- ปีดับคนดังPosted 2 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
“เนื้องอกมดลูก” ภัยเงียบที่ผู้หญิงต้องกังวล
คอลัมน์ : เปิดโลกสุขภาพ
ผู้เขียน : นพ.วันชัย นาถตระกูลพิทักษ์
สูตินรีแพทย์ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 21-28 พ.ค. 64)
ขึ้นชื่อว่าเนื้องอก ไม่ว่าจะเป็นที่ส่วนใดของร่างกาย ก็จะต้องสร้างความหวาดกลัวให้กับคนที่มีเจ้าเนื้องอกนี้มาอยู่ในร่างกายทั้งนั้น โดยเฉพาะกับคุณสาว ๆ
ที่อาจจะเคยได้ยินคำว่า เนื้องอกมดลูกกันมาบ้างแล้ว ก็ย่อมต้องกังวลเป็นธรรมดา ความน่ากลัวของมันจะร้ายแรงอย่างที่เรากลัวไหมและโรคนี้จะส่งผลอะไรกับคนที่เป็นบ้าง เรามาไขข้อข้องใจ
เนื้องอกมดลูกเป็นเช่นไร
เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงพบได้ประมาณ25 % ของผู้หญิงโดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไปจนถึง 40 ปีซึ่งความน่ากลัวของมันก็คือ 50 % ของสาว ๆ ที่เป็นโรคนี้ไม่แสดงอาการสำหรับสาเหตุของการเกิดนั้นอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์รวมถึงฮอร์โมนพศหญิง หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) เป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์ของกล้ามเนื้อมดลูกกลายเป็นก้อนเมื่อฮอร์โมนมีระดับที่เพิ่มสูงขึ้นก้อนก็จะโตตามไปด้วย เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะไปกดเบียดอวัยวะรอบข้างทำให้เกิดอาการ เช่นทำให้เกิดอาการท้องอืดปัสสาวะบ่อย ปวดท่อไตทำให้ปวดหลังปวดเอว รวมทั้งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก รวมไปถึงภาวะที่เสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้อีกด้วย
รู้ได้เร็ว รับมือได้ไว ด้วยการตรวจคัดกรอง
อย่างที่หมอบอกคือ 50 % ของผู้หญิงไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาเนื้องอกมดลูกเพราะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาจนกว่าจะมีภาวะแทรกซ้อน หรือตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ขณะเดียวกันอีก 50 % ที่เหลือจะมีอาการผิดปกติเช่น มีบุตรยาก ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยแต่ก็ยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นเนื้องอกมดลูก ซึ่งเมื่อคนกลุ่มเหล่านี้มาหาหมอ หมอต้องอาศัยการซักประวัติอย่างละเอียดพร้อมกับตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ การตรวจภายในและการคลำหาก้อนซึ่งหากก้อนมีขนาดใหญ่มากแพทย์ก็จะคลำพบได้ง่าย วิธีต่อมาคือการตรวจอัลตร้าซาวด์ที่หน้าท้องและช่องคลอด ซึ่งวิธีนี้หากมีก้อนจะช่วยให้เห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ในบางรายหมอก็จะเลือกใช้การฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงมดลูกร่วมกับการทำอัลตร้าซาวด์ ซึ่งจะช่วยทำให้ก้อนขยายตัวและสามารถเห็นก้อนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการตรวจคัดกรองด้วยวิธีต่าง ๆ นั้นผู้หญิงควรจะทำเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงและรับมือป้องกันได้อย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีอาการและไม่เคยเข้ารับการตรวจเลย
ผ่าตัดผ่านกล้องอีกขั้นของวิทยาการการรักษา
วิธีรักษาเนื้องอกมดลูกจะแบ่งเป็นการให้ฮอร์โมนและการผ่าตัด โดยให้ฮอร์โมนชนิดฉีดเพื่อให้ก้อนเล็กลงสำหรับกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากและต้องการผ่าตัด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ก้อนมีขนาดเล็กลงจะได้ผ่าตัดได้ง่ายขึ้น ขณะที่บางครั้งก็จะให้ฮอร์โมนเพื่อลดปริมาณประจำเดือน ลดอาการปวดและอาการผิดปกติของประจำเดือน เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่ต้องเผชิญกับการปวดท้องและอาการไม่สบายตัวต่าง ๆ ระหว่างมีประจำเดือน
การผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาเนื้องอกมดลูกแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าแต่ละคนเหมาะกับการรักษาแบบใด เนื่องจากมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ทั้งการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งหากคนไข้มีเนื้องอกในปริมาณมาก หรือก้อนมีขนาดใหญ่ และคนไข้มีบุตรที่เพียงพอแล้วหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดมดลูกออกไปพร้อมกับก้อนเลย แต่หากก้อนมีขนาดเล็กและมีอายุไม่เกิน 18 สัปดาห์ หมอก็จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งจะช่วยทำให้คนไข้ไม่ต้องเจอกับแผลผ่าตัดขนาดใหญ่อีก ทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้คนไข้ไม่ต้องลางานเป็นเวลานานเหมือนการผ่าตัดเปิดหน้าท้องอีกด้วย
เนื้องอกมดลูกน่ากลัวเพียงใดหากไม่รักษา
แม้ว่าเนื้องอกมดลูกนั้นจะมีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็งเพียง 0.5 % – 1 % หรือจัดเป็น 1 ใน 1,000 ซึ่งเรียกว่าโอกาสต่ำมากที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็ง แต่ก็อยากกระตุ้นเตือนให้คุณผู้หญิงเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันโรคนี้ เพราะนอกจากจะสร้างความเจ็บป่วย สร้างความรำคาญในชีวิตประจำวันแล้ว มันยังอาจจะทำให้คุณต้องกลายเป็นผู้หญิงที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยากอีกด้วย และถ้าคุณตรวจว่าเจอเนื้องอกชนิดนี้และวางแผนจะมีบุตร คุณจะต้องรักษาเนื้องอกนี้ให้หายดีก่อน เพราะว่าหากมีก้อนเนื้องอกอยู่ในโพรงมดลูกก็จะขวางกั้นตัวอ่อน จนอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งและเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย
You must be logged in to post a comment Login