- ต้องควบคุมผัสสะให้ดีPosted 3 hours ago
- วัดสวนแก้วจัดงานวันเด็กปี 68Posted 22 hours ago
- ว่าด้วย “นิสมฺม กรณํ เสยฺโย”Posted 2 days ago
- สร้างบารมีพาอยู่เย็นเป็นสุขPosted 3 days ago
- ต้องทำชีวิตให้ดีกว่าเก่าPosted 4 days ago
- สิ่งที่อยากเห็นในปี 68Posted 1 week ago
- เล่นอะไรที่สร้างสรรค์ดีกว่าPosted 1 week ago
- ปีใหม่ขอให้มีสติปัญญาใหม่ๆPosted 1 week ago
- ความรู้วิเศษช่วยลดทุกข์Posted 1 week ago
- แก้สันดานหัวดื้อให้หายดื้อPosted 2 weeks ago
พุทธศาสตร์ไม่แก้ปีชง
คอลัมน์ : สำนัก(ข่าว)พระพยอม
ผู้เขียน : พระพยอม กัลยาโณ
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 7 ม.ค.63)
ทุกปีจะมีเรื่องของ “ปีชง” ขึ้นมาสลับฉากกับเรื่องนี้เรื่องนั้นไปเรื่อยๆ ปีนี้มีคนไปถาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าได้แก้ไขปีชงหรือไม่ นายกฯบอกว่าไม่ค่อยเชื่อ โดยเชื่อว่าทำดีสู้ปีชงไปเรื่อยๆ ไม่คิดว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งปีชงเป็นเรื่องของโหราศาสตร์จีน เรื่องทั้งหมดเกิดจากพระเจ้าแผ่นดินจีนองค์หนึ่งคิดว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ และทำพิธีแก้ชงขึ้นมา ในที่สุดก็ได้มีการทำสืบต่อยาวนานมาจนถึงปัจจุบันนี้
ก็มาสอดคล้องเชื่อมโยงกับคนไทย แล้วคนไทยก็เชื่อเรื่องพรรค์นี้ โดยนักโหราศาสตร์ไทยเอามาเชื่อมโยงกันเข้า แต่ความจริงหลักของพระพุทธศาสนาไม่มีเรื่องแก้ปีชง มีแต่คนเราไปถือเคราะห์กรรม โชคร้าย เอามาเชื่อมโยงกันว่าปีชงเป็นปีโชคร้าย จะเสียโน่นเสียนี่ จะเจ็บป่วย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าต้องแก้ไขอย่างนี้แก้ไขอย่างนั้น เลยไปแก้ชงกันมา
หนักๆเข้ากลายเป็นการยึดติด ถ้าไม่ทำตัวเองจะเจ็บป่วย ได้รับทุกข์โทษ ไม่ดี ไม่เกิดสุข เกิดประโยชน์ กลายเป็นเรื่องที่ทำติดต่อ เชื่อมโยงกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน และจะทำต่อไปในอนาคตอีก เขาเรียกว่าเป็นตลาดการแก้ชง วัดต่างๆเขาก็รับมุข รับลูกกัน ถ้าไม่รับลูก ไม่รับมุข ก็จะไม่ค่อยมีคนเข้าวัด มีเงินเข้าวัด
คิดว่าตามน้ำก็ตาม ทวนน้ำก็ทวน แต่ไม่ค่อยทวนกระแสธรรมที่ทำกันไป ซึ่งมันเป็นไสยศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นแนวพุทธศาสตร์ก็ไม่เห็นจะต้องไปแก้ชงอะไร บางคนเขาบอกว่าชงโอเลี้ยง ชงกาแฟกินอิ่มกว่า ไปชงพรรค์นั้นเสียเงินเสียทองเปล่าๆ ไม่ได้อิ่มอะไรสักอย่าง ได้แค่อุ่นใจ ดีใจว่าได้แก้ปีชงแล้ว และถ้าใครยังนั่งวิตกกังวล หวาดกลัวว่าจะเป็นนั่นเป็นนี่ถ้าไม่ทำ ไม่แก้ชง ถ้าเชื่อมโยงมาหาหลักของพระพุทธศาสนาแล้วมันไม่เป็นเช่นนั้นเลย ทุกข์โทษทั้งหลายเกิดจากการกระทำทั้งสิ้น
เราเป็นชาวพุทธต้องเชื่อหลัก 2 อย่างคือ เชื่อกรรมกับเชื่อความเพียร กัมมะวาทีกับวิริยะวาที ถ้าเชื่อกรรม การกระทำก็ดีแน่นอน แล้วมีความเพียรที่จะสู้กับการกระทำที่ดีย่อมไม่ท้อถอยแน่นอน
เจริญพร
You must be logged in to post a comment Login