง ถูกผลิตสร้างขึ้นด้วยเทคนิคแผนที่โดยกรมแผนที่ทหารบก 1 แผ่น เมื่อปี 2482 และผลิตพิมพ์แจกจ่ายเป็นใบปลิวให้กับประชาชน มีการนำไปใช้ประกอบในหนังสือ และต่อมาก็ถูกบรรจุไว้ในการสอนของครูๆที่ถูกบ่มเพาะมาจากหลักสูตรสร้างครูเพื่อสร้างชุดข้อมูลเสียดินแดนให้นักเรียนทั้งประเทศ

วิทยุกรมโฆษณาการของรัฐบาลทหารจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็โหมกระหน่ำว่าด้วยการเสียดินแดนตั้งแต่นั้นมา และยิ่งในยุครัฐบาลทหารจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร ต่อเนื่องกันมาถึง 4 ทศวรรษ วิทยุกรมประชาสัมพันธ์ก็ใช้วาทกรรมเสียดินแดนสร้างรัฐทหารเสมอมา

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงการปฏิวัติสร้างประชาธิปไตยเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 โดยในวันเดือนเดียวกันแต่เป็นปี 2482 อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในการประกาศ Independence Day หรือวันเอกราชสมบูรณ์ หลังจากที่ไทยเป็นประเทศที่เสียเอกราชไปกึ่งหนึ่ง หรือเป็นกึ่งอาณานิคม นับแต่ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัย รัชกาลที่ 4 และทำเรื่อยมารวม 15 ประเทศ จนถึงกลางยุคสมัยรัชกาลที่ 5

คนไทยในห้วงนั้นได้ฝันที่จะสร้างเอกราชให้กับประเทศ ดังนั้น นโยบายข้อแรกของคณะราษฎรคือ นโยบายด้านเอกราช ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และการศาลของประเทศ (อ่านรายละเอียดใน ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “2475 อดีต ปัจจุบัน อนาคต”)

ปี 2482 ด้านหนึ่งเฉลิมฉลองประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์ด้วยอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อีกด้านหนึ่งฝ่ายทหารก็สร้างวาทกรรมการเสียดินแดน 8 ครั้ง เพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหาร ปลุกพลังชาตินิยมและพลังลัทธิทหารไทย

วาทกรรมเสียดินแดน โดยเฉพาะด้านลาวและกัมพูชา เป็นวาทกรรมที่ถูกเน้นมากที่สุดในช่วงนี้ (แต่ไม่เน้นวาทกรรมเสียดินแดนในด้านมาเลเซีย พม่า และเวียดนาม) อันเป็นไปตามยุทธศาสตร์การทหารในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องการใช้แม่น้ำโขงตั้งแต่สบรวก อำเภอเชียงแสน กระทั่งถึงเขตจำปาสักในลาว เป็นแนวป้องกันการยกทัพรุกรานจากกองทัพญี่ปุ่นที่กำลังปฏิบัติการทางทหารในทะเลจีนใต้ และดูท่าจะรุกรานเข้าสู่เวียดนาม อินโดจีนของฝรั่งเศส

วาทกรรมเสียดินแดน โดยเฉพาะด้านลาวและกัมพูชา ถูกปลุกเร้าแบบยกระดับ เป็นวาทกรรมเรียกร้องดินแดนในลาวและกัมพูชา และในปลายปี 2483 นิสิตจุฬาฯและนักศึกษาธรรมศาสตร์ก็ถูกปลุกเร้าให้ออกไปเดินขบวนบนถนนราชดำเนินเพื่อเรียกร้องเอาดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ซึ่งการเดินขบวนครั้งนั้นเป็นแผนการของฝ่ายกองทัพและรัฐบาลทหารในการสร้างภาพประชามติจากประชาชน (อ่านรายละเอียดใน ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “การเรียกร้องดินแดน พ.ศ. 2483”)

ประเด็นที่ลัทธิชาตินิยมแบบคลั่งชาติใช้ในการปลุกพลังมวลชนให้มาสนับสนุนรัฐบาลทหารในศตวรรษที่แล้ว ได้แก่ ประเด็นดินแดน ประเด็นเชื้อชาติ และประเด็นศาสนา และนี่คือประเด็นที่ฮิตเลอร์และพรรคนาซีเยอรมันใช้ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 และสังหารคนในยุโรปไปเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่รัฐบาลทหารไทยในยุคนั้นดำเนินการตามพรรคนาซีเยอรมันคือ การส่งทหารไปดูงานการสร้างยุวชนนาซีที่เยอรมัน และนำมาเป็นแบบสร้างยุวชนทหารของไทย ด้วยแนวคิดว่าปลูกลัทธิชาตินิยมและลัทธิทหารในยุวชนและคนไทย เพื่อตอบโจทย์ต่อภาวะสงครามและตอบโจทย์ว่าด้วยทหารคือผู้นำทางการเมือง ดั่งละครที่โด่งดังแห่งยุคด้วยการผลิตสร้างนิยายเวทีสมัยใหม่ของหลวงวิจิตรวาทการ “เลือดสุพรรณ” ที่ชาวนาชาวบ้านผู้รักชาติที่มีมือเปล่าหรือดาบได้วิ่งเข้าหาลูกปืนศัตรูจนตายไปทั้งสิ้น ไม่รอดสักคน นั่นคือการปลูกให้ประชาชนยอมตายเพื่อชาติ (อ่านรายละเอียดใน ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “เลือดสุพรรณ : ปลูกใจผู้หญิงไทยให้รักชาติและลุกรบ”)

กำเนิดประเทศไทยแบบรัฐสมัยใหม่ที่ได้ดินแดน

กำเนิดเส้นเขตแดนประเทศไทยเส้นแรกแบบที่เป็นอยู่นี้จริงเริ่มต้นในปี 2369 เมื่ออังกฤษได้ชัยชนะเหนือพม่าในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งแรก พม่าต้องเสียรัฐยะไข่และรัฐตะนาวศรี (ที่เราติดปากว่า มะริด ทวาย ตะนาวศรี) ให้เป็นดินแดนอาณานิคมอังกฤษ และชัยชนะนี้เองอังกฤษจึงส่งทูตเฮนรี่ เบอร์นี่ มากรุงเทพ เพื่อขอให้รัฐอาณาจักรกรุงเทพแต่งตั้งคณะทำงานปักปันเขตแดนระหว่างดินแดนกรุงเทพกับดินแดนของอังกฤษตั้งแต่ปากน้ำกระที่ระนองจนถึงเขตเมืองตาก (สนธิสัญญาเบอร์นี่ในปีแรกๆของรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 / ค.ศ. 1826)

นี่คือเส้นเขตแดนเส้นแรกที่เกิดขึ้นของประเทศไทย เพราะรัฐอังกฤษมาพร้อมกับการมีเส้นเขตแดนที่แน่นอน แต่รัฐอาณาจักรในย่านอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ยังเป็นรัฐอาณาจักรที่ไม่มีเส้นเขตแดนที่แน่นอน โลกรัฐสมัยใหม่ที่มีเส้นเขตแดนที่แน่นอนแบบตะวันตกจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดรูปประเทศไทย

นับแต่นั้นมาผู้ปกครองรัฐอาณาจักรไทยก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในการยอมรับหลักคิดการสร้างรัฐสมัยใหม่ที่มีเส้นเขตแดนที่แน่นอน ในบริบทที่อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังยุ่งวุ่นวายเสียเวลาไปกว่าค่อนศตวรรษในการจัดการความสงบในดินแดนอาณานิคมอินเดีย พม่า มาเลย์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว โดยในบริบทดังกล่าวรัฐบาลกรุงเทพได้สร้างกรมแผนที่ จ้างฝรั่งมาทำงานด้านแผนที่ในดินแดนที่ชนชั้นนำกรุงเทพแทบไม่เคยรู้จัก และเข้าร่วมการอ้างสิทธิเหนือดินแดนตอนในภาคพื้นทวีป โดยเฉพาะกับฝรั่งเศสด้านอินโดจีน (อ่านวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ปรับเป็นหนังสือ ธงชัย วินิจจะกูล, “กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ”)

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรุงเทพได้ดินแดนรัฐล้านนามาทั้งสิ้นคือ ปัจจัยจากการตกลงของ 2 มหาอำนาจตะวันตกในปฏิญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2439 (the Anglo-French Declaration of 15 January 1896) โดยมหาอำนาจทั้งสองตกลงแบ่งเขตแดนด้านลาวและพม่าตอนใต้ประเทศจีนกัน โดยให้ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขงเป็นเขตอิทธิพลของฝรั่งเศส และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ ส่วนจากสบรวก เชียงแสน ลงมา มหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศสยกให้เป็นดินแดนของกรุงเทพ และให้รัฐกรุงเทพเป็นรัฐกันชนของ 2 มหาอำนาจอาณานิคม ห้ามใครส่งกองทหารล่วงล้ำ เพื่อทั้ง 2 มหาอำนาจจะได้ไม่ก่อสงครามระหว่างกัน ผลสำคัญของข้อตกลงยกดินแดนของ 2 มหาอำนาจนี้คือ กษัตริย์ในรัฐล้านนาไร้สถานภาพอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐล้านนาของตนเองทันที เพราะมหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศสไม่ถือว่าเป็นรัฐประเทศอีกต่อไป

นับจากนี้ไปรัฐกรุงเทพจึงปฏิบัติการทั้งทางการเมือง การปกครอง การทหาร ภาษี รถไฟ เข้าควบคุมผนวกรัฐล้านนา (อ่านวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกประวัติศาสตร์ จุฬาฯ ที่ปรับเป็นหนังสือ เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว, “เปิดแผนยึดล้านนา”)

รัฐสยามใหม่ที่รวมศูนย์อำนาจที่กรุงเทพก็ทำการปกครองดินแดนใหม่ๆที่ได้มาของตนด้วยวิธีการแบบเจ้าอาณานิคมตะวันตก หรือปกครองแบบ “อาณานิคมภายใน” และ “สวมจิตวิญญาณของลัทธิอาณานิคมโดยตรง” ไม่ต่างไปจากอังกฤษปกครองอินเดีย พม่า มาเลเซีย ฝรั่งเศสปกครองเวียดนาม ลาว กัมพูชา ดัตช์ปกครองอินโดนีเซีย (อ่าน ฉลอง สุนทราวาณิชย์, “รัชกาลที่ 5 กับลัทธิอาณานิคมและสยาม”)

เมื่อรัฐสยามกรุงเทพได้ดินแดนล้านนาและดินแดนลาวในลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำมูล รัฐสยามกรุงเทพจึงจัดตั้งการปกครองมณฑลเทศาภิบาล ให้นครราชสีมาเป็นศูนย์กลางของคนลาว ตั้งชื่อว่ามณฑลลาวกลาง ให้อุบลราชธานีเมืองใหม่เป็นศูนย์กลางของมณฑลลาวกาว ให้อุดรธานีเมืองใหม่เป็นศูนย์กลางของมณฑลลาวพวน และให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของมณฑลลาวเฉียง (เฉียงจากลาวกลาง) เพราะในสายตาของชนชั้นนำตั้งแต่อยุธยา พระเจ้าตากแห่งธนบุรี และรัตนโกสินทร์ มองเห็นคนในดินแดนเหล่านี้ตลอดมาว่าเป็น “ลาว”

ทว่าภายใต้บริบทการอ้างสิทธิเหนือดินแดนเหล่านี้กับฝรั่งเศส รัฐสยามกรุงเทพจึงเพิ่งตระหนักทีหลังว่าหากดินแดนล้านนาและดินแดนลุ่มน้ำโขงและน้ำมูลเป็นดินแดนคนลาวแล้ว ฝรั่งเศสก็สามารถอ้างสิทธิครอบครองเหนือดินแดนเหล่านี้ได้อย่างต่อเนื่องจากอดีต 3 รัฐอาณาจักร (หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาสัก) รัฐสยามกรุงเทพจึงต้องรีบเร่งเปลี่ยนชื่อมณฑลทั้ง 4 นี้ใหม่

มณฑลลาวกลางเปลี่ยนเป็นมณฑลนครราชสีมา มณฑลลาวกาวเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน มณฑลลาวพวนเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร และมณฑลลาวเฉียงเปลี่ยนเป็นมณฑลพายัพ แต่คนในทั้ง 4 มณฑลนี้ ชนชั้นปกครองยังคงเรียกว่า “ลาว” เช่นเดิม กระทั่งเมื่อราว 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา พวกลาวในอีสานจึงถูกเรียกใหม่หลังจากมีปัญหากับคนในประเทศลาวถึงการที่คนไทยถูกสอนให้ดูถูก “ลาว” เสมอมา จึงเรียกว่า “คนอีสาน” แทน ส่วนคนในล้านนาปรับเปลี่ยนตนเองเรียกว่า “คนเมือง” ส่วนชนชั้นนำกรุงเทพก็เรียกพวกลาวนั้นใหม่ว่า “คนเหนือ”

มณฑลเขมรในดินแดนกัมพูชาก็ไม่แตกต่างกับ “ลาว” เพราะชื่อ “เขมร” จึงต้องรีบเร่งเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลบูรพา แต่ความเป็นเขมรนั้นแตกต่างอย่างมากจากไทย ไม่เหมือนลาวที่ยังดูเป็นเครือญาติกันได้ ดังนั้น รัฐสยามกรุงเทพจึงมีนโยบายสละดินแดนเขมร (มณฑลเขมร/บูรพา พระตะบอง เสียมเรียบ) ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกกับดินแดนที่รัฐสยามกรุงเทพเรียกว่าดินแดนไทยแท้ๆคือ เมืองจันทบุรี ตราด และด่านซ้าย ดังนั้น “กษัตริย์แห่งพระตะบอง” (King of Battambang) ตามการเรียกของฝ่ายฝรั่งเศส จึงเลือกที่จะอพยพครัวเรือนเข้ามาปักหลักในเขตจังหวัดปราจีนบุรีด้วยความเจ็บปวดอย่างยิ่ง โดยฝ่ายฝรั่งเศสยอมจ่ายให้กับการสละตำแหน่งของ “กษัตริย์แห่งพระตะบอง” ปีละ 6 หมื่นเหรียญฝรั่งเศส หรือ 1 แสนบาทสยาม จนกว่าจะสิ้นชีวิต (อ่านงานศึกษา ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “สยามสมัยรัชกาลที่ 4-5 กับฝรั่งเศสและดินแดนกัมพูชา”)

จากเส้นเขตแดนที่กำเนิดประเทศไทยเส้นแรกด้านพม่าอังกฤษปี 2369 เรื่อยมาถึงเส้นเขตแดนเส้นสุดท้ายเกิดขึ้นในอีก 83 ปีต่อมากับมาเลเซียอังกฤษ เมื่อรัฐสยามกรุงเทพต้องการยุติปัญหาหลายประการ ต้องการดินแดนที่แน่นอน และต้องการเงินกู้เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ 6 ล้านปอนด์จากอังกฤษ

สนธิสัญญาอังกฤษ-สยามจึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) รัฐสุลต่านจำนวนมากเป็นดินแดนในอาณานิคมมลายูอังกฤษ ส่วนรัฐสยามกรุงเทพได้ดินแดนเพิ่มมาด้วยความดีใจคือ รัฐสุลต่าน 7 หัวเมือง ในปัตตานี ยะลา นราธิวาส และได้สตูลมาจากดินแดนของเคดะห์หรือไทรบุรี ทั้งนี้ สายราชวงศ์สุลต่านได้สลายไปแล้วในประเทศไทย (อ่านสนุกๆกับงานวิทยานิพนธ์ปรับเป็นหนังสือ ฐนพงศ์ ลือขจรชัย, “เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist”)

ถึงวันนี้สุลต่านรัฐต่างๆในมาเลเซียยังคงสืบวงศ์สุลต่านของตนและปกครองรัฐสุลต่านของตน สุลต่าน 9 รัฐในมาเลเซียได้เวียนกันขึ้นเป็น “ยังดีเปอร์ตวนอากง” หรือกษัตริย์แห่งมาเลเซีย (Yang di-PertuanAgong) ทุกๆ 5 ปี ที่มิวเซียมแห่งชาติมาเลเซียที่กัวลาลัมเปอร์ ความทรงจำของมาเลเซียต่อสนธิสัญญาอังกฤษ-สยามในครั้งนั้นคือ การจัดแสดงอดีตประตูวังไม้ของสุลต่านสตูลที่ปัจจุบันอยู่ในดินแดนประเทศเพื่อนบ้าน ความหมายคือ มาเลเซียเสียดินแดนสตูลของเคดะห์

นี่คือ 83 ปีของการเกิดเส้นเขตแดนรัฐสยามกรุงเทพ หรือประเทศไทย พ.ศ. 2369-2502 ที่ไทยได้ขยายดินแดนเพิ่มขึ้นจากดินแดน “ประเทศไทยแท้ๆ” เป็นอาณาเขตประเทศไทยในปัจจุบัน (อ่านงานศึกษา ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “วาทกรรมเสียดินแดน”)

วาทกรรมเสียดินแดน คือวาทกรรมสร้างรัฐทหาร

วาทกรรมเสียดินแดน 8 ครั้ง ถูกผลิตสร้างครั้งแรกด้วยแผนที่วาทกรรมเสียดินแดน พ.ศ. 2482 แม้ว่าการปฏิวัติ 2475 ต้องการสร้างประชาธิปไตยและเอกราชของประเทศ แต่ปฏิวัติ 2475 เกิดขึ้นในบริบทสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กำลังจะระเบิดตัวในอีก 7 ปีต่อมา

ดังนั้น ฝ่ายกองทัพซึ่งนำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นปีกทหารของคณะราษฎร ก็มุ่งสร้างลัทธิทหารในสังคมไทย เป้าหมายคือต้องการสร้างความชอบธรรมในการเพิ่มงบประมาณให้กับการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ให้กองทัพบก เรือ อากาศ ต้องการความชอบธรรมในการเรียกร้องประชาชนในการเกณฑ์ทหาร ต้องการปลูกฝังให้เยาวชนไทยเป็นทหาร และเหนืออื่นใดคือการสร้างความชอบธรรมในการให้ทหารเป็นผู้นำประเทศ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรี เป็นสมาชิกรัฐสภา เป็นผู้บริหารและกรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทั่งตั้งบริษัททำธุรกิจการค้าของกลุ่มตน

วาทกรรมเสียดินแดนจึงเป็นวาทกรรมที่สอดรับกับวาทกรรมเสียกรุงศรีอยุธยาที่มีมาก่อนหน้านี้ 2 วาทกรรมนี้ส่งผลอย่างเดียวกันคือ สร้างความชอบธรรมทางการเมืองของนายพลทหารในการเมืองไทย

วาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้ง เฟคนิวส์ที่เพิ่งสร้าง

กองทัพไทยเป็นผู้นำในการสร้างวาทกรรมเสียดินแดน 8 ครั้งในปี 2482 ผ่านมา 80 ปี การบรรยายครั้งนี้ของผู้นำกองทัพไทยเป็นหลักหมายว่ากองทัพไทยสูญเสียสถานะนำทางการสร้างความรู้ กลายเป็นสถานะผู้ตามในการใช้เฟคนิวส์ใน Google ที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นมา

วาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้ง ถูกผลิตสร้างและเผยแพร่ครั้งแรกราวเดือนมีนาคม 2552 ใน Google และต่อมาผลิตสร้างเป็นภาพเสียงบรรยายและบทเพลงในช่อง YouTube ทั้งนี้ เพื่อต่อต้านรัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่สืบเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทย โดยใช้ประเด็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชามาเป็นตัวเร่งเร้าพลังมวลชนแบบรักชาติและคลั่งชาติตามแนวลัทธิทหารและชาตินิยมสมัยสงครามโลกและสงครามเย็นของรัฐบาลทหารไทย

การสร้างวาทกรรมเสียดินแดนนี้มีเป้าหมายที่จะโจมตีไปยังรัฐบาลพรรคพลังประชาชนในขณะนั้นว่าเป็นผู้ทำให้ไทยเสียดินแดนปราสาทพระวิหาร อันเป็นการเสียดินแดนครั้งที่ 14 ซึ่งจำนวนที่เสียดินแดนที่เพิ่มขึ้นจาก 8 ครั้งของเดิม เป็นครั้งที่ 9-10-11-12-13 ก็ใส่ๆเข้าไป เพราะคิดว่าคงไม่มีใครใส่ใจ แต่ถ้าจีนรู้ว่าคนไทยกล่าวอ้างสิทธิเหนือดินแดนในรัฐยูนนานตอนใต้ของจีน รัฐบาลจีนปักกิ่งจะโกรธหรือไม่?

วาทกรรมเสียดินแดนที่เริ่มเผยแพร่ในปี 2552 และถูกนำไปเผยแพร่ในช่องทางต่างๆ น่าเชื่อได้ว่าเป็นฝีมือหน่วยไซเบอร์ IO

วาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้งนี้ ยังมีการตัดคำกล่าวปราศรัยอันเป็นสาระสำคัญของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อครั้งศาลโลกพิพากษาตัดสินคดีให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาเมื่อปี 2505 ทิ้ง 2 ย่อหน้าที่อยู่ช่วงกลางคำปราศรัยที่ถูกทำลายทิ้งคือ การที่จอมพลสฤษดิ์ประกาศว่าไทยต้องยอมรับคำพิพากษาของศาลโลกและไม่สามารถอุทธรณ์ได้ ดังนั้น เอกสารที่เผยแพร่กันในห้วงเวลานั้นของครึ่งแรกทศวรรษ 2550 คือเอกสารเฟคนิวส์ที่ต้องการให้ผู้อ่านผู้ฟังคนไทยเห็นคล้อยตามว่ารัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ไม่เคยยอมรับคำพิพากษาของศาลโลกปี 2505 ดังนั้น ปราสาทพระวิหารจึงยังสามารถกลับมาเป็นของไทยได้อีก ซึ่งเฟคนิวส์นี้ได้ทำงานของมันในห้วงเวลานั้นเป็นอย่างดี

หลังจากขับไล่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนออกไปได้แล้วในปลายปี 2552 (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) และได้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาแทน วาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้ง ก็ค่อยๆหมดบทบาทของมันลงไป เจือจาง ไม่อาจถูกตีฆ้องร้องป่าว

จนกระทั่งในห้วงขณะที่กำลังมีกลุ่มชัตดาวน์ประเทศปลายปี 2556 ศาลโลกก็ได้มีการพิพากษาซ้ำต่อคดีดินแดนปราสาทพระวิหารตามคำร้องของประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 ในห้วงนั้นแทบไม่มีคำกรีดร้องหรือภาวะสนใจไยดีต่อคำพิพากษาของศาลโลกจากผู้ที่เคยรณรงค์ และต่างทำเฉยเมยเงียบๆ เพราะขณะนั้นวาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้ง ไม่ได้ถูกใช้ในการขับไล่และเพื่อเตรียมการรัฐประหารรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย แต่อย่างใด

วาทกรรมเสียดินแดนจึงเป็นวาทกรรมเพื่อสร้างสนับสนุนความชอบธรรมของรัฐทหาร ของงบประมาณทหาร ของการเกณฑ์ทหาร ของการที่ทหารจะเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นวาทกรรมเพื่อใช้ขับไล่ทำลายรัฐบาลพรรคการเมืองพลเรือนจากการเลือกตั้งออกไปจากตำแหน่งแห่งที่

สรุป

วาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้ง เป็นวาทกรรมเฟคนิวส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป้าหมายขับไล่ทำลายรัฐบาลพรรคการเมืองหนึ่งๆเท่านั้นในปี 2552 และอย่างคิดไม่ถึงว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไป การฝังตัวของวาทกรรมเสียดินแดนเฟคนิวส์มาถึง 10 ปีใน Google วาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้งเฟคนิวส์นี้กลับถูกคว้ามาเป็นคำบรรยายหลักของผู้นำกองทัพในวันนี้

คำถาม แล้วถ้าไม่มีวาทกรรมเสียดินแดน สภาพของรัฐไทยจะมั่นคงหรือไม่

คำตอบ ยิ่งมั่นคง เพราะถ้าวาทกรรมรัฐไทยเป็นรัฐที่เกิดขึ้นจากการได้รวบรวมดินแดนต่างๆมาในอดีต ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยใด รัฐไทยจึงมีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ คนไทย มอญ ลาว จีน เขมร แขก พม่า กะเหรี่ยง ฯลฯ หลากหลายทั้งศาสนา ลัทธิความเชื่อ รัฐไทยจะเป็นรัฐที่ยอมรับความหลากหลายของคนไทยที่มีหลากหลายในประเทศไทย

ดังนั้น รัฐไทยก็จะเป็นรัฐที่มุ่งให้เราสร้างเอกภาพในความหลากหลาย (Unity in Diversity) มุ่งนำงบประมาณไปสร้างความมั่งคั่งในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านต่างๆอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ไม่ใช่รัฐที่มุ่งแต่ความมั่นคงมาตลอดกว่าศตวรรษ ใช้งบประมาณแต่เน้นไปกับกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ สร้างรัฐมั่นคงด้วยความกลัวให้กับประชาชน สร้างสภาวะความรู้สึกถึงสงครามที่จะมีกับรัฐเพื่อนบ้าน ไม่ใส่ใจความมั่งคั่งและวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดทั้งสิทธิเสรีภาพของประชาชน

เราจะเป็นรัฐไทยที่มีเอกภาพในความหลากหลาย เราจะเป็นประชาชนมั่งคั่ง ประเทศชาติจึงมั่นคง

 

#เสียดินแดน

#ไทยเสียดินแดน

#ควายแดง

#ธำรงศักดิ์เพชรเลิศอนันต์

 

***

1 พฤศจิกายน 2562

แจกฟรี!! ฉบับพิเศษ

“โลกวันนี้” ขึ้นปีที่ 21

คลิกอ่านที่นี่

 

https://www.lokwannee.com/stg/wp-content/uploads/2019/10/lokwannee20.pdf

 

พบกับคอลัมนิสต์รับเชิญ พระพยอม กัลยาโณ, ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข, ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, ผศ.สุรพศ ทวีศักดิ์, ดร.โสภณ พรโชคชัย, “โบว์” ณัฏฐา มหัทธนา, ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ, ทนายวิญญัติ ชาติมนตรี และ ผศ.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem