- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 19 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 7 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
รพ.ไทยนครินทร์ ลงทุนกว่า 300 ล้าน ผุดอาคารรังสีรักษา-เปิดศูนย์ใหม่ เพิ่มศักยภาพการรักษา ก้าวสู่การเป็น Hospital of Choice
บมจ.โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) มั่นใจตลาดสุขภาพไปต่อได้ ลงทุนกว่า 300 ล้านบาท สร้างอาคารรังสีรักษา พร้อมเปิดศูนย์ใหม่ เพิ่มศักยภาพการรักษา ดูแลสุขภาพรักษาโรคซับซ้อนแบบองค์รวม ภายใต้แนวคิด ‘Personalized Healthcare…เชื่อมั่นทุกการรักษา’ ยึดผู้รับบริการเป็นหัวใจสำคัญ ก้าวสู่การเป็น Hospital of Choice อันดับหนึ่งของพื้นที่กรุงเทพตะวันออกและภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย
นายฐิติ สิหนาทกถากุล ประธานบริหาร บริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากประสบการณ์กว่า 27 ปี ของโรงพยาบาลไทยนครินทร์ ที่มุ่งมั่นพัฒนาการรักษาและการบริการต่อเนื่อง เปิดให้บริการรักษาโรคทั่วไป และการแพทย์เฉพาะทาง โดยทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูง ทำให้ปัจจุบันโรงพยาบาลไทยนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพตะวันออก
ในปี 2564 โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ตั้งใจยกระดับคุณภาพการรักษาโรคซับซ้อน และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้แนวคิด Personalized Healthcare…เชื่อมั่นทุกการรักษา มุ่งหวังเป็นHospital of Choice โรงพยาบาลอันดับหนึ่งของคนกรุงเทพฝั่งตะวันออก และภูมิภาคตะวันออก โดยนำจุดเด่นด้านความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ เทคโนโลยีที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล บริการอบอุ่นและใส่ใจเหมือนคนในครอบครัว มาออกแบบการรักษาและบริการในลักษณะเจาะจงเป็นรายบุคคล เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดี สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้รับบริการ
โดยเฉพาะการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็ง จากที่ปัจจุบันเรามีศูนย์มะเร็ง (Cancer Center) อยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราจะทำคือการเพิ่มศูนย์รังสีรักษา หรือ Linac Center พร้อมจัดซื้อเครื่องฉายรังสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยโครงการนี้มีการดำเนินการตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และมีกำหนดการแล้วเสร็จภายใน ปี พ.ศ.2565 พร้อมเปิดศูนย์ให้บริการเพิ่มเติม ได้แก่
- ศูนย์ปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation Center)
- ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Electrophysiology Lab)
- ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม (Thainakarin Wellness Center)
เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลไทยนครินทร์ด้วยงบประมาณลงทุนราว 300 ล้านบาท
“ทั้งนี้ โรงพยาบาลเห็นว่า ธุรกิจยังมีโอกาสเติบโต โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพตะวันออกและภูมิภาคตะวันออก เนื่องจากประชากรในพื้นที่ยังมีความต้องการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งที่มีความพร้อม ทั้ง บุคลากรทางการแพทย์ และอุปกรณ์เทคโนโลยี โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีความมุ่งหวังว่าจะเป็นโรงพยาบาลอันดับหนึ่งของพื้นที่กรุงเทพภาคตะวันออกและภูมิภาคตะวันออก ให้บริการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เข้าถึงผู้คนในทุกระดับ มีโอกาสในการรักษาโรคยาก โดยไม่ต้องเดินทางเข้าในตัวเมือง หรือสถานที่ห่างไกล” นายฐิติกล่าว
นายแพทย์อาคม เชียรศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลไทยนครินทร์ กล่าวถึงการสร้างอาคารรังสีรักษา พร้อมเครื่องฉายรังสี ในครั้งนี้ “ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นโรคเฉพาะบุคคล เนื่องจากเป็นโรคที่มีความผิดปกติอยู่ที่ DNA ซึ่งแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน ขณะนี้วงการแพทย์เองก็สามารถที่จะถอดรหัสของ DNA มะเร็งที่พบในผู้ป่วย นำไปสู่การรักษาที่ค่อนข้างจะเป็นเฉพาะบุคคล
“การรักษาโรคมะเร็งที่ดีที่สุดในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบผสมผสาน ประกอบด้วย ศัลยกรรม ยา และการฉายรังสี ในส่วนของศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เรามีกระบวนการ และเครื่องมือ ที่จะนำไปสู่ตำแหน่งหรือพิกัดของโรคมะเร็งได้อย่างชัดเจน มีการนำภาพเอกซเรย์ CT มาช่วยในการกำหนดตำแหน่งของการฉายรังสี ทำให้รังสีสามารถที่จะทำลาย DNA ของเซลล์มะเร็งได้มากที่สุด และเกิดผลกระทบหรือผลข้างเคียงน้อยที่สุด โดยเครื่องฉายรังสี VitalBeam ที่จะนำรังสีไปสู่ตำแหน่งหรือพิกัดของโรคมะเร็งได้ชัดเจน ด้วยเทคนิคการรักษาตั้งแต่แบบธรรมดาไปจนถึงเทคนิคซับซ้อน ได้แก่
- เทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้มพร้อมหัวเครื่องหมุนรอบตัวผู้ป่วย (Volumetric Modulated Radiation Therapy, VMAT) ปรับอัตราปริมาณรังสีที่ออกมาต่อหน่วยเวลาและความเร็วของเครื่อง ลดระยะเวลาในการฉายรังสีลง ครอบคลุมเฉพาะก้อนมะเร็ง
- เทคนิคการรักษาแบบรังสีรักษาร่วมพิกัด (Stereotactic Body Radiation Therapy, SBRT) เป็นการฉายรังสีในปริมาณรังสีสูง โดยใช้ลำรังสีขนาดเล็กหลายทิศทางในการกำหนดพิกัดสามมิติ พุ่งตรงสู่รอยโรคที่กำหนด
- เทคนิคการรักษาแบบปรับความเข้มจากการเคลื่อนของวัสดุกำบังรังสีรูปซี่ (Intensity Modulated Radiation Therapy, IMRT) ลำรังสีสามารถไปยังก้อนมะเร็งได้อย่างแม่นยำ
เครื่องฉายรังสีของโรงพยาบาลไทยนครินทร์ ยังสามารถให้บริการการรักษาแบบสี่มิติที่ฉายรังสีตามจังหวะการหายใจของผู้ป่วย (4D-Radiotherapy) ทั้งหมดนี้ เพื่อการฉายรังสีรักษารอยโรคมะเร็งมีความถูกต้อง แม่นยำ ปลอดภัย และได้คุณภาพการรักษาที่ดีสำหรับผู้ป่วยทุกคน” นายแพทย์อาคมกล่าว
พญ.อรกมล อินกองงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม (THAINAKARIN WELLNESS CENTER) พร้อมผนึกกำลังเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มศักยภาพการรักษาดูแลสุขภาพ มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพตั้งแต่ก่อนการเกิดโรค โดยบริการตรวจสุขภาพเชิงลึกถึงสภาวะที่แท้จริงของร่างกาย
“ปัจจุบันการดูแลสุขภาพจะเน้นที่การตรวจสุขภาพ เพื่อพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รักษาและป้องกันโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นจุดแข็งของโรงพยาบาลไทยนครินทร์อยู่แล้ว และทางศูนย์ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม (THAINAKARIN WELLNESS CENTER) มีเป้าหมายที่จะมุ่งสู่อนาคตของการดูแลสุขภาพ คือ ‘Optimal Health’ ด้วยการดูแลสุขภาพให้อยู่ในภาวะที่สมบูรณ์สูงสุด โดยการตรวจวิเคราะห์สุขภาพในเชิงลึกให้เห็นถึงสภาวะการทำงานที่แท้จริงของร่างกาย เพื่อวางแผนในการดูแลสุขภาพอย่างจำเพาะเจาะจง เพิ่มความแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรค ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทำให้แก้ปัญหาสุขภาพได้ตรงความต้องการ และใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด ทั้งในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เดิม หรือคนที่ต้องการฟื้นฟูตนเองจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ ก็ตาม” แพทย์หญิงอรกมลกล่าว
นอกจากโรคมะเร็งแล้ว โรคไตก็เป็นอีกปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิต ผศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ กล่าวถึงความพร้อมในการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
“ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีประสบการณ์ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เริ่มตั้งแต่ ปี 2539 โดยทีมแพทย์ปลูกถ่ายไตหลากหลายแขนงที่มีประสบการณ์สูงจากสถาบันต่างๆ ของประเทศไทย เป็นโรงพยาบาลสมาชิกสามัญของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย จึงมีความพร้อมที่ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีความซับซ้อนเพื่อทำการปลูกถ่ายไตทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด และโรคที่เกี่ยวเนื่องภายหลังการปลูกถ่ายไต
“จากงานวิจัยทั่วโลกและประเทศไทยมีข้อมูลรายงานไปในทางเดียวกันว่า อัตราการอยู่รอดของชีวิตที่ 5 ปีภายหลังป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะมีอัตราการอยู่รอดประมาณร้อยละ 75 แต่สำหรับผู้ป่วยที่ใช้วิธีการบำบัดทดแทนไตจะมีอัตราการอยู่รอดประมาณร้อยละ 35 กล่าวง่ายๆ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและมีชีวิตยืนยาวกว่านั่นเอง”
You must be logged in to post a comment Login