- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 8 hours ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 1 day ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 2 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 7 days ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
หนังสือสวดมนต์ โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่แถลงผ่านสื่อของรัฐหรือภาคเอกชน ว่าจะต้องใช้เงินหรือก่อให้ประโยชน์เป็นพันเป็นหมื่นล้าน เราได้ยินได้เห็นอยู่ทุกวัน ความสำเร็จของกิจกรรมเหล่านั้นจะต้องตามมาด้วยการบริหารจัดการที่ดี แต่กิจกรรมเกียวเนื่องกับพุทธศาสนาทำกันเป็นประจำ ไม่มีการรายงานผ่านสื่อแต่มูลค่าที่ช่วยสังคมและเศรษฐกิจแต่ละปี เชื่อว่าไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท(แต่กิจกรรมบูชาขายของอ้ายไข่ น่าจะมีผลร้ายมากกว่า) ทุกเช้าชาวพุทธใส่บาตร แน่นอนวัดในกรุงเทพฯมีของเหลือแต่ก็ได้จ่ายแจกให้คนขัดสนรอบวัด(หากจะมีวนขายก็เป็นเรื่องที่ทางการต้องไปดูแล อย่าโยนให้เป็นเรื่องของเจ้าอาวาส) การท่องเที่ยวก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าหากเป็นในประเทศไทย การไปไหว้พระ เข้าวัดจะเป็นรายการหลักหรือหนึ่งในรายการเที่ยว อีกกิจกรรมหนึ่งก็คือการทำหนังสือสวดมนต์โดยอาจมีเจ้าภาพหลายคนลงขันช่วยกันพิมพ์แจกเพราะถือเป็นการทำบุญ(น่าเสียดายทียุคนี้ทำหนังสืองานศพแจกมีน้อยมาก) ค่าใช้จ่ายในการทำหนังสือสวดมนต์ แต่ละปีน่าจะมหาศาลและปัจจุบันก็เป็นกิจกรรมทั้งเพื่อธรรม และธุรกิจบนโลกโซเชียลด้วย จึงสมควรมาทบทวนเนื้อหาในหนังสือสวดมนต์ที่พิมพ์แจกกัน อย่างไรก็ดีหนังสือจัดทำโดยผู้มีศรัทธาตามวัด และทุนรอนที่ต่างกันไม่มีข้อกำหนดตายตัวต้องพิมพ์บทใด หนาบางอย่างไรแต่ทั่วไป เนื้อหาหลักๆ น่าจะแบ่งได้ ๕ ประเภท คือ
อันดับแรกในฐานะชาวพุทธก็ต้องแสดงความเคารพ คือการไหว้พระรัตนไตร คือพระทุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และประกาศตนว่าเราขอนำพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง บทสวดก็เช่น อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา พุทธัง ภควันตัง อภิวาเทมี หรือ นโมตัสสะ-ภควะโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อันดับต่อมาก็จะเป็นบทสวดที่เกี่ยวกับ พิธีการ ๆเมื่อไปทำบุญไหว้พระ เช่น อาราธนาและสมาทานศีล คำถวายสังฆทาน ถวายผ้ากฐิน เป็นต้น
อันดับต่อมา ก็จะเป็นบทสวดมนต์ ว่าด้วยการขอ น่าจะเป็นส่วนหลักของหนังสือสวดมนต์ เพราะคนไปวัดโดยทั่วไป นอกจากมีศรัทธาและใจบุญแล้ว ก็อาจมีเรื่องไม่สบายใจ จึงมีบทสวดมนต์ที่คาดหวังว่าเมื่อสวดแล้วจะดีขึ้น รวยขึ้น ปราศจากอันตราย หายป่วยร่างกายแข็งแรง เป็นต้น วัดที่มีหลวงพ่อที่บวชมานานเป็นที่เคารพ ของผู้มาวัดก็อาจจะแต่งบทสวดมนต์หรือคาถาเพื่อให้ญาติโยมไปสวด ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย
บทสวดหรือคาถาในส่วนนี้ ที่นิยมกันมาก ก็เช่น โพชฌงคปริตร เป็นการสวดเพื่อรักษาโรคภัย เนื้อหากล่าวถึงความศักดิ์สิทธ์ว่า พระพุทธเจ้าสวดให้พระมหากัสสปะและพระโมคัลลานะซึ่งอาพาธแล้วก็หายจากอาพาธ แต่ถ้าไปดูเนื้อหาคำแปลบทสวดก็ไม่ใช่เรื่องงมงาย เพราะกล่าวว่าให้มีสติจดจำกิจที่ควรรักษา ปัญญาสังเกตุอาการ มีความเพียรทีจะรักษา วางใจเป็นกลางอย่าดีใจเสียใจ เมื่อครั้งเปิดตึกปัญจมราชินิ
เมื่อปี๒๔๕๙สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ ก็ได้โปรดให้บันทึกสารธรรมนี้ในแผ่นศิลาประดิษฐไว้เป็นธรรมทาน บทสวดจะเริ่มด้วยการกล่าวนะโม ตัสสะ…๓จบแล้วเริ่มด้วย โพชฌังโค สะติสังขาโต…
พระ คาถาชินบัญชร เชื่อว่าสวดแล้ว ศัตรูไม่กล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยต่างๆ คำว่าชินบัญชร หมายถึงเกราะป้องกันภัยของพระพทุธเจ้า สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่ง สมเด็จโตฯวัดระฆังโฆสิตารามนำมาแก้ไข ว่าด้วยเนื้อหา ตามคำแปลก็เป็นการอัญเชิญ พระพุทธ มาประทับบนศรีษะ พระธรรมที่ดวงตา พระสงฆ์ที่อก และพระพุทธเจ้าและสาวกที่ศักดิ์สิทธ์อีกหลายสิบองค์ประทับ โดยสรปหากสวดด้วยความเชื่อมั่นและปฏิบัตตามหลักในพุทธศาสนาก็จะเป็นผู้ชนะ นอกจากนี้ก็จะมีบทสวดหรือคาถาในลักษณะที่ผู้สวด ขอมากมากยเช่นก็ให้รวย โชคดี ฯลฯ แม้กระทั่งของให้คลอดลูกง่ายสำหรับสตรีมีครรภ์(อังคุลิมาลปริตร)
ส่วนที่สี่ของหนังสือสวดมนต์ เป็นสวดเพื่อให้ และเพื่อเตือนตนเอง บทสวดเพื่อให้ที่คุ้นเคยกันดี คือบทแผ่เมตตา ที่ขึ้นต้นด้วย สัพเพ สัตตา….. หรือจะแผ่กรุณา มุฑิตา อุเบกขา(สวดพรหมวิหาร)ไปด้วยก็ได้ บทเตือนตนเองก็เช่น อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ ที่ขี้นต้นว่า ชราธัมโมมหิ ชรังอะนะตีโต เรามีความแก่เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ พยาธิธัมโมมหิ พยาธิง อะนะตีโต เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ มรณาธัมโมมหิ มรณัง อะนะตีโต เรามีความตายเป็นธรรมดาล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ หรือบทสวดพิจารณาปัจจัยสี่ขณะบริโภคจะต้องพอเพียงตามความจำเป็นเช่นทานอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น เพื่อเมา เพื่อสดใส แต่เพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้
ข้อสังเกตุคือ บทสวดเพื่อขอควร อธิบายความหมายบ้างผู้สวดจะได้รู้ว่าต้องปฏิบัติดีตามด้วยจึงจะได้มา บทสวดเตือนตัวเองมีน้อยไป ซึ่งส่วนนี้เป็นการสอน ควรมีมากๆ อีกประการหนึ่งคำสอนดีๆ สั้นๆ ก็น่านำมาลง ถ้ามีภาษาอังกฤษกำกับด้วย ก็จะช่วยเผยแพร่ ให้ชาวต่างชาติที่สนใจ ที่น่าเป็นห่วงปัจจุบันมีบทสวด บูชา สวดขอ บรรดาเทพปูนปั้นซึ่งไม่ใช่ ศาสนาพุทธเข้ามามาก จนอาจทำให้บูชาเทพเหล่านั้นมากกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
หนังสือสวดมนต์จัดทำโดยศรัทธาและงบของผู้จัดทำ ไม่มีการกำหนด เนื้อหา มากน้อยตายตัว แต่เท่าที่เห็นหนังสือจากวัดบวรนิเวศ น่าจะเป็นแนวทางได้
You must be logged in to post a comment Login