วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

Reboot Your Brain กู้สมอง ฟื้นฟูแบบองค์รวม

On December 17, 2020

Kr1

สมองเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในร่างกายมนุษย์ การสั่งการ ควบคุม ประสานงานการเคลื่อนไหว และการตอบสนองของร่างกาย โรคหรือความผิดปกติของสมองแต่ละบริเวณที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดอาการและอาการแสดงที่แตกต่างกัน การรักษาโรคทางสมองจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในความซับซ้อนทางกายวิภาคและหน้าที่ของระบบประสาท การตรวจร่างกายอย่างตรงจุดเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

1608208533141_resize_10

นพ. อภิชาติ พิศาลพงศ์ ผู้อำนวยการ แผนกอายุรกรรมระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า สมองและระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมกลไกต่างๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เพื่อการรักษาได้ทันท่วงที ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมให้การดูแลรักษา ทุกปัญหาที่เกี่ยวกับสมอง และระบบประสาท โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ทั้งทางด้านอายุรกรรมกับศัลยกรรมทางสมองเเละระบบประสาท รวมถึงแพทย์สหสาขาวิชา ทั้งแพทย์ด้านการดูแลผู้ป่วยขั้นวิฤต แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ ฯลฯ ที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท พร้อมด้วยเครื่องมือ เทคโนโลยีในการรักษา โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการรักษาที่ต้นเหตุและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ร่วมกับการฟื้นฟูสมองโดยคำนึงถึงผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ภายใต้ Concept : SMART คือ S : Specialist แพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขา M : Modern การออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล ที่ได้มาตรฐานและวิธีการที่ทันสมัย A : Advanced มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง R : Reputation เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงและเป็นไปตามมาตรฐานสากล T : Technology มีการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัยในการตรวจวินิจฉัยและรักษา ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ทันท่วงทีโดยผ่านศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยบีดีเอ็มเอส BDMS Medevac Center ซึ่งสามารถประเมินและจัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีการเชื่อมโยงรพ. ในเครือข่ายเพื่อให้การช่วยเหลือ รับปรึกษา ส่งต่อในกรณีที่ต้องการและติดตามการรักษาด้วย telemedicine (การรับปรึกษาทางระบบทางไกล) ทั้งนี้ กระบวนการในการรักษาผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาท ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการรักษาในระดับสากล JCI (Joint Commission International) จากประเทศสหรัฐอเมริกา

1608208519815_resize_89

นพ.ชาญพงค์ ตังคณะกุล อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นโรคร้ายในลำดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตประชากรไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน เป็นโรคที่คนทุกวัยควรระวัง ทั้งผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน หรือวัยรุ่น ก็อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยสาเหตุที่ต่างกัน โดยเฉพาะในช่วงอายุอายุ 18-50 ปีมีจำนวนเพิ่มขึ้น การสังเกตอาการ “BEFAST” ของตนเองหรือคนใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ “B” คือ Balance เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุน ฉับพลัน “E” คือ Eyes ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน “F” คือ Face Dropping ยิ้มแล้วมุมปากตก “A” คือ Arm Weakness ยกมือแล้วกำไม่ได้ หรือแขนขาไม่มีแรง S คือ Speech Difficulty พูดไม่ชัด พูดไม่ออก และ “T” คือ Time to call ควรรีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่และนำส่งโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ 4.5 ชม. ที่เป็น Magic Number คือ ถ้ามาถึงโรงพยาบาลภายในช่วงเวลา 4.5 ชม.นับตั้งแต่สังเกตเห็นอาการ แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือ rtPA ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งในคนไข้รายที่มีภาวะสมองขาดเลือดและไม่พบภาวะเลือดออกในสมอง จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ทัน แต่สำหรับรายที่หากมาช้าเกิน 4.5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ และวินิจฉัยว่าเซลล์สมองยังไม่ตายจากการอุดตันของลิ่มเลือดขนาดใหญ่ การให้ยา rtPA อาจไม่ทำให้อาการดีขึ้น ต้องอาศัยการรักษาโดยใส่สายสวนหลอดเลือดสมองเข้าช่วย โดยแพทย์จะพิจารณาว่าจะใช้วิธีการดูด หรือนำลวด หรือตะแกรงเข้าไปเกี่ยวลิ่มเลือดที่อุดตัน ฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ หากผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อวางแผนการรักษาให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วยมากที่สุด

1608208531255_resize_52

นพ.นันทศักดิ์ ทิศาวิภาต ผู้อำนวยการ แผนกศัลยกรรมระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การรักษาโรคหลอดเลือดสมองในภาวะเฉียบพลันทั้งชนิดขาดเลือดและแตกนั้น นอกจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic agents or rt-PA) การทำหัตถการใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง (endovascular thrombectomy) ยังมีการใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อสแกนเนื้อสมอง จะสามารถเห็นความเสียหายได้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ แพทย์จะใช้เครื่อง Bi-Plane DSA (ไบเพลน ดีเอสเอ) เครื่องตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด ช่วยในการดึงลิ่มเลือดอุดตัน แบบ Minimal Invasive โดยการใส่สายสวนเพื่อไปเปิดหลอดเลือดสมอง (ไม่เปิดกะโหลกศีรษะ) แต่จะมีแผลเล็กที่ขาหนีบตรงบริเวณที่ใส่สายสวนแทน หรือหากสมองมีอาการรุนแรงจนวิกฤต แพทย์จะเลือกวิธีการผ่าตัดสมองด้วยเทคนิคนำวิถี (Steriotactic Neurosurgery) แพทย์สามารถกำหนดจุดที่ต้องการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องก่อนจะลงมีด นำผู้ป่วยไปเข้าเครื่องสร้างภาพของสมอง แล้วจึงนำภาพนั้นไปวางแผน กำหนดพิกัดช่วยให้ศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดสมองสามารถเปิดแผลศีรษะเฉพาะจุดที่ต้องการเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยมีบาดแผลเล็กลงอย่างมาก บางครั้งอาจผ่าตัดผ่านรูขนาดเล็กเพียง 1 – 2 เซนติเมตร ส่งผลให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ หรือเสียชีวิตต่ำกว่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยแต่ละราย ทางศูนย์สมองและระบบประสาท มีเครือข่ายโรงพยาบาลทั้ง BDMS และพันธมิตรอื่นๆ ช่วยทำให้การส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ พร้อมทั้งอาศัยการทำงานร่วมกันของทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งนักกายภาพบำบัด เภสัชกรคลินิก นักกำหนดอาหาร ฯลฯ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด

1608208528056_resize_66

พญ. ดวงพร รุธิรโก อายุรแพทย์ ด้านผู้ป่วยวิกฤต รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ การที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีหลังการผ่าตัดหรือการเจ็บป่วยทางสมอง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือ ICU จึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 3-5 วันแรก เนื่องจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เลือดออกในสมอง เส้นเลือดสมองอุดตันซ้ำ สมองบวม ภาวะความดันในสมองสูง หรือการติดเชื้อ เป็นต้น การดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ รวมถึงการให้การรักษาอย่างทันท่วงทีจึงมีความสำคัญ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะระยะที่ 2 (secondary brain injury) เช่น ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะสมองขาดออกซิเจน ภาวะชัก ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ทำให้สมองสูญเสียหน้าที่มากขึ้น และเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการในผู้ป่วยวิกฤติทางสมองให้เหลือน้อยที่สุด

Yu1

โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ใช้ระบบ Smart ICU เป็นนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีทาง medical informatics โดยใช้คอมพิวเตอร์เก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิกต่างๆ ของผู้ป่วยแต่ละราย มีการประมวลผลอย่างแม่นยำและนำเสนอข้อมูลปริมาณมากแบบ real-time ในรูปแบบที่เอื้ออำนวยต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤติทางสมอง ซึ่งต้องการการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแบบทันท่วงที ทั้งสัญญาณชีพ ระดับออกซิเจนในเลือด ปริมาณสารน้ำเข้า-ออก ระดับความดันภายในสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าสมอง และข้อมูลที่จำเป็นต่อการรักษาทั้งหมดจะถูกบันทึกและสามารถทำมาเปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยได้ตลอดเวลาทั้งใน ICU และเพื่อรองรับระบบการปรึกษาทางไกล (telemedicine) หลักการของ real-time data collection integration of information และ action-reaction ยังช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถติดตามผลการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับตลอดเวลาและสามารถปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ตามหลักของ Precision and personalized medicine

Kou

นพ.เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยบีดีเอ็มเอส กล่าวว่า ภาวะฉุกเฉินทางสมองต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทันเวลา เป้าหมายสำคัญในการลำเลียงผู้ป่วยทางสมองโดยอากาศยาน คือ “ความปลอดภัยของผู้ป่วย และการปกป้องไม่ให้สมองเกิดความเสียหายมากขึ้น” เนื่องจากโอกาสรอดชีวิต และคุณภาพชีวิตผู้ป่วยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของสมอง การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศจึงต้องยึดถือกฏนิรภัยการบิน ควบคู่กับมาตรฐานการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยทางสมอง โดยมีมาตรฐานการดูแลขณะลำเลียงผู้ป่วยทางสมอง ดังนี้ 1.การดูแลทางเดินหายใจ และการหายใจ ผู้ป่วยต้องหายใจได้ดี ได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการของเซลล์สมอง และมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้สมองบวมเพิ่มมากขึ้น 2.การดูแลระบบการไหลเวียนโลหิต ภาวะฉุกเฉินทางสมองส่วนใหญ่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงโดยเฉพาะบริเวณที่เกิดปัญหา ต้องดูแลและตรวจติดตามเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองเพียงพอ 3.ตรวจการทำงานของสมอง และระบบประสาท ทีมแพทย์-พยาบาลต้องตรวจประเมินการทำงานของสมอง และระบบประสาทอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทราบในทันทีที่อาการเปลี่ยนแปลง 4. การปกป้องกันเซลล์สมองจากความเสียหายที่อาจเพิ่มขึ้น ทำได้โดยการป้องกันไม่ให้สมองทำงานหนัก และลดสิ่งกระตุ้น เพื่อลดความต้องการใช้ออกซิเจนจากการทำงานเพิ่มขึ้นของสมอง เช่น มีไข้ ชัก กระสับกระส่าย 5.การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับปัญหาทางสมอง ให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบาย ปรับตำแหน่งของศีรษะและลำคอให้เหมาะสม 6.การประสานงานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาทันเวลา ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสมองต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องโดยเร็ว เพื่อเริ่มการรักษาที่จำเป็นได้ก่อนที่เซลล์สมองจะเสียหายจนไม่สามารถฟื้นตัวได้

Kr5

ศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยบีดีเอ็มเอส(BDMS Medevac Center) มีทีมรับแจ้งเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการอากาศยานทางการแพทย์ฉุกเฉิน (SKY ICU) ให้บริการรับ-ส่งคนไข้ฉุกเฉินเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วนตั้งแต่แรกรับ ด้วยอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง ปฏิบัติงานบนเครื่องด้วยทีมแพทย์-พยาบาลที่มีความชำนาญและประสบการณ์ ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานนิรภัยการบิน ขององค์กรการบินระหว่างประเทศ รวมทั้ง ยังมีอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินจำเป็น เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพและกระตุ้นหัวใจ ที่พร้อมให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในยามฉุกเฉินได้ไม่ต่างกับห้อง ICU โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที รวดเร็ว และปลอดภัย

Yu7

Kr4


You must be logged in to post a comment Login