- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 17 hours ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 2 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 3 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 4 days ago
- อย่าไปอินPosted 7 days ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 2 weeks ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
9 มีนาคม วันคณะกรรมการหมู่บ้าน
คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 โดยถือกำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2486 และในปี 2551 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ของ กม. เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และครอบคลุมการทำงานในทุกมิติของหมู่บ้าน เสมือนเป็น “คณะรัฐมนตรีประจำหมู่บ้าน” ซึ่งต่อมา กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้วันที่ 9 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันคณะกรรมการหมู่บ้าน” เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน
คณะกรรมการหมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานโดยตำแหน่ง
2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
3. สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
4. ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้าน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
5. กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 – 10 คน โดยการเลือกของประชาชนในหมู่บ้าน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
มีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1. ช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ
2. เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน
ในห้วงปี พ.ศ. 2563 นี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดย นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ได้กำหนดนโยบายให้ฝ่ายปกครองในพื้นที่ โดยผ่านโครงการสำคัญ 10 Flagships for DOPA Excellence 2020 อันเป็นโครงการเพื่อการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ที่กรมการปกครอง จัดทำขึ้น โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีเป้าหมาย “ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น” โดยในการขับเคลื่อนทุกโครงการอันเป็น 10 Flagships เพื่อประชาชนนั้น จะมีคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นเสมือนกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านในระดับพื้นที่ทุกโครงการ จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการหมู่บ้าน เสมือนคณะรัฐมนตรีประจำหมู่บ้าน คือตัวแทนของประชาชน มีความใกล้ชิด รับรู้ รับทราบ และเข้าถึงข้อมูล สภาพพื้นที่ ปัญหา และความต้องการของหมู่บ้านเป็นอย่างดี โดยร่วมกันทำงานด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ตามอำนาจหน้าที่ด้วยจิตสาธารณะ จนสร้างความเข้มแข็งให้แก่หมู่บ้าน อันหมายถึงรากฐานสำคัญของประเทศ “ประเทศต้องมีรัฐบาล หมู่บ้านต้องมี กม.”
You must be logged in to post a comment Login