วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567

อ.ส.ค.รับมือภาวะเศรษฐกิจทรุด​ เร่งศึกษาธุรกิจนมบน“แพลตฟอร์ม”รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน

On March 6, 2020

อ.ส.ค.รับมือภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทรุด   ผนึกม.เกษตรเร่งศึกษาธุรกิจนมบน“แพลตฟอร์ม”  พร้อมเดินหน้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค สู่นวัตกรรมและธุรกิจสมัยใหม่  รองรับการเติบโตของ อ.ส.ค.และผลักดันอาชีพโคนมสู่ความยั่งยืน   พร้อมหนุนคนไทยสุขภาพดีต้านทานไวรัส “โควิด-19”

ดร.ณรงค์ฤทธิ์    วงศ์สุวรรณ   ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)   กล่าวว่า อ.ส.ค.จับมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงนามทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เพื่อร่วมพัฒนางานด้านทุนมนุษย์ (Human Capital Design and Development) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์รูปแบบกิจการ และสถาบันการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมการวิจัยเพื่อสร้างการกินดีมีสุขภาวะกับม.เกษตรศาสตร์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งมอบสุขภาวะให้ประชาชน ทุกช่วงวัยและสร้างทรัพยากรมนุษย์มีอาชีพบนกิจการเกี่ยวกับโคนมด้วยแนวทางยั่งยืน

1583495530651

โดยความร่วมมือในครั้งนี้คาดหวังให้เกิดความสำเร็จใน5ด้านคือ1.การพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลเชิงกลยุทธ์ HR Innovation 4.0 ของอ.ส.ค. ในการมุ่งสู่การเป็นนมแห่งชาติภายในปี2564 2.การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างสุขภาวะผ่านผลิตภัณฑ์และรูปแบบบริการบริการของอ.สค.ในอนาคต3.การพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ให้เป็นระบบ(Smart Academy)ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมสมัยใหม่ 4.การจัดทำ ความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม(Innovation center)ของอ.ส.ค.ร่วมกับม.เกษตรศาสตร์และโรงพยาบาลในเครือกระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์และ5.การพัฒนาต่อยอดและบูรณาการความร่วมมือด้านการเรียนการสอน การวิจัย การสร้างนวัตกรรมร่วมกับการทาธุรกิจยุคใหม่ (Business Platform) เพื่อรองรับการเติบโตของ อ.ส.ค. ในอนาคตอย่างยั่งยืน  โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปีคือระหว่างปี 2263-2568

1583495535083

ดร.ณรงค์ฤทธิ์      กล่าวด้วยว่า   ปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยและทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤติจากปัญหาเชื้อไวรัส “โควิด-19” ระบาดอย่างรุนแรง   จำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมและองค์กรต่างๆจะต้องปรับตัวรับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคและตลาดอุตสาหกรรมด้านต่างๆที่จะเปลี่ยนแปลงไป   การลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างอ.ส.ค.และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ภาคีเครือข่ายในครั้งนี้จึงถือเป็นมิติที่ดี   ในการร่วมกันวิจัยและพัฒนานวัติกรรมผลิตภัณฑ์นมและบุคคลากรด้านอุตสาหกรรมนมสู่ความทันสมัยและก้าวทันธุรกิจสมัยใหม่ที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะการปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจนมบน“แพลตฟอร์มใหม่ๆ     เพื่อให้ประชาชนและผู้บริโภคได้รับสุขอนามัยที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรงรวมทั้งผลักดันอาชีพโคนมก้าวสู่ความยั่งยืนยิ่งขึ้นไปอีก  ที่สำคัญคือรองรับการเติบโตของอ.ส.ค.ในอนาคต


You must be logged in to post a comment Login