- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
วันหลอดเลือดสมองโลก ภัยเงียบใกล้ตัว รักษาได้ถ้ารู้จักสัญญาณ F.A.S.T “พูดลำบาก ปากตก ยกไม่ขึ้น”
องค์กรโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization: WSO) ได้กำหนดให้ วันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Day) โดยรณรงค์ให้สังเกตอาการโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้หลักการ F.A.S.T หากพบว่าใบหน้าอ่อนแรงหรือหน้าเบี้ยว (FACE)แขนอ่อนแรง (ARM) พูดผิดปกติ (SPEECH) ให้นึกถึงเวลา (TIME) ควรนำส่งโรงพยาบาลโดยทันทีจะสามารถช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
โรคหลอดเลือดสมองแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการเกิดคือโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและโรคหลอดเลือดสมองแตก
จากการสำรวจประชากรขององค์กรโรคหลอดเลือดสมองโลกพบว่าในปี 2563 มีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองกว่า80 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคน และยังพบผู้ป่วยใหม่ถึง 14.5ล้านคนต่อปี โดย 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และร้อยละ 60 เสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรโลกพบว่า ทุกๆ 4 คน จะป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน โดยร้อยละ 80 ของประชากรโลกที่มีความเสี่ยงสามารถป้องกันได้สำหรับในประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของความพิการและเสียชีวิตอันดับ 1 ในผู้สูงอายุ
ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบันมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพขึ้น เช่นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน แพทย์จะทำหัตถการสอดใส่สายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดงผ่านบริเวณขาหนีบจนไปถึงตำแหน่งที่อุดตัน และนำเอาลิ่มเลือดที่ไปอุดตันตามหลอดเลือดออกมาพบว่าผู้ป่วยใช้เวลานอนโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วันก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติแต่อย่างไรก็ตามหัวใจสำคัญในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองคือ “เวลา” ดังนั้นหากผู้ป่วยหรือคนรอบตัวสามารถนำหลักการที่จะจำได้ง่ายๆ คืออาการที่พบบ่อย ได้แก่ “พูดลำบาก ปากตก ยกไม่ขึ้น”ไปสังเกตอาการของคนรอบตัว ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด ให้นึกถึงสโตรค หรือโรคหลอดเลือดสมอง การรีบไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วก็จะทำให้ การรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีประสิทธิภาพสูงสุด”
“พูดลำบาก ปากตก ยกไม่ขึ้น” ประกอบด้วย 3 อาการที่สำคัญ
• “พูดลำบาก” หมายถึงการพูดไปผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดไม่ออก หรือพูดไม่รู้เรื่อง
• “ปากตก” หมายถึงมุมปากข้างใดข้างหนึ่งตกลง เมื่อให้ยิ้มยิงฟันแล้วพบว่าปากเบี้ยว มุมปากสองข้างไม่เท่ากัน
• “ยกไม่ขึ้น” หมายถึงแขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง ยกไม่ขึ้น
อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน ดังนั้นหากผู้ป่วยหรือคนรอบข้างสามารถสังเกตุอาการเหล่านี้ได้เร็วเท่าไร จะสามารถช่วยลดการเสียชีวิตและความพิการได้”
“สำหรับแนวทางป้องกัน สามารถเริ่มทำได้เองที่บ้าน ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวานจัด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเหล้าบุหรี่ ลดน้ำหนักตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด” ศ.พญ. นิจศรี กล่าว ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
You must be logged in to post a comment Login