วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ภาคีเครือข่ายโคราชยิ้ม พัฒนาเด็กผ่านโครงการ “โคราช Free Play ส่งเสริม Play Work การเล่นอิสระเพื่อคุณภาพชีวิตของเด็ก”

On October 12, 2020

a11

เครือข่ายโคราชยิ้ม มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกับ TK ศูนย์การเรียนรู้นครราชสีมา เทศบาลจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ร่วมจัดกิจกรรมโคราชเดิ่นยิ้มชวน … มาเล่นกันเถอะ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้โครงการ “โคราช Free Play ส่งเสริม Play Work การเล่นอิสระเพื่อคุณภาพชีวิตของเด็ก” ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ เปิดลานเล่น Play Day ชวนน้องเล่นสนุกกับการผจญภัยถ้ำสมบัติ สำรวจ ค้นหา อะไรอะไรก็เล่นได้ นักสร้างสรรค์และส่งเสริมจินตนาการ กับมุมเล่นในบ้าน บทบาทสมมุติและจินตนาการ ลานเล่นผจญภัย ท้าทาย เล่นกับธรรมชาติ ดิน น้ำ พรรณพืช รวมถึงมีนิทรรศการเล่นอิสระ กิจกรรมการเรียนรู้ และบทบาท PlayWorker การจัดมุมเล่น ส่งเสริมการเล่นอิสระเพื่อชีวิตเด็ก ในบ้าน ในโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้เล่นอย่างมีความสุขจนนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีในทุกเรื่องและพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

a12

นายถาวร เบ็ญพาด ผู้จัดการโครงการส่งเสริมการเล่นอิสระเพื่อเด็ก มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อคุณภาพชีวิต และสังคมยุคดิจิตอลการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างง่ายและรวดเร็ว ส่งผลให้วิถีชีวิตของเด็กเยาวชนปัจจุบันตกอยู่ในสภาวะเสี่ยง เพราะเด็กใช้เวลากับมือถือ เล่นเกม เสพสื่อมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง กลายเป็นเด็กอ้วน  มีปัญหาสุขภาพกายและจิต บวกกับสภาพสังคม ครอบครัว  ที่มุ่งเน้นการศึกษา พึ่งพาการเรียนพิเศษ ทำให้เด็กต้องเรียนมากกว่าในระบบ และให้คุณค่าเรื่องการเล่นเป็นเรื่องรอง ทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสเล่น ซึ่งความเป็นจริงเด็กควรได้สิทธิในการเล่น ดังนั้นครอบครัว ครู ชุมชน และสังคม มีความจำเป็นต้องตระหนักเห็นความสำคัญของการเล่น เพราะการเล่นจะเป็นเครื่องมือที่สามารถดึงเด็กออกจากสื่อ ช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาเด็กได้ การเล่นสร้างให้เด็กมีกิจกรรมทางกายอย่างสร้างสรรค์  มีความสุข มีสุขภาพจิตดี เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ  และมีพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสม  มีทักษะชีวิต และเกิดสุขภาวะ  เพราะการเล่นเป็นหนึ่งในสิทธิที่เด็กพึงได้รับ ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อที่ 31  “เด็กมีสิทธิที่จะมีการพักและเวลาพักผ่อน การเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นทางสันทนาการที่เหมาะสมตามวัย การมีส่วนร่วมอย่างเสรีเหมาะสมเท่ากันในกิจกรรมทางศิลปะ วัฒนธรรม สันทนาการ และการพักหย่อนใจ”

นายนิคม เหาะสูงเนิน ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม เทศบาลนคร นครราชสีมา กล่าวว่า ไม่ว่าจะในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน การได้เล่นของเด็กถือเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าการเล่นเป็นการสร้างพัฒนาการที่ดีสำหรับเด็ก ดังนั้นในระบบการศึกษาการเล่นของเด็กถือว่าเป็นสิ่งแรกที่เป็นการเรียนรู้ของเด็ก เด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก การเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มจากการเล่น เราจะเห็นได้ว่าเด็กอนุบาลเมื่อไปโรงเรียนจะไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจากกิน นอน เล่น ในโรงเรียนอนุบาลมีแต่ของเล่น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากในโรงเรียน คือ เด็กได้เรียนรู้การช่วยตัวเอง และมีความมั่นใจในการใช้ชีวิต สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเมื่อกลับบ้านก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้จากการเล่นทั้งหมด ดังนั้นกิจกรรมเดิ่นยิ้ม Play Work เราจะนำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มาให้น้องๆ ได้เล่น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับบุตรหลานที่จะเป็นอนาคตของชาติ และเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้บุตรหลานของเรามีทักษะที่ดี มีความรู้ ความสามารถในการต่อยอดทางการศึกษา การประกอบอาชีพ เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมครอบครัว ดูแลพ่อแม่ผู้ปกครอง มันเป็นทักษะที่น่าภูมิใจ

a13

ขณะที่นางสาวประสพสุข โบราณมูล ผู้ประสานงานเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก หนึ่งในผู้เข้าร่วมเสวนาเรื่อง “เมาท์มอยเรื่องลูก คุยฟุ้งเรื่องเล่น” กล่าวว่า เรื่องเล่นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เราใช้พัฒนาเด็ก ตั้งแต่ปี 2541 – 2542 กับ มพด. เราเป็นกลุ่มแรกที่นำเรื่องเล่นมาทำ โดยเริ่มต้นที่เด็กกลุ่มที่อยู่ชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ นำแนวคิดเรื่องการเล่นไปทดลองกับเด็กในชุมชนข้างกำแพงหัวลำโพง สร้างพื้นที่มีมุมทราย มุมน้ำ มุมเสื้อผ้า คล้าย ๆ ที่ทางเดิ่นทำ เอาทุกอย่างที่เรามีทั้งวัสดุรีไซเคิล ขยะ ต่างๆ เอามาให้เด็กเล่น พบว่าเด็กมีพฤติกรรมออกไปทางก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง ควบคุมพฤติกรรมตัวเองไม่ได้ และเด็กไม่สามารถเล่นด้วยกันได้เลย แต่เมื่อเราทดทองทำต่อเนื่องจนครบ 1 ปี พบว่าจากเด็กที่เล่นด้วยกันไม่ได้ เด็กที่ไม่มีทักษะสังคมเลย เราเห็นว่าเด็กมีพฤติกรรมที่บวกมากขึ้นจากการเล่น เล่นด้วยกันได้ จากการทำงานเราพบว่าการเล่น สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านและสามารถบำบัดพฤติกรรมให้เด็กมีพฤติกรรมเชิงบวกมากขึ้นได้ สิ่งที่เราทำนั้นเรายังคงทำต่อเนื่อง เรามีเครือข่ายที่ทำงาน ช่วงนี้มีเรื่องเด็กติดโทรศัพท์เยอะ ลองให้คุณพ่อคุณแม่ลองทำดู ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บอกว่าจริง ๆ แล้วเด็กไม่ได้อยากเล่นโทรศัพท์ แต่เด็กต้องการให้เราเล่นกับเขา พาเล่นอะไรก็ได้ คุณพ่อคุณแม่ยืนยันมาเองว่าการที่เด็กติดโทรศัพท์ เกี่ยวกับตัวพ่อแม่เองนี่แหละ จึงคิดว่าการเล่นช่วยได้จริง ๆ เพราะไม่ใช่เพียงเด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่การเล่นช่วยเด็กทุกคนได้

a16

“การเล่นทำให้เด็กๆ ค้นพบ เข้าใจและเห็นศักยภาพตัวเอง ได้รู้ว่าตัวเองชอบอะไร และเด็กคนไหนที่สามารถเข้าใจตัวเองได้ เด็กคนนั้นจะไปได้ไกล และจะไปไกลยิ่งขึ้นถ้าพ่อแม่เข้าใจ แล้วใช้การเล่นในการสังเกตลูก ในการที่จะเข้าใจศักยภาพของลูกว่าอยู่ที่ไหน ชอบอะไร และเขาเก่งเรื่องไหน เพราะฉะนั้นคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ใหญ่ทุกคน รวมทั้งคุณครู สามารถส่งเสริมได้เลย ดังนั้นการเล่นจึงไม่ใช่แค่เรื่องเล่นๆ หรือเรื่องไร้สาระ แต่การเล่นเป็นพื้นฐานของมนุษย์ เด็กทุกคนต้องได้เล่น หากจะพูดเรื่องการเล่นสามารถหาข้อมูลได้เยอะมา แต่สำหรับเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เราพบว่าการเล่นเป็นธรรมชาติ และเป็นความต้องการ เพราะเมื่อเวลาเด็กเล่น เด็กจะมีความสุข แล้วนำไปสู่พัฒนาการ หรือการเรียนรู้ ที่อัศจรรย์มากๆ ในตัวเด็ก และเมื่อไหร่ก็ตามที่การเล่นอิสระมีความคาดหวังของผู้ใหญ่เข้าไป สิ่งนั้นจะไม่ใช่เล่นอิสระ แต่จะเป็นกิจกรรมทันที”

a14

นางสาวประสพสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่อยากจะเชิญชวน คือ อยากให้ผู้ใหญ่ทุกท่านให้โอกาส เวลา ให้เด็กได้เล่นอิสระ เพราะผู้ใหญ่เป็นคนส่งเสริมที่ดีมากที่จะหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบกายมาเป็นของเล่น เราจะเห็นเลยว่าลูกชอบและเก่งเรื่องอะไร อยากจะขอเวลาให้เล่นอิสระ อาจจะเป็นชั่วโมงหรือสองชั่วโมงแล้วแต่ แต่ถ้าคุณแม่ท่านไหนเห็นความสำคัญแล้ว ก็สามารถไปได้เรื่อย ๆ เลย แล้วก็ในส่วนของ ศพด. โรงเรียน หรือคุณครู ในตอนนี้เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลกมีการขับเคลื่อนเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการเล่นในโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้การเล่นเป็นส่วนนึ่งในการควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้อื่นๆ ให้เด็กๆ ได้ร่วมด้วย ขอเวลาให้เด็กๆ ได้โลดแล่นตามจินตนาการของตัวเอง ได้มีอิสระที่จะคิด ที่จะเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์กับโลกใบนี้ด้วยตัวเค้าเอง

a17

ด้านนางศันสนีย์ ฉายพิมาย หรือ แม่เอิน คุณแม่น้องไอคิว เล่าว่า ลาออกจากงานเพื่อจะมาเลี้ยงน้อง เป็นแม่ full Time ลูกคนแรกทุกอย่างเลี้ยงตามตำรา ตามคนที่มีประสบการณ์มาก่อน ทุกอย่างเป๊ะ ลูกต้องกินข้าวกี่โมง ทุกอย่างเป็นเวลาหมด จนลูกอายุได้ขวบกว่าๆ เราพบว่ามันไม่ใช่แล้ว จึงเริ่มปรับเปลี่ยนให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ชอบบางเวลา แต่เราจะสอดแทรกทักษะที่อยากให้เขามีตามใจเรา โดยที่ไม่ได้ตามใจลูก ทำให้ลูกต้องถามเราทุกครั้งเวลาอยากทำอะไรว่า “อันนี้ทำได้ไหมคะ” กลายเป็นเด็กไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ทุกอย่างต้องผ่านแม่ เราเลยต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง แล้วบอกลูกว่า “หนูอยากเล่นอะไรเล่นเลย เดี๋ยวมะม๊าเล่นเป็นเพื่อน” สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าลูกมีความคิด มีกรอบที่ใหญ่ขึ้น และมีจินตนาการที่มากขึ้น การเล่น ให้เล่นทุกอย่างตามที่ต้องการ ขวดน้ำก็เล่นได้ กระป๋องลูกเราก็เล่นได้ กล่องลูกเราก็ลงไปนั่งได้ เราเลยงดซื้อของเล่นแล้วเปลี่ยนเป็นหนังสือแทน ทุกครั้งที่ไปเดินห้างจะได้หนังสือกลับมา 1 เล่ม ซึ่งทำให้เราเห็นว่าหนังสือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้องมีจินตนาการมากขึ้น แม้น้องอ่านไม่ออก แต่เราอ่านให้ฟัง เราจะเห็นว่าน้องมีความสุขมากขึ้นทุกครั้งที่แม่อ่านให้ฟัง เราจะมีทำเสียงเล็กเสียงน้อย เป็นแม่มด เป็นอะไรตาม ทำให้น้องมีความสุขมาก เราก็เลยเห็นว่าอันนี้คือสิ่งที่ลูกเราชอบแล้ว พอมีลูกคนที่ 2 คือ น้องไอคิว อายุ 3 ขวบ เราเห็นว่าลูกคนเล็กจะมีพฤติกรรมเลียนแบบพี่สาว แต่จะมีความเป็นผู้ชายมากกว่า เรื่องการตีกันเป็นเรื่องปกติของพี่น้องทุกบ้าน เราจึงต้องสอนลูกผ่านกิจกรรม คือ อันนี้เล่นด้วยกันได้ไหม ถ้าได้ก็จะให้เล่นด้วยกัน ถ้าอันไหนไม่ได้ พี่สาวอยากเล่นคนเดียว วาดรูปคนเดียว เราก็จะหากระดาษอีกแผ่นมาให้น้องเล่น ดังนั้นความคาดหวังของเราก็คือความสุข ให้ลูกอยู่ได้ในสิ่งที่เขาเป็น แล้วก็ดำเนินชีวิตอยู่กับสังคมได้

a15

ส่วนนางภัทรภร ศรีทองกูล หรือ แม่นุ๊ย คุณแม่น้องเอ กล่าวว่า วิธีการเลี้ยงลูกของเรา คือ ปล่อยให้ลูกได้เล่น แบบอิสระ แต่จะสอดแทรกวินัยและความรับผิดชอบไปด้วย เช่น เล่นแล้วต้องเก็บเข้าที่ หรือมีระยะเวลาการเล่นที่ชัดเจน คือ ถึงเวลาไหน เรื่องของผลลัพธ์ที่เราเห็นนั้นชัดมาก คือ น้องเรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กหลายๆ คนในวัยเดียวกัน เรื่องของความจำเนื้อหา ลูกสามารถจำการ์ตูนวิทยาศาสตร์ได้ เราเองจำไม่ได้ ส่วนเรื่องของอารมณ์เห็นชัดว่า การที่เราให้ลูกเล่นอะไรก็ได้ กีฬาก็ได้ ลูกจะมีอารมณ์มาช่วยแม่ทำงานบ้าน โดยที่แม่ไม่ต้องบังคับ แต่ถ้าวันไหนที่เขาเล่นมือถือหรือดูจออารมณ์จะค่อนข้างฉุนเฉียว แต่เราก็เหมือนพยายามจะช่วยลดต


You must be logged in to post a comment Login