- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 15 hours ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 2 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 3 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 4 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 5 days ago
- อย่าไปอินPosted 1 week ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 weeks ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 2 weeks ago
มั่นใจไมซ์โต กรุงเทพฯครองแชมป์มาตรฐานโลก
โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากยุค Globalization ไปสู่ยุค Millennium ที่มีผลให้ผู้บริโภคในธุรกิจไมซ์มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก และสร้าง Customer Journey หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า User’s Experiences มากขึ้น ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ในอนาคตคือคนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมการเดินทางอย่างไร้ขอบเขต ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีพิธีรีตอง คำนึงถึงแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมไมซ์เช่นกัน โดยเฉพาะด้านการจัดประชุม
ในอนาคตโรงแรมอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆที่ต้องแข่งขันกันด้านราคาและการบังคับขายรวมเป็นแพ็กเกจเหมือนแต่ก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มฝึกอบรมแบบ Corporate Training หรือการอบรมเพิ่มศักยภาพทั่วไป เทรนด์ของสถานที่จัดงานเน้นปัจจัยด้านสถานที่ที่ไปมาสะดวก ใกล้รถไฟฟ้า มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยอุปกรณ์ทันสมัย มี Sustainability Practices ที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม อาทิ Green Meeting ไม่เสิร์ฟน้ำจากขวดพลาสติก คือให้ไปกดน้ำดื่มเอง (MICE Insight Report : Sustainability) Line ของว่างและอาหารง่ายๆ มาจาก Local Product เพื่อลด Carbon Footprint และนำเสนออาหารที่เป็น Local Product การจัดวางที่นั่งและโต๊ะประชุมที่สามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบ ปัจจุบันมี Meeting Space รูปแบบใหม่ๆหลายที่ เช่น WEWORK, TRUE DIGITAL PARK, AIS DESIGN CENTER, C-ASEAN, HUBBA เป็นต้น
แนวโน้มสถานที่การประชุมก็จะเปลี่ยนไปมาก จัดได้ทั้ง Indoor Outdoor Unique Venue or Unconvention Venue ด้วยแนวโน้มของโลกที่ให้ความสนใจในเรื่อง Environment Economy มากขึ้น ซึ่งในยุโรป อเมริกา ถือเป็นไลฟ์สไตล์และการดำเนินชีวิตของทุกคนไปแล้ว แต่ในเอเชียยังช้าเรื่องนี้มากๆ โดยเฉพาะในเมืองไทยเพิ่งมาจับกระแสกัน สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) หรือ TCEB เป็นผู้นำในด้านนี้ของเอเชียที่กระตุ้นการจัดงานและการประชุมที่ต้องคำนึงถึงการบูรณาการ และผลกระทบระหว่างเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
การประชุมในอนาคตเพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุค Millennium และ GEN Z นอกจากการจัดการที่มีความยั่งยืนแล้ว รูปแบบอาหารก็จะเป็นอะไรที่ง่ายขึ้น เน้น healthy food line และอาหาร local การตกแต่งห้องก็ง่ายๆ ไม่ต้องมีผ้าจับจีบคลุม ดอกไม้ที่โพเดียมก็ไม่จำเป็นแล้ว ทุกคนจะพกกระบอกน้ำมาด้วย โรงแรมจะมีแท็งก์น้ำให้เติม ไม่มีการเสิร์ฟขวดน้ำพลาสติกบนโต๊ะ การใช้กระดาษน้อยลง การเดินทางนิยมเส้นทางรถไฟฟ้า หรือจัดในที่ที่มีรถขนส่งสาธารณะไปมาสะดวก และถ้าใครจะบอกว่าธุรกิจการประชุมจะโดน Disrupt จากเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบก็ตาม อย่างไรเสียการมีปฏิสัมพันธ์ Face 2 Face ก็ยังต้องมี การสร้างความเชื่อมโยงในธุรกิจยังต้องใช้ People to People Business แต่ความถี่อาจน้อยลง และ segment จะ niche ลงมากขึ้น
ธุรกิจไมซ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย โดยกล่าวถึงการงานประชุม การจัดงานอีเวนท์ และการจัดงานแสดงสินค้า ภาพรวมแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น 8-10% ในปี 2563 โดยในปัจจุบันมีนักธุรกิจและภาครัฐเข้าร่วมงานไมซ์ทั้งระดับนานาชาติและระดับประเทศสูงถึง 37 ล้านคน สร้างรายได้สู่เศรษฐกิจไทยถึงปีละ 232,700 ล้านบาท กอปรกับปัจจุบันภาครัฐต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคทั่วประเทศเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และกิจกรรมไมซ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างแบรนด์สินค้า พัฒนาเศรษฐกิจจากการจัดงาน ให้มีการกระจายการจัดงานให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในภูมิภาค ทำให้เกิดความต้องการจัดงานต่างๆจากภาคเอกชน องค์กร สมาคม และภาครัฐ
จากรายงานล่าสุดเมื่อปี 2561 ของสมาคมการประชุมนานาชาติระดับโลก (International Congress and Convention Association – ICCA) อุตสาหกรรมไมซ์ไทยขึ้นแท่นอันดับ 4 ของเอเชียด้านการประชุมนานาชาติด้วยจำนวน 193 งาน รองจากญี่ปุ่น จีน และเกาหลี และเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน ยกระดับขึ้นจากปี 2560 ซึ่งไทยอยู่ในอันดับ 5 ของเอเชีย โดยมีจำนวนงานประชุมนานาชาติ 171 งาน และคาดว่าจะยังโตต่อเนื่องทั้งปริมาณและรายได้ ยอดนักเดินทางไมซ์ทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 8 ล้านคน ทำรายได้เพิ่ม 6.27% มูลค่า 50,000 ล้านบาท
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ได้ริเริ่มโครงการ “TMVS” (Thailand MICE Venue Standard) เพื่อยกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยได้สร้างตราสัญลักษณ์ “TMVS” เพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งตราสัญลักษณ์นี้จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่ต้องการจัดงานทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติให้มั่นใจในมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย อันประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และได้สร้างจุดแข็งและจุดขาย ดึงงานในระดับนานาชาติสู่ประเทศไทย
นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สสปน. กล่าวว่า “ว่าด้วยเรื่องมาตรฐาน สสปน. มีการพัฒนามาตรฐานเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์ 2 ตัวคือ มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (Thailand MICE Venue Standard – TMVS) กว่า 5 ปีของการพัฒนาและการส่งเสริมมาตรฐาน TMVS ต้องยอมรับว่ามาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมากในทุกธุรกิจ เราเข้าใจหัวใจของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสถานที่จัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ศูนย์ประชุม หรือสถานที่ Unconventional Venue ว่าต้องการอะไรในโลกที่มีแรงกดดันและความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจสูงมาก และอีกหนึ่งมาตรฐานคือ มาตรฐานการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน (Thailand Sustainable Event Management Standard – TSEMS) ซึ่ง สสปน. ได้พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริม สร้าง Tool ด้านการจัดงานอย่างยั่งยืน (Sustainability) เข้ามาเพิ่มศักยภาพและสร้างความรู้ความเข้าใจทุกครั้งที่มีการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการสถานที่การจัดงาน ห้องประชุม หรือโรงแรมต่างๆก็ได้ประโยชน์จากมาตรฐานดังกล่าว และเป็นเรื่องที่ดีอีกหนึ่งเรื่องที่ประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ได้คว้าตำแหน่งในระดับนานาชาติ 2 ปีซ้อน จากการได้รับการจัดลำดับเป็นจุดหมายปลายทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นที่ 2 ของทวีปเอเชีย และลำดับที่ 19 ของโลก จากการจัดลำดับจากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกในการจัดอันดับ Global Destination Sustainability Index หรือ GDS-Index 2019 ผ่านการให้คะแนนตามตัวชี้วัดทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental performance) 14 ข้อ, ตัวชี้วัดด้านสังคม (Social performance) 4 ข้อ, ตัวชี้วัดด้านความสามารถของการให้บริการ (Supplier performance) 8 ข้อ และตัวชี้วัดด้านความสามารถขององค์กรสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมของแต่ละประเทศ (CVB performance) 12 ข้อ
The Global Destination Sustainability Index (GDS-Index) เป็นโครงการจัดอันดับเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางด้านการจัดงานที่มีความสามารถโดดเด่นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียที่เป็นสมาชิก และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ หรือ International Congress and Convention Association (ICCA) ซึ่งมีความเข้มแข็งด้านการเป็นจุดหมายปลายทางด้านการจัดงานอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันบริหารงานโดยพันธมิตรหลัก 4 องค์กรคือ International Congress and Convention Association (ICCA), MCI Group, IMEX และ European Cities Marketing (ECM) ซึ่งล้วนเป็นองค์กรที่เป็นที่รู้จักในแวดวงอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา และงานแสดงสินค้าทั่วโลก
You must be logged in to post a comment Login