- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 20 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 2 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 7 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
10 แอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่ต้องติดตาม สำหรับชีวิตประจำวันและสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในทุกมุมโลกไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เรื่องราวต่างๆจะถูกรายงานบนทวิตเตอร์ก่อนใคร เพราะ ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ ค้นพบและได้ลองสิ่งใหม่ๆตามความสนใจ ทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการรายงานข่าวด่วน ประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
ผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกหลายล้านคนยังพึ่งพาทวิตเตอร์ในด้านอื่นๆ เช่น ติดตามสภาพการณ์จราจร เช็คตารางขนส่งมวลชน และเช็ค พยากรณ์อากาศล่วงหน้า นอกจากนี้ทวิตเตอร์ยังเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่ได้รับการอัปเดตอย่างทันท่วงทีมากที่สุดเป็นเครื่องมือ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงในยามฉุกเฉิน และที่สำคัญแพลตฟอร์มนี้ยังเป็นเวทีสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจ สำหรับคนที่สนใจ กิจกรรมด้านสังคม รวมถึงหาคนคุยปลอบใจในยามที่กำลังรู้สึกดิ่งสุดๆ
มาดูกันว่าแอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่มีประโยชน์ควรติดตามมีอะไรกันบ้าง
หมวดการสัญจรในกรุงเทพฯ โดย 4 แอคเคาท์ที่น่าสนใจดังนี้
JS100 (@js100radio)
จส. 100 เป็นสถานีวิทยุข่าวการจราจรที่เปิดตัวเมื่อ 28 ปีก่อน และได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญของผู้ใช้รถใช้ถนนเรื่อยมา ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าทำไมแอคเคาท์นี้มีผู้ติดตามมากที่สุดรายหนึ่งในประเทศไทยหลังจากตั้งขึ้นเมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว จส.100 บนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ยังคงทำหน้าที่อย่างมั่นคงในการรายงานสภาพจราจรบนท้องถนนในทุกๆวันและด้วยการที่มีฐานผู้ติดตามจำนวนมากซึ่งร่วมกันรายงานสภาพการจราจรผ่านทางแอคเคาท์นี้บวกกับความรวดเร็วในการสื่อสารผ่านทางทวิตเตอร์ จึงทำให้ จส 100เป็นผู้นำในด้านการรายงานจราจรแบบเรียลไทม์ในประเทศไทย
BTS SkyTrain (@BTS_SkyTrain)
รถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นระบบขนส่งแบบสาธารณะที่สำคัญของคนกรุงเทพมหานคร ซึ่งทวิตเตอร์ของบีทีเอสนั้นเป็นแอคเคาท์ที่มีการ สนทนามากที่สุดบัญชีหนึ่งในหมวดขนส่ง อีกทั้งยังเป็นช่องทางสำคัญในการแจ้งข่าวสารและโต้ตอบกับผู้โดยสารเมื่อมี “วิกฤติ” เกิดขี้น เช่นปัญหาด้านเทคนิคและความล่าช้าของการเดินรถไฟ ทวิตเตอร์ของบีทีเอสจะดำเนินการแจ้งข้อมูลและข่าวสารแบบเรียลไทม์ การรายงานสถานการณ์ในแต่ละสถานีของระบบรถไฟฟ้า นอกจากนี้ทางบีทีเอสยังใช้ทวิตเตอร์ในการให้สื่อสาร ถึงผู้โดยสารเกี่ยวกับข้อปฏิบัติหรือสิ่งที่ไม่ควรกระทำขณะใช้บริการบนรถไฟฟ้า
Airport Rail Link (@AirportRailLink)
แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์เป็นระบบขนส่งมวลชนอีกสายที่มีความสำคัญในการเดินทางระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิสู่ใจกลางเมืองโดยมี สถานีต่างๆเชื่อมโยงกับย่านชุมชนฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่งแอคเคาท์ทวิตเตอร์ของแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน เช่น ให้ข้อมูลเวลาของขบวนรถเสริมที่จะออกจากสถานี ความถี่ของรถไฟ และความล่าช้าของขบวนรถ หรือแม้แต่เตือนผู้โดยสารเมื่อเกิดปัญหาชานชาลาแออัด
กรมอุตุนิยมวิทยา (@tmdthai)
บทบาทของกรมอุตุนิยมวิทยาในการพยากรณ์อากาศมีความสำคัญมากกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วมเฉียบพลัน และเหตุการณ์อื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับ สภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ยิ่งทำให้ประชาชนให้ความสนใจเพื่อตรวจสอบข้อมูลจากกรมอุตุฯ เพื่อวางแผน ในการเดินทางส่งผลให้ทวิตเตอร์ของกรมอุตุฯ มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
แอคเคาท์ของกรมอุตุฯจะทวีตพยากรณ์อากาศทั่วประเทศและเตือนประชาชนในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ทางกรมอุตุฯ ทวีตไลฟ์อัปเดตรายงานสภาพอากาศแต่ลืมปิดฟิลเตอร์การ์ตูนตลกๆ จนกลายเป็นที่ฮือฮา ความผิดพลาดเล็กๆ นี้ กลับยิ่งทำให้ประชาชนมองเห็นประโยชน์มากขึ้นไปอีก
ทวิตเตอร์ช่วยคุณได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในช่วงเวลาฉุกเฉินหรือเกิดสถานการณ์วิกฤติ เครือข่ายมือถืออาจไม่เสถียรและมีปัญหาในการเชื่อมต่อ ซึ่งแอปพลิเคชั่นทวิตเตอร์ไลต์ (Twitter Lite) เป็นตัวช่วยที่ดีในสถานการณ์คับขัน เพราะถูกออกแบบมาให้สามารถทวีตโดยใช้ข้อมูลเพียงเล็กน้อย จึงทำให้โหลดข้อมูลได้เร็วแม้ว่าสัญญาณมือถือจะไม่เสถียรหรือผู้ใช้เปิดโทรศัพท์ในโหมดประหยัดพลังงาน ทวิตเตอร์ไลต์จะช่วยให้ผู้ใช้ไม่พลาดการทวีตข่าวสารและสถานการณ์ได้อย่างไม่มีสะดุด ทวิตเตอร์ไลต์มีให้บริการในระบบแอนดรอยด์ และที่ mobile.twitter.com อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงในโหมดออฟไลน์ได้เช่นกัน โดยพร้อมให้บริการแล้วในกว่า 45 ประเทศรวมถึง ประเทศไทย สำหรับทวิตเตอร์แอคเคาท์ที่สำคัญในสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) (@DDPMNews)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รับผิดชอบการจัดการภัยพิบัติและการบรรเทาสาธารภัยทั่วประเทศ แม้ว่า ปภ.จะเพิ่งมี ทวิตเตอร์แอ็คเคานต์ แต่ได้ทวีตเกี่ยวกับการทำงานในภาคสนามของเจ้าหน้าที่ของกรมฯ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ในด้านมาตรการความปลอดภัย จึงเป็นแอ็กเคานต์น้องใหม่บนทวิตเตอร์ที่น่ามีไว้ในรายการที่ติดตามเผื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข่าวการไฟฟ้านครหลวง (@mea_news)
การไฟฟ้านครหลวงจ่ายไฟฟ้าไปยังทุกครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อนที่การไฟฟ้านครหลวงจะมีแอคเคาท์ทวิตเตอร์ ผู้คนจำนวนมากไม่รู้ว่าจะติดต่อขอความช่วยเหลือที่ไหนในกรณีที่เกิดไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงได้สร้างแอคเคาท์ @mea_news เมื่อ 9 ปีที่แล้วและนับจากนั้นทวิตเตอร์นี้ก็ได้ให้บริการประชาชนในด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เป็นประโยชน์เชื่อถือได้เกี่ยวกับ เรื่องไฟฟ้า เช่น วิธีการเลือกอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดพลังงานภายในบ้านรวมถึงประกาศแจ้งเตือนไฟฟ้าดับเป็นต้น
แอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่ ‘สร้างผลกระทบเชิงบวก’ มีดังนี้
Samaritans of Thailand (@Samaritans_Thai)
สะมาริตันส์แห่งประเทศไทย (@Samaritans_Thai) เพิ่งเปิดตัวบนทวิตเตอร์โดยมุ่งช่วยเหลือผู้คนที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตเพื่อป้องกันและช่วยเหลือคนที่คิดจะฆ่าตัวตาย ปัจจุบัน มีคนไทยราว 12 คนฆ่าตัวตายในแต่ละวัน ผู้ที่รู้สึกเหงา เศร้า หรือหดหู่และต้องการพูดคุยกับใครสักคนสามารถติดต่อทาง สะมาริตันส์ได้ผ่านทางทวิตเตอร์ โดยแอคเคาท์นี้ทวีตทั้งภาษาไทยและอังกฤษจึงเป็นประโยชน์กับชาวต่างชาติที่พักอาศัยอยู่ใน ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีคลิปเสียงสั้น ๆ ที่อาสาสมัครแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจและแนวทางแก้ไขอื่น ๆ ให้ผู้ที่ประสบปัญหาได้ฟังอีกด้วย
ทวิตเตอร์ร่วมมือกับสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย (@Samaritans_Thai) ออกแฮชแท็กพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเอง ด้วยการติดแฮชแท็ก #ThereIsHelp ซึ่งเป็นบริการ แจ้งเตือนบนทวิตเตอร์ถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต และพยายามทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กล้าที่จะบอกเล่าปัญหาและ ขอความ ช่วยเหลือในยามต้องการเมื่อมีการค้นหาคำที่เกี่ยวข้อง กับคำว่า “ฆ่าตัวตาย” หรือ “ทำร้ายตนเอง” บนทวิตเตอร์ในประเทศไทย ทั้งนี้จะมีการแจ้งเตือนเป็นภาษาไทยปรากฎในผลการค้นหาเพื่อให้กลุ่มผู้มีความเสี่ยงกล้าขอความช่วยเหลือโดยในการแจ้งเตือนจะมีเบอร์ติดต่อของสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย (@Samaritans_Thai)
กรมสุขภาพจิต (@PR_dmh)
จากสภาพสังคมในปัจจุบันส่งผลให้ปัญหาสุขภาพจิตและสภาวะทางจิตของคนไทยทวีความรุนแรงขึ้น พร้อมสถิติการฆ่าตัวตาย ที่สูงขึ้นจนน่าตกใจ และนี่คือสาเหตุที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพจิต ผ่านทางทวิตเตอร์ของกรมฯ ที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ ต่อประชาชน และบางครั้งยังใช้ตัวอย่างจากภาพยนตร์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
Manushya Foundation (@ManushyaFdn)
มูลนิธิมานษุยะ (Manushya) เป็นองค์กร NGO ในภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ในประเทศไทย ที่มุ่งโปรโมทการสร้างความแข้มแข็งของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภูมิภาคนี้เชื่อมโยงผู้คนและระดมพลังเพื่อตอกย้ำว่าสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจสำคัญของชุมชน ทวีตส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่รายงานเกี่ยวกับกิจกรรมของมูลนิธิมานุษยะ ข้อความที่สื่อถึงสถานการณ์สังคม ในปัจจุบันการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน และการเรียกร้องความยุติธรรมในสังคม
มูลนิธิกระจกเงา (@Mirror_org)
มูลนิธิกระจกเงามีรากฐานอาสาสมัครในงานสังคมสงเคราะห์ที่หลากหลาย ตั้งแต่เด็กหาย ปัญหาชนกลุ่มน้อย การรับมือกับภัยพิบัติ การบริจาค คนเร่ร่อน รวมไปถึงคนชราที่ต้องการความช่วยเหลือและการดูแล นอกจากนี้ทางมูลนิธิยังเป็นศูนย์รับบริจาคสำหรับ ผู้ด้อยโอกาส มูลนิธิฯ จะทวีตเกี่ยวกับงานของพวกเขาเพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณะชนได้รับรู้ปัญหาสังคม ผู้ตามแอคเคาท์นี้ยัง สามารถเรียนรู้ติดตามปัญหาต่างๆ และยังสามารถเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยกันสร้างสังคมที่ดีขึ้นได้อีกด้วย
สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์สามารถติดตามหลายแอคเคาท์ได้ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นรายการของทวิตเตอร์ (Twitter’s Lists function) เพื่อช่วยจัดการหัวข้อต่างๆ เช่นตั้งชื่อว่า “Bangkok Travel” (การสัญจรในกรุงเทพ) หรือ “Emergencies” (ฉุกเฉิน) เพื่อให้สามารถ ติดตามแอคเคาท์ที่น่าสนใจในแต่ละหัวข้อได้ง่ายขึ้น โดยฟังก์ชั่นนี้จะเลือกเปิดเป็นแบบสาธารณะให้ผู้อื่นติดตามรายการของตนเอง หรือเป็นแบบส่วนตัวก็ได้
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ Twitter’s Lists Function สามารถศึกษาวิธีตั้งค่านี้ได้ที่ https://help.twitter.com/using-twitter/twitter-lists
You must be logged in to post a comment Login