วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ ม.บูรพา เร่งปลุกกระแส Startup หวังบัณฑิตนำความรู้ไปสร้างธุรกิจใหม่

On August 30, 2020

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เร่งพัฒนาบัณฑิตสายอาชีพเฉพาะทางที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในเครือข่ายสาขา Geospatial Intelligence, GIS, Remote Sensing หรือ ภูมิสารสนเทศอัจฉริยะ หวังส่งต่อบัณฑิตให้ก้าวสู่การเป็น Startup หรือผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในภาพรวม ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะบางกลุ่มธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ในการช่วยตัดสินใจวางแผน

ดร.กฤษนัยน์ เจริญจิตร คณบดี คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับทุกอาชีพอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยในวงการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในยุคปัจจุบันให้ได้มากที่สุด ซึ่งคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มองว่าในฐานะสถาบันการศึกษาด้าน Geospatial แห่งเดียวในประเทศไทยที่ต้องการให้นิสิตมีความเป็นเลิศแข่งขันกับนานาชาติ โดยยกวิทยฐานะจากภาควิชาภูมิศาสตร์ขึ้นเป็นคณะภูมิสารสนเทศ และมีความพร้อมในการผลิตบัณฑิตในทุกๆ มิติ โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและอวกาศ ไปสู่การอธิบายและคาดการณ์ด้วยเทคโนโลยีข้อมูลแบบ Geospatial Intelligence ซึ่งข้อมูลนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ทั้งจากโทรศัพท์มือถือ IoT หรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ (Internet of Things)  โดรน (Drone) ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite age) ซึ่งได้จากการบันทึกข้อมูลของดาวเทียมด้วยกระบวนการสำรวจระยะไกล หรือ รีโมตเซ็นซิ่ง (Remote Sensing) ซึ่งคณะฯ มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อตลาดอาชีพ ในปัจจุบัน พร้อมกับเชื่อมโยงแนวทางการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์การทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังมีความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโท-เอก กับสถาบันสารสนเทศวิศวกรรมการสำรวจ การทำแผนที่และภูมิสารสนเทศ (LIESMARS : ลิสมาร์) ซึ่งเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น (Wuhan University)  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และสถาบัน LIESMARS ได้รับการยอมรับทางด้านการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศจีน เพื่อให้นิสิตไปเสริมสร้างประสบการณ์ตรงและพัฒนาธุรกิจ โดยการค้นคว้าและวิจัยเป็นหลัก R & D for Enterprise”

12

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การเรียนการสอนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน บัณฑิตของคณะฯ ที่จบไปแล้วสามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพใหม่ หรือทำงานในองค์กรที่เน้นการพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีได้หลากหลายมากขึ้นในธุรกิจประเภท Startup เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ที่รองรับธุรกิจด้านไอที เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น แอพพลิเคชั่น ต่าง ๆ และที่สำคัญไปกว่านั้นการสร้างบัณฑิตให้เป็น Startup ยังมีแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวกระโดด รวมไปถึงสามารถสร้างรายได้ในอนาคต

14

“ซึ่งจากความมุ่งหวังในการพัฒนานิสิตนักศึกษาอย่างแท้จริง ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงปฏิบัติการ (Work Integrated Learning) คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ EEC สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA  มูลนิธิปิดทองหลังพระ เมืองพัทยา (การจัดทำแผนแม่บทดิจิทัลเมืองพัทยา) การจัดทำ Application เฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยใช้ Geospatial Intelligence และอีกหลากหลายเครือข่ายความร่วมมือ จึงทำให้บัณฑิตที่จบจากคณะฯ สามารถเข้าทำงานได้ในหลาย ๆ หน่วยงานของภาครัฐ   อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม หรือ บริษัทสำรวจ บริษัทที่ปรึกษาวางแผน เป็นต้น ซึ่งการศึกษาในหลักสูตรภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สามารถนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดเป็นวิทยากรภูมิสารสนเทศเชิงประยุกต์ที่พร้อมใช้งานในระดับอาเซียนอีกด้วย”  ดร.กฤษนัยน์ กล่าว

15

16

13

17

 


You must be logged in to post a comment Login