- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 1 hour ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 1 day ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 2 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 3 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 4 days ago
- อย่าไปอินPosted 1 week ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 2 weeks ago
กกพ.สนับสนุน AEITF ลุยโครงการ Solar Move ดึงอสังหาฯ200หมู่บ้านมีส่วนร่วมพลังงานสะอาด
นายสุเมฆ ปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) กล่าวว่า มูลนิธิได้รับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อการส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้าตามมาตรา 97(5) ผ่านการดำเนินโครงการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Solar Rooftop เข้าสู่ชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน (Solar Move ) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญๆ อาทิ เพื่อส่งเสริมสังคมและประชาชนกรุงเทพฯและปริมณฑลในหมู่บ้านจัดสรรประมาณ 200 โครงการ ประมาณ 10,000 ครัวเรือนให้มีความรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด
นอกจากนี้ ต้องการให้ร่วมกันส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้มีแนวทางในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า โดยมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานสะอาดจากการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สามารถทดลองใช้งานจริงผ่านรถนิทรรศการเคลื่อนที่ในรูปแบบ Active Learning และที่สำคัญเพื่อร่วมกันลดภาวะโลกร้อนจากการลดการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตโดยเชื้อเพลิงที่เป็นฟอสซิลซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 75% (ก๊าซธรรมชาติ 58% และถ่านหิน/ลิกไนต์ 17% ) เทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีสัดส่วนเพียง 10% ซึ่งตามการวางแผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2561-2580 (PDP2018) จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 30% ในปี 2580
เนื่องจากสาขาครัวเรือนหรือกลุ่มที่อยู่อาศัยมีอัตราการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าถึง 10.1% (พิจารณาจากตัวเลขการใช้ไฟฟ้าเมื่อ พ.ย.2562) โดยมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าถึง 26% หรือคิดเป็นสัดส่วนการใช้ไฟมากเป็นอันดับ 2 รองจากสาขาอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 45% และหากมีการรณรงค์หรือส่งเสริมให้ภาคครัวเรือน รวมทั้งหมู่บ้านจัดสรรได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ตามโครงการโซลาร์ภาคประชาชนของ กกพ.ที่ส่งเสริมให้มีการติดตั้งปีละประมาณ 100 เมกกะวัตต์ (MW) หรือเป็นการติดตั้งปีละ 10,000-20,000 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าได้ 4,000 ล้านบาท/ปี และหากมีการติดตั้งครบ 10 ปีตามแผน PDP2018 ก็จะมีกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดถึง 1,000 MW ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่า จะมีประชาชนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปตามโครงการโซลาร์ภาคประชาชนประมาณ 200,000 ครัวเรือน
สำหรับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Solar Rooftop เข้าสู่ชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน (Solar Move ) ประกอบด้วยบริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด, บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น และบมจ. เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง
นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทกานดาฯ ได้ติดตั้งเสาไฟฟ้าโซลาเซลล์ในพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรรร่วมกับกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าเก็บไว้ที่แบตเตอรี่แล้วนำมาใช้ในตอนกลางคืน นอกจากนั้นมีการทดลองติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่สำนักงานขาย ขนาด 10 KW ทำให้ประหยัดไฟเดือนละหลายพันบาท สำหรับโครงการหมู่บ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยวที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Solar Rooftop เข้าสู่ชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนประมาณ 3 โครงการ รวมกันประมาณกว่า 1,000 ครัวเรือน ประกอบด้วยโครงการไอลีฟ พาร์ค พระราม 2 กม.14 จำนวน 379 หลัง โครงการสยามเนเชอรัลโฮม พระราม 2 กม.17.5 จำนวน 283 หลัง และโครงการไอลีฟ พาร์ค วงแหวน-รังสิตคลอง 4 จำนวน 422 หลัง
สำหรับบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH ได้ส่งโครงการบ้านจัดสรรเข้าร่วมโครงการ Solar Move ประมาณ 19 โครงการ ประมาณ 4,000 หลัง ซึ่งมีบ้านหลายแบรนด์ที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ บ้านเดี่ยวแบรนด์มัณฑนา, ชัยพฤกษ์, พฤกษ์ลดา, ชลลดา และอินนิซิโอ
บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)หรือ QH ได้ส่งโครงการบ้านจัดสรรเข้าร่วมโครงการ Solar Move ประมาณ 30 โครงการ ประมาณ 3,000 หลัง
บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ A ได้ส่งโครงการบ้านจัดสรรเข้าร่วมโครงการ Solar Moveประมาณ 10 โครงการ ประมาณ 1,000 หลัง
บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ได้ส่งโครงการบ้านจัดสรรทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมเข้าร่วมโครงการ Solar Move ประมาณ 10 โครงการ ประมาณ 1,000 หลัง อาทิ เสนาพาร์ควิลล์ รามอินทรา , เสนาทาวน์ 1 รามอินทรา, เสนาช็อปเฮาส์ บางแค-เทิดไท และโครงการเสนาอเวนิว บางกะดี่ ฯลฯ
บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCH ได้ส่งโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยวเข้าร่วมโครงการ Solar Move ประมาณ 10 โครงการ
ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้สนับสนุนให้มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทยร่วมออกบูธจัดกิจกรรมเคลื่อนที่สำหรับโครงการ Solar Move ในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 (Motor Show 2020) ระหว่างวันที่ 25 มี.ค.-5 เม.ย.2563 ที่อิมแพ็คเมืองทองธานีกล่าวว่า การจัดทำโครงการ Solar Move เข้ากับกระแส PM 2.5 ซึ่งประเทศเราไม่เคยพบมาก่อน ในระยะช่วงปีหลังๆ นี้ฝุ่นและมลพิษต่างมีส่วนทำลายในชั้นบรรยากาศของโลกมากๆ มากจนถึงเรามีความรู้สึกว่า มีความจำเป็นหรือถึงเวลาแล้ว เนื่องจากเราปล่อยปละละเลยเรื่องของพลังงานสะอาดหลายประเภท เพราะฉะนั้นพอเราหันมาใช้โซลาร์เซลล์แล้วก็จะช่วยลดการใช้พลังงานด้านอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลก และลดความมักง่าย เพื่อมาใช้พลังงานเงียบคือ พลังงานแสงแดดที่เราปล่อยทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งไม่เคยสนใจตลอดชีวิตของเรา ทั้งที่มีพลังงานมากมาย หลายคนมาสนใจตอนนี้ก็ไม่ได้สายเกินไป และต้องสอนลูกๆ หลานๆ ว่าสิ่งที่ใกล้ตัวของเรามากที่สุดตอนนี้คือ “พลังงานแสงอาทิตย์”
สถานการณ์การการใช้ไฟฟ้าของไทยปี 2562 (ช่วง ม.ค.-พ.ย.)
-ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 เวลา 14.27 น. อยู่ที่ระดับ 37,312 เมกกะวัตต์ (MW)
-การใช้ไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งเป็นปริมาณไฟฟ้าในแต่ละชั่วโมงตลอดทั้งปีมีหน่วยเป็นล้านหน่วย (GWh) อยู่ที่ 178,602 GWh หรือกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้น 3.4% โดยภาคครัวเรือนยังคงเติบโตสูงสุดที่ 10.1% ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ลดลงที่ 1.7%
-สาขาอุตสาหกรรม มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 45% มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอื่น แต่การใช้ลดลงที่ 1.7% โดยอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะพื้นฐาน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้ไฟฟ้าลดลง 10.2% และ 6.0% ตามล้าดับ สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน 2562 หดตัวลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.27 อยู่ที่ระดับ 96.77 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน สาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ท้าให้มีค้าสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ประกอบกับกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งมาจากสถาบันการเงินเข้มงวด ในการปล่อยสินเชื่อ
-สาขาธุรกิจ มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 25% การใช้เพิ่มขึ้น 6.0% โดยกลุ่มธุรกิจหลักที่มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้แก่ อพาร์ตเมนต์และเกสต์เฮาส์ โรงแรมและห้างสรรพสินค้า 14.9% 3.3.% และ 3.2% ตามล้าดับ สะท้อนจากจ้านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2562 มีจ้านวน 3.36 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นหลัก โดยขยายตัวร้อยละ 18.3 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นที่ขยายตัวได้ดี อาทิ นักท่องเที่ยวชาวไต้หวัน อินเดีย และรัสเซีย
-สาขาครัวเรือน มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 26% การใช้เพิ่มขึ้น 10.1% สอดคล้องกับดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 42.0 ขยับขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 41.8 ในเดือนตุลาคม
You must be logged in to post a comment Login