วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567

“เรียนรู้โรคระบาดจากอดีต” โดยเกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ

On June 18, 2021

เมื่อเกิด อหิวาตกโรค และโรคทางเดินอาหาร เราได้การดื่มน้ำร้อน ดื่มชา เกิดมาลาเรีย เราได้ นอนมุ้ง เกิดโควิทเราได้สวมหน้ากาก

โรคระบาดใหญ่ทีทำให้ผู้คนเสียชีวิต นับล้าน ที่จะยกมากล่าว ก็คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค  มาลเรีย และวัณโรค

อหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยมีแมลงวันเป็นพาหะ ระบาดใหญ่ครั้งแรก ในอินเดีย ปี ค.ศ. 1817 เกิดจากอินเดียและลามมาไทย ครั้งที่ระบาดในไทย ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า ช่วงเวลา มีคนตายจำนวนมาก เผาศพไม่ทันกองอยู่ตามวัดต่างๆ ถนนหนทางเกลื่อนไปด้วยซากศพ การระบาดยังมีเกิดขึ้นอีกในหลายรัชกาลต่อมา    คำแนะนำด้านสุขอนามัย สำหรับอหิวาตกโรค ก็คือทานอาหารทีปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำต้มสุก ไม่ทานอาหารที่ทิ้งไว้นานไม่มีที่ครอบแมลงวันตอม ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินหรือปรุงหรือขับถ่าย ไม่ทิ้งอุจาระลงลำคลอง ขับถ่ายลงส้วม

เมื่อกล่าวถึง การดื่มน้ำร้อนและดื่มชาเพื่อสุขภาพ คงต้องกล่าวถึง จักรพรรดิ เฉินนง (Shennong)  ปี 2737 ก่อนคริสตกาล พระองค์ชอบดื่ม น้ำร้อนเพื่อสุขภาพ วันหนึ่งขณะเดินทางมหาดเล็กกำลังต้มน้ำร้อน มีใบไม้แห้งตกลงมาเข้าหม้อต้ม  มหาดเล็กใสถ้วยถวาย พระองค์ดื่มและรู้สึกสดชื่น ชาถ้วยนั้นจึงน่าจะเป็นชาถ้วยแรกของโลก

กาฬโรค เป็นโรคระบาดที่ทำให้คนเสียชีวิต นับร้อยล้าน โดยมีหมัดของหนูเป็นพาหะโรคเชื่อว่าโรคระบาดสมัยพระเจ้าอู่ทองคือ กาฬโรค การบริหารจัดการโรคเน้น ความสะอาดในที่อยู่ กำจัดหนู

มาลาเรีย  เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียมโดยมียุงก้นปล่องตัวเมียเป็นพาหะปัจจุบัน ถือว่าไทยควบคุมได้ดีการป้องกัน คือนอนมุ้ง กำจัดยุง แหล่งน้ำที่มียุง หากเดินทางไปเที่ยวป่าให้เตรียมยาป้องกัน

วัณโรค เป็นโรคที่ถือว่าใกล้ชิดกับความยากจน สภาพความเป็นอยู่ผู้ป่วย อยู่กันหนาแน่น เช่น คุก อากาศถ่ายเทไม่ดี แพร่กระจายจากการไอ จาม และเสมหะของผู้ป่วย ในไทยการควบคุมทำได้ดี ผู้ป่วยหายได้ด้วยทายยาต่อเนื่องประมาณ 12 เดือน

มีข้อสังเกตว่า โรคระบาดเหล่านี้  รู้จัก พาหะชัดเจน เช่นแมลงวัน หนู ยุง การป้องกันโรค ด้วยการกำจัดพาหะของโรค ทำได้ชัดเจน  การกำจัดโรคที่ยกมาทำได้ด้วยการบริหารและวิธีการที่ชัดเจน หมอก็รักษาโรคไปแต่การควบคุมโรคอยู่ทีฝ่ายบริหารจัดการ เช่นส่งเสริมให้ผลิตอาหารและน้ำสะอาด  กินอาหารดื่มน้ำสะอาดการสร้างส้วม กำจัดยุงฉีดยากำจัดยุงเป็นระยะสม่ำเสมอ กำจัดหนู การระบาดของโรคมักเกิดกับชุมชนหรือประเทศยากจน ขณะที่โรคโควิท ยังไม่รู้ที่มาที่ไปแน่ชัด การให้คนสวมใส่หน้ากากแม้ในระยะแรก องค์การอนามัยโลกยังไม่ยืนยันว่าต้องใส่ สภาพปัจจุบันเริ่มชัดเจนว่าโควิทก็เหมือนโรคระบาดในอดีต คือระบาดง่ายแก้ไขยากในชุมชนและประเทศยากจน คำตอบที่ชัดเจนขณะนี้ในการป้องกันโรคโควิท คือ วัคซีน ซึงประเทศร่ำรวยมีเพียงพอ

โรคโควิท-19 ระบาด   โรคนี้เริ่มระบาดในปลายปี 2019 ที่เมืองหวู่ฮั่น ประเทศจีน(เมืองที่ซุนกวน สร้าง มีพื้นทีติดแม่น้ำแยงซีเกียง เชื่อว่าโจโฉ้แตกทัพเรือที่นี้) แต่เริ่มเป็นข่าวทั่วโลกในต้นปี 2020 สำหรับไทยในปีทีผ่านมาได้รับการชมเชยว่าจัดการ ควบคุมการระบาดได้ดี ซึ่งอาจทำให้ไทยเป็นเหยื่อของความสำเร็จที่ทำให้การควบคุมจัดการในปี 2021 หรือปีนี้ เต็มไปด้วยความสับสน เศรษฐกิจก็เลวลงยอดผู้ป่วยก็เพิ่มมาในระดับวันละสองสามพัน

ปรัชญาการคุมโควิท ด้วยการบังคับให้สวมหน้ากาก ให้ล้างมือด้วยเจล บ่อยๆ ทิ้งระยะห่าง ไม่ไปในที่เสี่ยง นั่นเหมาะสม แต่การปิดร้านอาหาร ร้านค้า นั่นไม่เหมาะสมไม่มีข้อมูลชัดเจนเพราะในห้างก็กำหนดให้นั่งห่างอยู่แล้ว เสมือนหนึ่งเป็นการแนะนำคนว่าอย่าไปที่เสี่ยงไม่พอ รัฐปิดร้านอาหารให้เพราะเป็นที่เสี่ยง แต่ความเดือดร้อนตกงานของเจ้าของและลูกน้อง รัฐไม่นึกถึง ไม่เป็นธรรม เพราะ รัฐยอมให้ไป ร้านเซเวน และศูนย์การค้าได้ ซึ่งน่าจะเป็นที่เสี่ยงมากกว่า  วิธีการนี้สร้างความยากจนซึ่งเป็นปัจจัยของโรคระบาด

การจัดการด้านวัคซึนก็สับสน เหมือนรัฐไม่ได้นีกถึงภาพใหญ่ คือโควิท จะคุมได้ด้วยวัคซีน และเมื่อคุมได้ การฟื้นทางเศรษฐกิจก็จะตามมา รัฐพี่งมาพูดว่ามีเป้าหมายฉีด 100 ล้านโดส ถ้าโดสละพันบาทก็แค่ หนึ่งแสนล้านบาท ลำพังความสูญเสียจากการท่องเที่ยวที่คนเกือบ 40ล้านคนในปี 2562 หายไปก็สูงกว่าเงินค่าวัคซีนมากมาย ส่งออกก็มีผลเมื่อโรงงานมีโควิท ผู้ซื้อต่างประเทศก็งดสั่ง ดูแค่เงินกู้เยี่ยวยาก็ 1.5 ล้านๆแล้ว สูงกว่าค่าวัคซีนมากมาย  วัตซีนมีไม่พอ นำเข้าราคาแพง ฉีดได้ไม่ตามกำหนด จึงสะท้อนความผิดพลาดในการบริหาร และความโปร่งใสในการจัดการของรัฐบาล การประกาศองค์กรของรัฐ๕-๖แห่งเท่านั้น ก็ไม่ถูกต้อง เป็นการห่วงอำนาจ ช่วงนี้ควรปล่อยให้เอกชนนำเข้าวัคซีนเข้าได้โดยสะดวก รัฐควบคุมเพียงประเภทชนิด

ไทยมีบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ และเราก็หวังว่า เศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้จะต้องไปทางนี้ แต่หากยังมีรัฐบาลที่บริหารงานสับสน ไม่โปร่งใส ก็คงหวังยาก


You must be logged in to post a comment Login