วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

คกก.ลุ่มน้ำป่าสักถกแผนพัฒนาแหล่งน้ำระยะ 5 ปีเน้นความต้องการพื้นที่เป็นหลัก

On July 9, 2020

วันนี้ (9 กรกฎาคม 2563) เวลา 09.30 น. ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำป่าสัก ครั้งที่ 2/2563  โดยมีนายสุปกิต  โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ในฐานะประธานกรรมการลุ่มน้ำป่าสักเป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมห้องประชุมทานตะวัน (ชั้น5) ศาลากลางจังหวัดลพบุรี อ.เมืองลพบุรี ว่า ประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ พิจารณาการกำหนดเป้าหมายโครงการสำคัญในลุ่มน้ำป่าสัก ปี 2564 – 2570 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา  มีทั้งสิ้น 19 โครงการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะ 20 ปี แบ่งเป็น ด้านการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค  2 โครงการ ได้แก่ 1.) การปรับปรุงขยาย กปภ.สาขาเพชรบูรณ์-หล่มสัก (ระยะที่ 1) และแผนลดการสูญเสียน้ำ จ.เพชรบูรณ์ 2.) การปรับปรุง ขยาย กปภ.สาขาเพชรบูรณ์-หล่มสัก (ระยะที่ 2) จ.เพชรบูรณ์

5

 

ด้านการสร้างความมั่นคงภาคการผลิต 16 โครงการ อาทิ ขุดลอกเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  จ.ลพบุรี แก้มลิงบึงหนองกลับ-บึงสัมพันธ์ จ.สุพรรณบุรี ผันน้ำแม่น้ำชี (บ้านหนองคู)-อ่างฯ ลําเชียงไกร(ตอนล่าง) จ.นครราชสีมา เป็นต้น และด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 1 โครงการ คือ ขุดลอกแม่น้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งคณะกรรมการลุ่มน้ำได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายโครงการสำคัญ รวมถึงเสนอโครงการเพิ่มเติม หากคณะกรรมการลุ่มน้ำและหน่วยงานในพื้นที่มีโครงการสำคัญที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์สามารถเสนอมายัง สทนช.เพื่อรวบรวมและพิจารณานำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการต่อไป

1

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังหารือในการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน 2563 ลุ่มน้ำป่าสัก ตาม 8 มาตรการรองรับสถานการณ์ในฤดูฝน และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ปี 2563 ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำ ประเมินความเสี่ยงของแหล่งน้ำ และน้ำในลำน้ำ เพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อม สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ และเตรียมการช่วยเหลือ ซึ่งคณะกรรมการลุ่มน้ำจะเป็นอึกหนึ่งเครือข่ายสำคัญในการรายงานสถานการณ์น้ำหลากและปัญหาในพื้นที่มายังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาที่เชื่อมโยงหลายหน่วยงานเข้าด้วยกันได้มีประสิทธิภาพยิ่งขี้น ซึ่งในอนาคตแต่ละลุ่มน้ำจะมีการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วมระดับลุ่มน้ำ

3

 

ซึ่งขณะนี้ สทนช. ได้ดำเนินการยกร่างแผนฯ เป็นกรอบเบื้องต้น เพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำจัดทำแผนดังกล่าวข้างต้น โดยบูรณาการร่วมกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยแห่งชาติและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในเขตลุ่มน้ำตามความเหมาะสม คณะกรรมการลุ่มน้ำจะต้องจัดทำแผนฯ ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อเสนอให้ กนช. เห็นชอบภายในเดือนกันยายน 2563

6


You must be logged in to post a comment Login