- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 20 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 30.15-30.35 บาท จับตาทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้าย
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15-30.35 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 30.19 บาทต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1.0 พันล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 600ล้านบาท ขณะที่กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงซึมลง หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับลดลงเล็กน้อยท่ามกลางกระแสข่าวการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยังขาดความชัดเจน อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมวันที่ 29-30 ตุลาคมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) บ่งชี้ว่าเฟดไม่รีบปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปทางใดทางหนึ่งหลังจากตัดสินใจลดดอกเบี้ยไปแล้วในการประชุม 3 ครั้งหลังสุด
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่า ตลาดยังคงให้ความสนใจกับประเด็นทางการค้าของสหรัฐกับจีนท่ามกลางความตึงเครียดในฮ่องกง นอกจากนี้นักลงทุนจะจับตาสุนทรพจน์ของประธานเฟด ตัวเลขจีดีพี และการใช้จ่ายส่วนบุคคลของสหรัฐ ก่อนที่การซื้อขายในตลาดการเงินจะเบาบางลงช่วงเทศกาลขอบคุณพระเจ้าท้ายสัปดาห์ ทั้งนี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับยอดค้าปลีกวัน Black Friday ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูกาลจับจ่ายใช้สอยประจำปี เพื่อประเมินความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐและนโยบายของเฟดต่อไป
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ผู้ว่าการ ธปท. ให้ความเห็นว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว และเชื่อว่าไทยไม่ต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเพราะอาจจะนำมาซึ่งปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่แม้เงินเฟ้อจะไม่ใช่สิ่งที่กังวล แต่ความเสี่ยงของเสถียรภาพระบบการเงินมีมากขึ้น ส่วนแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนในระยะถัดไป ธปท. ประเมินว่าจะผันผวนมากขึ้น เราตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความเห็นของ ธปท. ที่ว่าเงินบาทในปัจจุบันแข็งค่ากว่าโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐาน โดยได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกที่คาดเดาไม่ได้ และ ธปท. จะทบทวนการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับเศรษฐกิจ รวมทั้งจะทบทวนการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ ท่าทีดังกล่าวทำให้คาดว่า ธปท. ต้องการใช้ทางเลือกนโยบายอื่นที่ไม่ใช่เครื่องมือดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ข้อมูลเศรษฐกิจที่ยังคงบ่งชี้ถึงแนวโน้มอ่อนแอ เช่น ยอดส่งออกและนำเข้าเดือนตุลาคมของไทยที่หดตัวมากกว่าคาดอาจสร้างแรงกดดันต่อผู้ดำเนินนโยบายการเงิน นอกจากนี้ตลาดจะเฝ้าระวังหากมีการปรับกฎระเบียบเกี่ยวกับการดูแลค่าเงินบาทของ ธปท. รวมถึงทิศทางมาตรการด้านการคลังชุดใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน
You must be logged in to post a comment Login