- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 1 month ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 1 month ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 1 month ago
ผู้ป่วยโรคหัวใจ กับ สถาณการณ์ โควิด-19 ดูแลตัวเองอย่างไรดี

ผู้เขียน : นต.นพ.ชยุต ชีวะพฤกษ์
แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจ รพ. พญาไท นวมินทร์
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 14-21 พ.ค. 64)
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความรุนแรงมากขึ้น และแพร่กระจายออกเป็นวงกว้าง มากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยโรคหัวใจถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ที่หากติดโรคโควิด-19 จะเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรง กว่าบุคคลปกติทั่วไปและมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้สูง
สาเหตุมาจาก เชื้อโคโรนาไวรัส (SARS-CoV-2) จะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจที่เฉียบพลันรุนแรง โดยอาการเริ่มแรกมักมีไข้สูงถึง 37.5 องศาขึ้นไป พร้อมกับมีอาการร่วมคือ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ท้องเสีย และหายใจหอบเหนื่อย ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปอดอักเสบ โดยคนที่เป็นโรคหัวใจหรือหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอาจจะมีการบีบตัวที่ผิดปกติอยู่แล้ว ถ้าหากเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง อาจทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจแย่ลงอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ เกิดหัวใจล้มเหลวได้ และหากผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำจะเพิ่มความเสี่ยงถึงขั้นวิกฤตต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเสียชีวิตได้ถึง 3-7 เท่าเลยทีเดียว

ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรดูแลตัวเองอย่างไร ลดความเสี่ยงช่วง โควิด-19
1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการหมั่นตรวจดูตารางการรับวัคซีนให้ครบถ้วนตามกำหนด
2. คอยสังเกตอาการร่างกาย อาทิ การหายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรือการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือไม่
3. ปฏิบัติตามคำแนะนำทั่วไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์
เจลล้างมือ เลี่ยงการสัมผัสใบหน้า รวมไปถึงเลี่ยงการสัมผัสวัตถุสิ่งของที่เป็นจุดสัมผัสร่วม เช่น ปุ่มกดลิฟท์ มือจับ
ราวจับต่าง ๆ
4. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้ภาชนะและช้อนส้อมของตนเองไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. ควรสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งเมื่อต้องออกจากบ้าน และหากไม่จำเป็นในสถาณการณ์ช่วงนี้ควรอยู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยง
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหัวใจหากมีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ต้องสงสัยภายใน 14 วันแล้วมีอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อย ควรพบแพทย์เพื่อคัดกรองและหาสาเหตุแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือหากต้องการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผ่าน CLINIC CONNECT พบแพทย์ รับยา รักษาต่อเนื่อง โดยไม่ต้องออกจากบ้าน โทร. 091-7267704 หรือ 02-9447111ต่อ 4309 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00-17.00 น.
You must be logged in to post a comment Login