วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567

“ปิดแคมป์สกัดโควิท ประสบการณ์ สิงคโปร์” โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ

On July 2, 2021

คงต้องเริ่ม จากกราฟ เปรียบ เทียบ ไทย-สิงคโปร์ จากช่วงต้นเดือนมีนาคม 2563 ถึง30 มิถุนายน 2564 ในช่วงต้นเดือนมีนาคมปีก่อนทั้งสองประเทศมียอดผู้ติดเชื้อรายวันในระดับหลักสิบต้นๆ ไทยสูงกว่าเล็กน้อย แต่ในวันที่ 20 เมษายน 2563 ยอดผู้ติดเชื้อ สิงค์โปรสูงถึง 1426 คน ในวันเดียวกัน ทางไทยมียอดเพียง๒๗คน โดยสิงค์โปรพบว่าแหล่งโรคระบาดมาจากทีพักคนงานต่างด้าว(migrant worker)ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอเชียใต้

สิงค์โปรมีประชากร ราว 5.7 ล้านคน การก่อสร้าง ใช้แรงงานประมาณ 458000 คน เป็นแรงงานต่างด้าวประมาณ 320000คน

มาตรการที่สิงค์โปรใช้สรุปได้ดังนี้(เน้อหาช่วงนี้ ส่วนใหญ่จาก (  COVID-19 and Return-To-Work for the Construction Sector: Lessons From Singapore   โดย Wee Hoe Gan และ David Koh)

ภาครัฐบาล-ออกประกาศ กฎเกณฑ์ ปิด แคมป์คนงาน ชั่วคราว ตรวจสอบโควิท อย่างเป็นระบบกับคนงานทุกคน บริหารจัดการคนงานที่ป่วยตามระดับด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม ฉีดวัคซีนให้แรงงาน

ระดับทำงานที่สถานที่ทำงานหรือแคมป์- คัดแยกพนักงาน ที่เป็นและไม่เป็นออกจากกัน คัดแยกสถานที่ผู้ป่วยกับไม่ป่วย จัดระเบียบการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ จัดตั้งคณะทำงานในที่ทำงาน

ระดับ เจ้าของกิจการ หรือโครงการ ลดความแออัด ในที่พัก จัดหา จัดสร้างทีพักที่สะอาด สร้างที่พักใหม่เพิ่ม จัดระบบติดต่อสนับสนุนทางการแพทย์ผ่านการสื่อสารทางไกล จ่ายค่าจ้าง อาหาร ค่าทีพักให้แรงงานในขณะหยุดงาน

สร้างระบบป้องกัน ไม่ให้มีสาเหตุเกิดโควิท ด้วยการดูแลการอยู่อาศัยที่เป็นหมู่คณะ ติดตามสถานะสุขภาพแรงงาน บันทึกประวัติ ไข้ ที่อยู่ของแรงงานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมที่จะกลับไปทำงาน

มีการจัดตั้งทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ตามแคมป์ต่างๆ  นอกจากเครื่องมือตรวจสอบโควิทแล้ว ยังจัดหาเครื่องวัดอุณหภูมิ วัดอ็อกซิเจนให้ จัดทำคู่มือการทำงาน

ช่วงเวลาที่ใช้มาตรการนี้เข้มงวด คือ เมษายนถึง มิถุนายนปีก่อน ในเดือนมิถุนายน เริ่มเห็นผล เดือน พฤศจิกายน กว่าร้อยละ 98 ของแรงงาน ไม่มีเชื้อ  สำหรับแรงงานต่างด้าว ช่วงติดเชื้อมากๆ ก็กังวลว่า ชาวสิงคโปร จะรังเกียจ เพราะทำให้เตียง โรงพยาบาลเต็ม บ้างก็บ่นว่าไปไหนไม่ได้เลย ต้องไปตามที่อนุญาตและต้องรายงานตัว

อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้ป่วยโควิท ในสิงค์โปร ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน นอกจากความสำเร็จในการบริหารกลุ่มแรงงานแล้ว การฉีดวัคซีนก็ชัดเจน  สิงค์โปรเขณะนี้ฉีดวัคซีนทั่วประเทศไปแล้วประมาณร้อยละ 36.7 ของประชากร ขณะที่ไทยฉีดไปเพียงร้อยละ 4.2 ของประชากร

กรณีประเทศไทย ในวันที่ 27มิถุนายน 2564 ได้มีประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเพื่อควบคุมการระบาดของโควิท 10 ข้อ ใจความสำคัญเกี่ยวกับการปิดสถานที่พักและสถานที่ก่อสร้างปรากฏในข้อ 2 ดังนี้

การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดปริมณฑล พิจารณามีคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร หรือพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง หรือสถานที่ก่อสร้าง ทุกประเภท

และให้มีคำสั่งปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งภายในและภายนอกสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร รวมทั้งมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้าง และห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 30 วัน

ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เข้าดำเนินการตรวจตราและกำหนดเงื่อนไขจำกัดการเดินทางเข้าออกสถานที่พัก และตั้งจุดตรวจและสกัดการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ พร้อมสั่งปรับปรุงสุขาภิบาลของสถานที่พัก และตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นการตามมาตรการควบคุมโรค

เนื้อหาในประกาศฉบับนี้ เน้นการห้ามการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเชื่อว่าจะยับยั้งการแพร่ระบาด แต่ไม่มีรายละเอียดว่าจะดูแล ตรวจรักษา คัดกรอง แยกผู้ป่วย ติดตามผลแรงงานที่ป่วยอย่างไร การหยุดและปิดสถานที่ก่อสร้างโดยไม่ปรับปรุงที่พัก(ในประกาศ ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงก็คือทหารเป็นคน พร้อมสั่งปรับปรุงสุขาภิบาลของสถานที่พัก) รักษาผู้ป่วย ฯลฯ ก็จะสูญเสียทางเศรษฐกิจและเวลาเปล่า แต่หากจะแก้ไขอย่างจริงจัง 1 เดือนก็คงไม่พอ


You must be logged in to post a comment Login