- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 13 hours ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 2 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 3 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 3 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 5 days ago
- อย่าไปอินPosted 1 week ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 weeks ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 2 weeks ago
เปิดหีบอ้อย “โรงงานน้ำตาลมิตรอำนาจเจริญ” ปีแรกคาดรับผลผลิตอ้อยในพื้นที่ได้ 1.1 ล้านตัน สร้างเงินสะพัดกว่า 1,200 ล้านบาท
นายไพฑูรย์ ประภาถะโร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการประจำกลุ่มงานอ้อย กลุ่มมิตรผล กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดตั้งโรงงานน้ำตาลในจังหวัดอำนาจเจริญว่า เดิมพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรมีการทำไร่อ้อยอยู่แล้วกว่า 80,000 ไร่ คิดเป็นผลผลิตอ้อยประมาณ 800,000-1,000,000 ตัน ที่ผ่านมาเกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องส่งอ้อยไปยังโรงงานในจังหวัดใกล้เคียง เช่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร ทำให้ต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่งที่สูง การเกิดขึ้นของโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในพื้นที่อีสานตอนล่างในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้ชาวไร่อ้อยสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนตามมาด้วยในหลายด้าน ซึ่งการพัฒนาชุมชนเป็นหัวใจสำคัญที่กลุ่มมิตรผลตระหนักถึงตามแนวทางการพัฒนาขององค์กร สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และตรงกับหลักปรัชญาในการร่วมอยู่ ร่วมเจริญกับชุมชนในทุกพื้นที่อย่างยั่งยืน
1.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
สร้างรายได้หมุนเวียนในจังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรกว่า 1,200 ล้านบาท จากการรับซื้ออ้อยเข้าหีบ การจ้างบุคลากรทำงานในโรงงานน้ำตาลจำนวนกว่า 400 ตำแหน่ง และการลดภาระค่าขนส่งอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยได้ประมาณ 100 บาทต่อตัน หรือรวมกว่า 120 ล้านบาทต่อปี
2.การพัฒนาด้านสังคมและชุมชน
2.1 ส่งเสริมความรู้ในการทำไร่อ้อยสมัยใหม่ด้วยแนวคิด “มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” ที่มุ่งเน้นการทำไร่อ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรควบคู่กับการบริหารจัดการแบบใหม่ที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มปริมาณ คุณภาพ และรายได้ให้กับชาวไร่อ้อย
2.2 ส่งเสริมความรู้ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควบคู่กับการทำไร่อ้อย โดยประยุกต์ใช้หลักการแบ่งพื้นที่ของเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือนและสร้างรายได้เพิ่มเป็นรายวัน รายเดือนให้กับชาวไร่ โดยโครงการนี้มีตัวเลขดัชนีความสุขในครัวเรือนสูงถึง 80% สะท้อนถึงความสุขที่สัมผัสได้จริงจากการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนของชาวไร่อ้อยและชุมชน (ปัจจุบันมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดอำนาจเจริญเข้าร่วมโครงการ 725 คน และมีศูนย์ปลูก เพ(ร)าะ สุข ที่เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ในชุมชน 14 แห่ง)
2.3 พัฒนาชุมชนรอบด้านอย่างยั่งยืน ส่งเสริมชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ อาทิ กลุ่มปลูกผักปลอดสาร การจ้างงานผู้พิการให้ทำงานในชุมชนและพัฒนาเป็นชมรมผู้พิการ รวมถึงสนับสนุนงานประเพณีท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่น งานกฐินชุมชน และการสร้างฝายเพื่อร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
“เมื่อโรงงานน้ำตาลมิตรอำนาจเจริญได้แจ้งกำหนดการเปิดหีบอ้อยในวันที่ 9 ธันวาคม 2562 ชาวไร่อ้อยและชุมชนต่างก็ดีใจกันเป็นอย่างมาก เห็นได้จากรอยยิ้มของทุกคนที่ยินดี มีความสุขกันถ้วนหน้า ที่สมหวังในการมาของโรงงานหลังจากรอคอยมานานกว่า 3 ปี โดยระหว่างช่วงที่ก่อสร้างโรงงานที่ผ่านมานั้น ธุรกิจหลายประเภท ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักอาศัย ได้เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนมาแล้ว และทุกคนก็เชื่อมั่นว่าหากโรงงานได้เปิดหีบอ้อยแล้ว จะยิ่งสร้างงาน สร้างรายได้หมุนเวียนในลักษณะนี้ให้กับชุมชนและชาวไร่อ้อยได้อีกปีละหลายร้อยล้านบาท รวมถึงการเสียภาษีบำรุงท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาของจังหวัดต่อไป” นายไพฑูรย์กล่าวเสริม
ด้านนายอุทิศ สันตะวงศ์ ประธานสหกรณ์ชาวไร่อ้อยลำเซบาย เปิดเผยความรู้สึกหลังการเปิดหีบอ้อยในพื้นที่เป็นปีแรกว่า “ดีใจแทนพี่น้องชาวไร่อ้อยที่วันนี้โรงงานน้ำตาลได้เปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ชาวไร่อ้อยในจังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรรอคอยกันมานาน พวกเรามีโรงงานน้ำตาลในพื้นที่ ทำให้ไม่ต้องแบกรับค่าขนส่งระยะทางไกลที่มีต้นทุนมาก และยังต้องรอคิวส่งอ้อยนาน นอกจากนี้ก็อยากจะขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่รับฟังความคิดเห็นของชุมชน พิจารณาอย่างเป็นธรรม และอนุมัติให้โรงงานน้ำตาลเปิดหีบดำเนินงานได้ในวันนี้ ชาวไร่อ้อยมั่นใจว่าโรงงานน้ำตาลจะมาพร้อมกับความเจริญและผลักดันเศรษฐกิจรายได้ให้กับพวกเราชาวอำนาจเจริญและยโสธรต่อไป”
ทั้งนี้ โรงงานน้ำตาลมิตรอำนาจเจริญมีกำลังการหีบอ้อย 15,000 ตันต่อวัน และเป็นโรงงานที่มีการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกันกับคณะกรรมการรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ ปริมาณอ้อยเข้าหีบในปีแรกนี้ 1.1 ล้านตันอ้อย จากชาวไร่อ้อยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรที่มีอยู่กว่า 7,500 ครัวเรือน สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในจังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรกว่า 1,200 ล้านบาท พร้อมด้วยการเติบโตของธุรกิจร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักอาศัยในชุมชน เป็นต้น อีกหลายร้อยล้านบาท และภาษีบำรุงท้องถิ่นที่สามารถนำไปพัฒนาจังหวัดได้ต่อไป
You must be logged in to post a comment Login