- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
นิราศเบลเยียม : สุดยอด Light Traveler
คอลัมน์ :โลกอสังหาฯ
ผู้เขียน : ดร.โสภณ พรโชคชัย
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่ 3-10 มกราคม 2563)
ในการเดินทางไปต่างประเทศนั้น ปัญหาหนักอกประการหนึ่งก็คือสัมภาระที่อาจมีมาก ทำให้น้ำหนักเกินจนต้องซื้อน้ำหนักบรรทุกเพิ่ม ยิ่งในช่วงฤดูหนาวยิ่งน่าหนักใจเพราะเสื้อหนาวมักจะหนามากเป็นพิเศษ ดร.โสภณจัดการปัญหานี้แบบ Backpacker อย่างไร
ในระหว่างวันที่ 2-9 ธันวาคม 2562 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะนายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์สากล (www.fiabci-thai.org) เดินทางไปประชุม FIABCI Global Business Forum (https://fiabci.org/en/dbm) ณ นครเกนต์ ประเทศเบลเยียม จากการตรวจสอบสภาพอากาศพบว่ามีทั้งฝนและความหนาว โดยเฉพาะความหนาวเย็นอยู่ระหว่าง -3 ถึง 10 องศาเซลเซียส ทำให้เสื้อหนาวต้องหนาเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ดร.โสภณไปแบบ Backpacker โดยมีกระเป๋าหิ้วหลังเพียงใบเดียว ขาไปก็เอาเสื้อหนาวตัวหนาที่ใช้กันหนาวใส่ถุงพลาสติกไป ในขณะที่อากาศหนาวนั้นเสื้อหนาวหนาๆตัวเดียวก็เอาอยู่ ไม่ต้องใส่หลายชั้นให้อุ้ยอ้ายและแบกหนักแต่อย่างใด ดังนั้น ท่านที่คิดจะไปต่างประเทศในช่วงหนาวหนักจึงควรเตรียมเสื้อหนาวที่ปกป้องร่างกายจากความหนาวให้ดีที่สุด อาจจะแพงหน่อย แต่มักจะไม่หนา ใส่สบายเพียงชั้นเดียวก็พอ
ส่วนชั้นในก็ใส่เพียงเสื้อยืดตัวหนึ่ง และในวันประชุมก็ใส่เสื้อเชิ้ตอีกตัวหนึ่ง อันที่จริงเอาเสื้อเชิ้ตไปตัวเดียวก็พอ ใส่สลับกับเสื้อยืดอีกตัว โดยอาจมีลองจอนฮีทเทคทั้งเสื้อและกางเกงใส่ไว้อีกชั้นหนึ่งก็ดี เท่านี้เองกระเป๋าหรือเป้ที่แบกไปก็จะเล็กลงไปเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังอาจหาถุงพลาสติกที่สามารถรีดอากาศออกได้ จะทำให้สัมภาระแฟบลงไปอีก ที่เป็นปัญหาหน่อยก็คือสูทที่ต้องรู้จักวิธีพับที่ไม่ยับและไม่กินพื้นที่นั่นเอง
สำหรับสายการบิน ปกติ ดร.โสภณจะไม่บินการบินไทย เพราะราคาแพงกว่าเพื่อน แต่ในกรณีนี้การบินไทยบินตรงถึงกรุงบรัสเซลส์ ดร.โสภณจึงยินดีใช้บริการสายการบินแห่งชาตินี้ อีกอย่างหนึ่งก็คือ โดยที่รู้ตัวว่าจะต้องไปประชุม 4 เดือนล่วงหน้า ดังนั้น ดร.โสภณจึงจองตั๋วไว้ล่วงหน้า ทำให้ราคาตั๋วถูกลงเป็นอย่างมาก คุ้มกับที่ไม่ต้องไปรอต่อเครื่องบิน และเป็นที่แน่นอนว่า ดร.โสภณเลือกที่นั่งชั้นประหยัด แม้ว่าการเดินทางครั้งนี้จะกินเวลาประมาณ 12 ชั่วโมงก็ตาม
เมื่อไปถึงกรุงบรัสเซลส์ ดร.โสภณก็เดินทางไปนครเลอวิง (Leuven) ซึ่งมีมหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอวิงตั้งอยู่ ทั้งนี้ ดร.โสภณเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในปี 2529 หรือ 33 ปีนับถึงปี 2562 ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่กลับไปเยือน มีอดีตคณบดี อาจารย์ และนักศึกษาปริญญาเอกให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และแน่นอนอีกเช่นกันว่า การเดินทางไปครั้งนี้ ดร.โสภณเดินทางโดยรถไฟ ใช้เงินไปประมาณ 300 บาทเท่านั้น นับว่าถูกมาก การนั่งแท็กซี่ไม่เคยมีอยู่ในหัวเพราะราคาแพงกว่า แม้จะสะดวกกว่า
การเดินทางครั้งนี้ค่อนข้างทุลักทุเลสักเล็กน้อยโดยเฉพาะขาไป เพราะ ดร.โสภณเอาหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คภาษาอังกฤษไปแจก 1 ห่อ 60 เล่ม ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม อาจจะหนักหน่อย แต่ก็ทยอยแจกตั้งแต่ที่มหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอวิงและในงานประชุมที่นครเกนต์ ดังนั้น ดร.โสภณจึงต้องแบกเดินทางไป แต่ก็ถือว่าได้ออกกำลังกาย และบนรถไฟก็ไม่ต้องหิ้ว สามารถวางไว้ได้
ดร.โสภณพักโรงแรมแบบแสนถูกแต่ปลอดภัย โดยหาจาก booking.com / agoda.com เป็นโรงแรมขนาด 30 เตียง ห้องที่ ดร.โสภณพักนั้นมี 6 เตียง นอน 5 คืน มีคนนอนจริงระหว่าง 2-4 คนเท่านั้น นับว่าโชคดีไป สนนราคาที่พักนั้นเป็นเงิน 4,500 บาทสำหรับการพัก 5 คืน ตกคืนละ 900 บาท ทั้งนี้ รวมอาหารเช้าที่มีให้รับประทานอย่างจุใจเลยทีเดียว นับว่าสุดคุ้ม เพียงแต่ว่าโรงแรมตั้งอยู่ห่างจากสถานที่จัดงาน 1 กิโลเมตร เดินประมาณ 12 นาที ซึ่งก็เป็นข้อดีที่ได้ออกกำลังกาย เดินไปกลับวันละ 2 รอบ รวม 4 กิโลเมตร แถมบางวันเดินมากกว่านั้น เพราะเดินเที่ยวในเมืองอีกต่างหาก
การพักโรงแรมแบบนี้อาจมีข้อเสียบ้างที่ขาดความเป็นส่วนตัวเพราะนอนห้องละ 6 เตียง มีเสียงกรนใส่กันและกันบ้าง แต่ว่าแต่ละคนที่มาพัก ซึ่งมักเป็นนักท่องเที่ยวบ้าง คนเข้าร่วมอบรมสัมมนาบ้าง ต่างให้เกียรติกันและกันอย่างดี ไม่พยายามรบกวนกันและกัน นับว่ามีอารยธรรมน่ารักดี แม้ว่าจะพยายามอยู่แบบไม่แพงกันก็ตาม โชคดีอีกอย่างของโรงแรมนี้ก็คือมีตู้เซฟให้เก็บของด้วย จะได้ไม่ต้องใส่กระเป๋ากางเกงตอนนอน
ถ้าพักโรงแรมจัดงานคืนละประมาณ 4,500 บาท ถ้าผมนอน 1 คืนในโรงแรมจัดงานก็เท่ากับนอน 5 คืนในโรงแรมที่ผมจอง แม้โรงแรมดังกล่าวจะดูหรูหราดี แต่ไม่ได้มีความจำเป็นอะไรกับผมเลย เพราะวันๆหนึ่งก็อยู่ในห้องประชุม แทบไม่ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกหรือห้องหับสวยๆแต่อย่างใด ใครถามผมว่าผมพักที่ไหนผมก็บอกเขาตรงๆว่านอนที่อื่นที่ถูกกว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าอาย การมีปัญญาความรู้น้อยกว่า ด้อยกว่าต่างหากเป็นสิ่งที่ต้องอาย เราต้องไม่อายกับสิ่งประดับภายนอก
ดร.โสภณถามเจ้าของโรงแรมแล้วทราบว่าเมื่อ 11 ปีก่อนซื้อมาในราคา 500,000 ยูโร หรือ 17.5 ล้านบาท และเสียค่าปรับปรุงอาคารมาเป็นระยะๆอีก 300,000 ยูโร หรือ 10.5 ล้านบาท มาบัดนี้เพิ่มเป็น 1.3 ล้านยูโร หรือ 43.55 ล้านบาท แต่สามารถสร้างรายได้เป็นเงินคืนละ 14,400 บาท (900 บาทต่อเตียง เฉลี่ย 16 เตียง) หากมีค่าใช้จ่ายสัก 50% ก็เหลือค่าห้องสุทธิ 7,200 บาทต่อคืน ถ้าเป็นทั้งปีก็เป็นเงิน 2,628,000 บาท หรือได้ผลตอบแทนสุทธิ 6.03% ซึ่งก็นับว่าสูงพอสมควรสำหรับในประเทศเบลเยียม
ทำเลของโรงแรมแห่งนี้นับว่าอยู่ใกล้ใจกลางเมืองมาก คู่แข่งมีน้อยมาก น่าซื้อ ดร.โสภณจึงตัดสินใจว่าจะปรึกษาภริยาเพื่อไปซื้อโรงแรมดังกล่าวต่อไป
You must be logged in to post a comment Login