- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
นักวิชาการโภชนาการ ม.มหิดล แนะกินอยู่อย่างไร สู้ภัย COVID-19
รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อแนะนำหลักของการดูแลสุขภาพเมื่อเราต้องกักตัวเอง หรือจำกัดการออกนอกบ้าน (Social Distancing) เป็นเวลานานว่า “ในช่วงการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 หลายท่านต้องกักตัว เพิ่มการเว้นระยะห่างทางสังคม และลดการทำกิจกรรมนอกบ้านเป็นระยะเวลานาน เราจึงควรยึดหลักสุขอนามัย และหลักโภชนาการในการดูแลสุขภาพในช่วงนี้ เพื่อให้เรามีสุขภาพปลอดภัย ร่างกายแข็งแรง และจิตใจคลายกังวล”
“เริ่มจากการเลือกซื้ออาหาร 1. ควรเลือกซื้ออาหารให้หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ซึ่งมีหลายชนิดที่สามารถเก็บได้นาน 2.ตรวจสอบอายุของอาหารที่ซื้อเก็บ โดยเฉพาะอาหารที่มีการเน่าเสียได้ง่าย 3. หากซื้ออาหารปรุงเสร็จ ควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ถูกหลักสุขอนามัย ผู้ขายใส่หมวกคลุมผม สวมหน้ากากอนามัย และถุงมือขณะเตรียมอาหาร 4.เมื่อกลับถึงบ้าน ควรอุ่นอาหารที่ซื้อแบบปรุงเสร็จให้ร้อนอีกครั้งก่อนการรับประทาน และ 5. ไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างผัก และผลไม้ และเพื่อให้เรามีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ การเลือกรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการจึงมีความจำเป็นอย่างมากในช่วงของการจำกัดการออกนอกบ้านเป็นเวลานาน เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่ลดลงอาจทำให้ร่างการของเราเกิดการสะสมของไขมันได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควร กินอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ลดขนมขบเคี้ยว หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน หรือเค็มจัด เลือกทานผัก และผลไม้ให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 400-500 กรัม ดื่มน้ำสะอาดอย่าง
พอเพียง ที่สำคัญ ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง”
รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท กล่าวเสริมว่า “การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน นอกจากเราจะดูแลเรื่องของอาหารสำหรับร่างกายแล้ว การดูแลสุขภาพใจก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ควรหากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เพื่อให้จิตใจคลายความกังวล การเข้าครัวปรุงอาหารด้วยตนเองก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้จิตใจผ่อนคลาย รวมถึงเราอาจได้อาหารสูตรใหม่ สำหรับเป็นเมนูประจำบ้าน รวมถึงการปลูกพืชผักสวนครัวที่มีชนิดระยะเก็บเกี่ยวสั้น และใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกน้อย ทำให้เราได้ผักปลอดสารพิษ และช่วยประหยัดเงินในการซื้อวัตถุดิบสำหรับการปรุงอาหารภายในครัวเรือน”
“เราทุกคนต้องช่วยกัน เพื่อให้การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ได้รับการควบคุมอย่างรวดเร็ว ควรต้องปฏิบัติติตัวตามข้อแนะนำของการเว้นระยะห่าง และดูแลสุขภาพกายและใจของเราให้แข็งแรง พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่”
You must be logged in to post a comment Login