- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กในประเทศไทย
โกลบอลคอมแพ็กเป็นองค์กรที่น่าสนใจในระดับโลก เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2554 ไม่ใช่เพิ่งเข้ามา เรามารู้จักโกลบอลคอมแพ็กกัน ซึ่งธุรกิจควรเป็นสมาชิก
ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) ก่อตั้งในปี 2543 เป็นข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันของสหประชาชาติในการสนับสนุนธุรกิจทั่วโลกให้นำนโยบายที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ และรายงานการดำเนินงานของวิสาหกิจเหล่านี้ UN Global Compact เป็นกรอบการทำงานแบบอิงหลักการสำหรับธุรกิจ โดยระบุหลัก 10 ประการในด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต <1> วิสาหกิจทั้งใหญ่-เล็กจึงควรเป็นสมาชิกเพื่อแสดงถึงความโปร่งใส น่าเชื่อถือ
สำหรับในประเทศไทยเมื่อเข้ามาในครั้งแรก สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรประสานงานในประเทศไทย โดยมีคุณสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย เป็นผู้ประสานงานประจำประเทศไทย ทั้งนี้ ในการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 ในประเทศไทยนั้น มีการลงนามใน UN Global Compact โดยมีวิสาหกิจหลายแห่งเข้าร่วม โดยศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ที่ ดร.โสภณเป็นประธาน เป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจที่ร่วมลงนาม ณ งาน the Asia Pacific Business Forum ซึ่งจัดขึ้น ณ องค์การสหประชาชาติ สะพานมัฆวาน โดย ดร.โสภณได้ลงนามต่อหน้านายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น
หลังจากการลงนาม บริษัทที่เข้าร่วม UN Global Compact ก็มีหน้าที่จัดทำรายงานการปฏิบ้ติตามพันธกิจที่ได้ลงนามไว้ เช่น ศูนย์ข้อมูลฯของ ดร.โสภณก็จัดทำรายงานเสนอต่อ UN Golbal Compact เช่นกัน โดยเป็นสิ่งที่วิสาหกิจที่มีอารยะพึงดำเนินการต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า ชุมชนโดยรอบและสังคมโดยรวม ประกอบด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดโดยไม่ละเมิดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมีมาตรฐานและจรรยาบรรณที่ดี (Soft Laws) การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองแรงงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการไม่ทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น คุณสิริวัน ผู้แทน UN Global Compact ในประเทศไทย ไปร่วมบรรยายในงาน “หลักปฏิบัติการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ” ในวันที่ 20 มกราคม 2552 ซึ่งจัดโดย ตลท. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย UNEP และ UN Global Compact ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ <2>
ในงานเสวนาวิชาการรายเดือนครั้งที่ 86 เรื่อง “CSR ที่แท้สำหรับวิสาหกิจขนาดใหญ่และ SMEs” ในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยจัดเสวนาข้างต้น โดยมีคุณมารินัส ซิคเคล ผอ.แผนการลงทุนและการพัฒนาวิสาหกิจ องค์การสหประชาชาติ ESCAP คุณสิริวัน ร่มฉัตรทอง ผู้แทนจาก UN Global Compact และ ดร.โสภณ เป็นวิทยากรในครั้งนั้น
ศูนย์ข้อมูลฯยังเคยทำรายงานกรณีศึกษาการต้านการทุจริต (Case Story on Anti-Corruption) นำเสนอต่อ UN Global Compact เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 จนได้รับการยกย่องเป็นกรณีศึกษาสำคัญเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ UN Global Compact ในขณะนั้น การไม่ทุจริตและประพฤติมิชอบในกรณีของศูนย์ข้อมูลฯ ได้ดำเนินการเพื่อประกันการให้บริการที่ดีและน่าเชื่อถือ โดยการส่งไปรษณียบัตรมอบให้ลูกค้าเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของผู้ประเมินค่าทรัพย์สินหรือนักวิจัย การสัมภาษณ์ลูกค้าทางโทรศัพท์เพื่อทราบความพึงพอใจและการประเมินผลเพิ่มเติม และการจัดส่งคณะตรวจสอบออกตรวจสอบงานที่ได้ดำเนินการมาในภาคสนามถึงความถูกต้องแม่นยำ <3>
ต่อมาผู้ประสานงาน UN Global Compact ได้เปลี่ยนจากคุณสิริวันเป็น ดร.โสภณ ดังนั้น วันที่ 16-20 พฤษภาคม 2554 ดร.โสภณจึงเดินทางไปประชุม UN Global Compact ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยคณะผู้แทนไทยอีก 5 ท่าน เดินทางเข้าร่วมการประชุมนี้ ถือเป็นภารกิจในการประสานงานกับ UN Global Compact ในต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนา UN Global Compact ในประเทศไทย
วิสาหกิจที่เข้าร่วม UN Global Compact ต้องยึดถือหลัก 10 ประการ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการไม่ร่วมมือกับการติดสินบนหรือทุจริต ดังนี้ :
ด้านสิทธิมนุษยชน
หลักข้อที่ 1 : ธุรกิจควรสนับสนุนและเคารพการปกป้องหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ
หลักข้อที่ 2 : ธุรกิจไม่พึงข้องแวะกับการกระท ที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนด้านมาตรฐานแรงงาน
หลักข้อที่ 3 : ธุรกิจควรส่งเสริมและตระหนักถึงเสรีภาพในการรวมกลุ่มแรงงาน เช่น การตั้งสหภาพแรงงานของพนักงาน
หลักข้อที่ 4 : ธุรกิจต้องร่วมขจัดการบังคับการใช้แรงงาน
หลักข้อที่ 5 : ธุรกิจต้องร่วมขจัดการใช้แรงงานเด็ก
หลักข้อที่ 6 : ธุรกิจต้องไม่กีดกันการจ้างงานและอาชีพ
ด้านสิ่งแวดล้อม
หลักข้อที่ 7 : ธุรกิจควรสนับสนุนการดำเนินการปกป้องสิ่งแวดล้อม
หลักข้อที่ 8 : ธุรกิจควรแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม
หลักข้อที่ 9 : ธุรกิจควรส่งเสริมและเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ด้านการไม่ยอมรับการทุจริต
หลักข้อที่ 10 : ธุรกิจควรดำเนินไปโดยปราศจากการฉ้อโกง ทุจริต และประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ รวมทั้งการบังคับ ขูดรีด และการติดสินบน ทั้งนี้ อาจพิจารณาในกรณีภายในวิสาหกิจ และการให้สินบนอันเป็นการทุจริตในวงราชการก็เป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง
การปฏิบัติตาม UN Global Compact ให้ครบถ้วนหรือไม่ละเมิดตามหลักการข้างต้น ถือว่าวิสาหกิจนั้นๆมี CSR ดังนั้น CSR จึงไม่ใช่การทำบุญเอาหน้า หรือสักแต่ทำทีดูแลสิ่งแวดล้อม หรือเลี่ยงไปทำดีทางอื่นในหน้าฉาก แต่หลังฉากกลับขูดรีด ฉ้อฉล เอาเปรียบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยไม่ละอายและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย
นี่คือการสร้างแบรนด์ที่แท้ของบริษัทพัฒนาที่ดินหรือวิสาหกิจใดๆก็ตาม
อ้างอิง
<1> Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/United_Nations_Global_Compact
<2> กบข. CSRI ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดงานสัมมนาหัวข้อหลักปฏิบัติการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ : Principles for Responsible Investment, Bangkok Capital Markets Day. https://www.ryt9.com/s/prg/506415
<3> Agency for Real Estate Affairs. ความรับผิดชอบต่อสังคม. https://www.area.co.th/thai/bar55.php
You must be logged in to post a comment Login