- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
สถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศของไทยยกระดับขีดความสามารถ ของกองทัพไทยด้วยระบบดิจิทัลจาก Thales
สถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ (สทป.) เตรียมรับรถยานเกราะ (APC) ที่ได้รับการอัพเกรดด้วยระบบ C5I ของ Thales (การทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสั่งการ การควบคุม การสื่อสาร และข้อมูลการรบ)
• ระบบรองรับความต้องการในส่วนงานดิจิทัลของกองทัพบกที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในสนามรบ โดยการอัพเกรดกองพลที่มีอยู่ด้วยระบบการสื่อสารที่ทันสมัยที่สุด
• นับเป็นโครงการแรกที่ส่งมอบให้กับ สทป. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกข้อตกลง (MoA) ที่ลงนามระหว่าง สทป. บริษัทดาต้าเกท และ Thales ในปี 2561
จากการที่กองทัพไทยยังคงอานุภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสื่อสารในสนามรบ Thales มีความยินดีที่จะประกาศว่าภายในปลายปี 2562 นี้ สทป. จะได้รับมอบยานเกราะลำเลียงพลทหารราบรุ่น BTR 3C S ชุดแรก ที่ได้รับการอัพเกรดด้วยการติดตั้งระบบ C5I ที่ทันสมัย (การทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสั่งการ การควบคุม การสื่อสาร และข้อมูลการรบ) จาก Thales
การสื่อสารทางวิทยุผ่านระบบดิจิทัลที่แม่นยำและมีปลอดภัยสูง ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพที่ปฏิบัติภารกิจในสนามรบ เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ช่วยในการตัดสินใจที่รวดเร็ว ต่อต้านภัยคุกคามในอนาคต และสร้างความได้เปรียบในสนามรบ Thales เพิ่มสมรรถนะให้กับยานเกราะคันแรกนี้ด้วยการติดตั้งระบบสื่อสารทางวิทยุแบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ รวมทั้งระบบการบริหารขีดความสามารถของยานเกราะและอำนวยการรบ ตลอดจนวิทยุ VHF สำหรับการรบเบ็ดเสร็จ ระบบอำนวยการรบ (Battle Management System – BMS) สำหรับการควบคุมและบัญชาการตามยุทธวิธี
ระบบ C5I ช่วยให้รถยานเกราะสามารถทำงานด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (vetronics) แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ รวมถึงศักยภาพในการบูรณาการระบบใหม่ที่ใช้ในยานเกราะได้แก่ ระบบเซ็นเซอร์ ระบบเตือนภัย ระบบป้องกันตนเอง และระบบวินิจฉัยตัวยานเกราะเอง ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะยกระดับการปฏิบัติการในสนามรบด้วยระบบดิจิทัลของกองทัพบกขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ทำให้สามารถวางแผนรายละเอียดการบัญชาการ การกระจายข้อมูลทางยุทธวิธี และการสื่อสารด้วยภาพและเสียงผ่านระบบที่บูรณาการเพียงระบบเดียว
การทำงานอย่างใกล้ชิดกับ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศไทยในการถ่ายโอนองค์ความรู้และศักยภาพถือเป็นขั้นตอนแรกของความร่วมมือที่ได้ตกลงกันไว้ภายใต้บันทึกข้อตกลง (MOA) ที่ลงนามระหว่างสามฝ่าย (สทป. ดาต้าเกท และ Thales) ในปี 2561 โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการสนับสนุนการอัพเกรดระบบการสื่อสารและสารสนเทศสำหรับกองพลยานเกราะของกองทัพบกไทย และการพัฒนาความเชี่ยวชาญให้แก่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยผ่านการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี
“Thales สนับสนุนความมุ่งมั่นระยะยาวของรัฐบาลไทยในการพัฒนาขีดความสามารถด้านโดเมนดิจิทัล รวมถึงการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพไทยในสนามรบด้วยการติดตั้งระบบการสื่อสารระดับสูงที่จำเป็นต่อการสร้างความได้เปรียบ เราจะยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อช่วยเพิ่มพูนทักษะและความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของประเทศไทยด้วยระบบดิจิทัลผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง” กล่าวโดย Massimo MARINZI ผู้อำนวยการประจำประเทศ บริษัท Thales กล่าว
ยานเกราะลำเลียงพลทหารราบรุ่น BTR 3C S ที่ได้รับการอัพเกรดด้วยการติดตั้งระบบ C5I ที่ทันสมัย
เกี่ยวกับ บริษัท Thales
Thales (Euronext Paris: HO) เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่สร้างโลกแห่งอนาคตในวันนี้ เป็นกลุ่มบริษัทจัดหาโซลูชั่น บริการ และผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าในแวดวงการบินและอากาศยาน การขนส่ง การระบุตัวตนแบบดิจิทัลและซีเคียวริตี้ และความมั่นคงของประเทศ เรามีพนักงาน 80,000 คน ใน 68 ประเทศ Thales สร้างยอดขาย 19,000 ล้านยูโรในปี 2561 (บนพื้นฐานของความเป็นมืออาชีพ ซึ่งรวมถึงธุรกิจเจมัลโต)
Thales เป็นบริษัทที่ลงทุนทางด้านนวัตกรรมดิจิทัลโดยเฉพาะ – การเชื่อมต่อระบบ ข้อมูลบิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ และระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ – เทคโนโลยีต่างๆ ที่คอยสนับสนุนธุรกิจ องค์กร และรัฐบาลในช่วงเวลาสำคัญๆ
เกี่ยวกับ บริษัท Thales ในประเทศไทย
Thales ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 30 ปี โดยมีลูกค้าสำคัญๆ มากมายในภาคพลเรือน และหน่วยงานกองทัพ เราทำงานร่วมกับพันธมิตรหลักในประเทศไทยในสายการบินและอากาศยาน กองทัพไทย การขนส่ง การจัดการจราจรทางอากาศ การระบุตัวตนแบบดิจิทัลและการรักษาความปลอดภัยและอวกาศ โดยมีพนักงานเกือบ 50 คนในสำนักงานกรุงเทพฯ เราอยู่ภายใต้การส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งช่วยให้เราเติมเต็มความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัทที่ต้องการลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญให้กับคนในพื้นที่
You must be logged in to post a comment Login