- เรื่องยังไม่จบPosted 24 hours ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
- บทเรียนพระสายมูPosted 2 weeks ago
ม.มหิดล ขึ้นแท่นอันดับ 1 ของประเทศไทย 3 ปีซ้อน
ม.มหิดล ได้อันดับที่ 1 ของประเทศไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ISC World University Rankings 2020 โดย Islamic World Scientific Citation Center สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ Islamic World Scientific Citation Center สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ISC World University Rankings 2020 โดย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน นับตั้งแต่มีการจัดอันดับตั้งแต่ปีค.ศ.2018 – ปัจจุบัน โดยเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำจากทั่วโลกที่มีความโดดเด่นในด้านงานวิจัยและนวัตกรรม
จากการจัดอันดับครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในอันดับที่ 401 – 450 จาก 2,000 อันดับของโลก ซึ่งมีมหาวิทยาลัยของประเทศไทยติดอันดับจำนวน 13 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยมหิดลมีคะแนนนำจากตัวชี้วัดด้านการวิจัย ร้อยละ 60 ด้านการศึกษา ร้อยละ 10 ด้านกิจกรรมนานาชาติ ร้อยละ 15 และด้านนวัตกรรม ร้อยละ 15 โดยใช้ข้อมูลในการประเมินจากฐานข้อมูล InCites ของ Clarivate Analytics และ Web of Science และฐานข้อมูลด้านนวัตกรรมจาก US Patent and Trademark Office
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตั้งเป้าหมายสู่ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยโลกภายในปีพ.ศ.2573 ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้จะต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมโดยอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ คนเก่ง ทุนดี และการบริหารจัดการที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในแต่ละกระดานมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เราต้องเข้าใจกติกา และพิจารณาถึงปัจจัยที่เรามีอยู่ก่อน จึงจะสามารถเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้
“การมุ่งแต่เร่งผลิต โดยไม่ได้ใส่ใจในเรื่องคุณภาพเท่าที่ควร คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้งานวิจัยด้อยลง ซึ่งผลกระทบจากการอ้างอิงงานวิจัย (Research Citation Effect) จะเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุด ทั้งหมดนี้เริ่มต้นได้จากการปลูกฝัง mindset ที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่นักวิจัย และส่งเสริมระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย (Mentoring System) ให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดย มหาวิทยาลัยมหิดล ยังคงยึดมั่นในการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ในฐานะที่เป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ กล่าวทิ้งท้าย
ข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
You must be logged in to post a comment Login