- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 20 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
“ Sinovac, AstraZeneca, ChulaCov19 “ โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ
สองชื่อแรกคงรู้แล้วว่าเป็นวัคซีนสำหรับโรคโควิด คือ ชิโนแวค (Sinovac) และ แอสตร้าเซนเนก้า(AstraZeneca) ส่วนชื่อสุดท้าย ChulaCov19 ก็เป็นวัคซีนสำหรับโควิดเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ชื่อไทยใช้ จุฬาคอฟ 19 ทั้งชิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า ต่างเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในการบริหารจัดการโรคระบาดโควิดของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์
กรณีชิโนแวค (เทคโนโลยีประเภทเชื้อตาย) ผลิตโดยบริษัทเอกชนในจีนโดยมีกลุ่มซีพีร่วมลงทุน. สะท้อนความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ ทำไมซื้อทั้งที่คุณภาพต่ำ ใช้ไม่ได้ผล มีปรากฏข้อมูลข่าวสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ คนที่ได้รับการฉีดภูมิคุ้มกันต่ำ และยังติดโควิด และมีคำถามตามมาว่า ยี่ห้ออื่นที่มีคุณภาพดี ราคาต่ำกว่าทำไม ไม่ซื้อ เมื่อเทียบกับแอสตร้าเซนเนก้า ที่ผลิตในไทยก็แพงกว่าหลายเท่า
กรณี แอสตร้าเซนเนก้า ก็สะท้อนความประมาทและเชื่องช้าผิดพลาดในการบริหารของรัฐ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ในไทยผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ (ซึ่งรัฐบาลนำเงินไปร่วมลงทุน )ในฐานะผู้รับจ้างการผลิต จากบริษัทแอสตร้าเชนเนก้าของอังกฤษโดยรับเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิทชนิดไวรัลเวคเตอร์ จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด มีกำลังผลิตเดือนละ 15 ล้านโดส จากจดหมายติดต่อระหว่างบริษัทแอสตร้าและรัฐบาลไทย เปิดเผยโดยสำนักข่าวอิสราเมื่อเริ่มแรก บริษัทแนะให้ไทยสั่งเดือนละ 5 ล้านโดส ที่เหลือจะส่งออก แต่ทางเราขอเพียง เดือนละ 3 ล้านโดส ทางเขาแนะให้เราเข้าโครงการ Covax เราก็ไม่สนใจ ในการจองซื้อเราก็ช้ากว่าเพื่อนบ้านหลายประเทศ ครั้นสถานการณ์ โควิดรุนแรง เราก็จะให้เขาส่งเดือนละ 10 ล้าน ตามมาด้วยแนวคิดว่าจะห้ามแอสตร้าส่งออก ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ได้พิจารณาว่า รัฐบาลไทยต่างหากที่ผิดพลาดประมาท ไม่ได้มองว่าเราต้องค้าขายโดยเฉพาะกับเพื่อนบ้านซึ่งนอกจากจะเสียความสัมพันธ์แล้ว ต่อไปเขาคงไม่ซื้อจากเราต่อไปใครจะเข้ามาร่วมลงทุนหรือใช้เราเป็นฐานการผลิต ยิ่งกว่านั้น ยังไม่คำนึงว่าเรายังมีอีกหลายโครงการที่จะผลิตวัคซีนในไทยและส่งออกด้วย
วัคซีนจุฬาคอฟ 19 ใครที่รู้สึกภูมิใจเมื่อดูตารางคะแนนผู้เล่นกอล์ฟพร้อมสัญลักษณ์ธงชาติไทยอยู่บนตาราง รายชื่อโครงการผลิต ยา วัคซีน ที่เสนอ องค์การอนามัยโลก ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน อาจไม่ได้อยู่หน้าแรกของตาราง แต่มีจำนวนโครงการไม่น้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศซีกโลกตะวันตก ทางเอเชียก็มี จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย ในกรณีไทยนอกจาก จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่ยื่นเรื่องศึกษาและผลิตวัคซีน แล้วก็ยังมี มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับองค์การเภสัช และ โครงการของบริษัท Baiya Phytopharm ซี่งจะผลิตวัคซีนจากพืช
โครงการวัคซีน จุฬาคอฟ 19 ดำเนินการศึกษาค้นคว้าทดลองและตั้งเป้าการผลิต โดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม เป็นผู้ก่อตั้งประมาณ15 ปีผ่านมาและเป็นผู้อำนวยการบริหารในปัจจุบัน ผลงานที่ผ่านของสถาบันแห่งนี้มีทั้งค้นคว้าวัคซีนเอดส์ วัคซีนโรคไข้เลือดออก ฯลฯ และกำลังศึกษาวัคซีนโรคภูมิแพ้อันเนื่องมาจากเชื้อโรคในฝุ่นด้วย
วัคซีนจุฬาคอฟ19 จะใช้เทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับไฟเซอร์และโมเดอร์น่าซึ่งป้องกันผู้ติดเชื้อได้สูงถึง 90% เก็บรักษาห้องเย็นอุณภูมิไม่ต่ำมากได้หลายเดือน เก็บในห้องอุณภูมิไม่เกิน ๒๕องศาก็ได้เป็นอาทิตย์ การเพิ่มปริมาณการผลิตก็ทำได้ไม่ยาก ในสภาวะปรกติขั้นตอนการศึกษา จนถึงได้รับอนุมัติให้ใช้ของ องค์การอนามัยโลกมีถึง 5 เฟสหรือขั้นตอน อย่างไรก็ดีเมื่อดูประวัติการกระจายวัคซีนและใช้ที่ผ่านมา ทั้งโมเดอร์น่า ไฟเซอร์ อยู่เฟส 2-3 ก็ได้รับการอนุมัติให้ใช้แบบฉุกเฉินกันแล้ว หรือซิโนแวคเอง จีนส่งขายและใช้กันทั่ว ส่งเรื่องขออนุมัติจากองค์การอนามัยโลกทีหลัง
วัคซีนจุฬาคอฟ19ได้ทดลองกับสัตว์ และอาสาสมัครจำนวน ร้อยกว่าคนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือทดลองหรือฉีดให้กับคนจำนวน 5-6 พัน คน หากผ่านการทดลองนี้และได้ผลดี ก็เป็นไปได้ว่าจะทำการผลิตเพื่อใช้ แต่จากการสัมภาษณ์ ศ.น.พ.เกียรติ์ คาดว่าจะประมาณเดือนมีนาคม 2565 โดยโรงงานผลิตก็มีอยู่แล้วตั้งอยู่ที่ อยุธยาของบริษัท
Bio Net -Asia กำลังผลิต ปีละ 50-80 ล้านโดส เพื่อใช้เองและส่งออกเพื่อนบ้าน (จุฬาคอฟ19 จะต่างกับแอสตร้าไทยหรือ สยามไบโอไซ ซึ่งเป็นเพียงผู้รับจ้างการผลิต) คำถามคือโครงการนี้มีอุปสรรคอะไร เพราะขีดความสามารถระดับนี้ น่าจะผลิตได้ในปีนี้จะได้ไม่ต้องนำเข้าวัคซีนด้อยคุณภาพ คำตอบคงได้จากคำสัมภาษณ์ ของ ศ.น.พ.เกียรติ ต่อวารสาร Nature เมื่อวันที 26 พฤษภาคม 2564
What have been the biggest challenges?
Funding has been a major obstacle. As we are an academic centre, the majority of support is from the government. We had interesting preclinical results as early as May 2020, but it took almost six months to get the funds to start human trials. It also took time to transfer the know-how for producing mRNA vaccines to a manufacturer in Thailand.
สรุปคือได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลล่าช้า เศร้าไหมครับ หากรัฐให้เงินสนับสนุนเร็ว การทดลองกับคนก็อาจเกิดขี้นกลางปีที่แล้วไม่ใช่มิถุนายนปีนี้ และเราอาจมีวัคซีนผลิตใช้เองและเป็นวัคซีนดีด้วยเมื่อต้นปีนี้ คนไทยไม่ติดโควิดระดับหมื่นเศษ และตายร้อยกว่าต่อวัน เศรษฐกิจไม่ต้องพินาศขนาดนี้ บางคนอาจแย้งว่าไม่จริงหรอกหากนำเข้าวัคซีนเสรี ก็แก้ได้ เออ จริง เอาเป็นว่ามันโง่ไม่โปร่งใสหลายเรื่อง เศร้ากว่านั้นคือสำนึกชาตินิยมของรัฐบาลและพวกที่เชียร์หายไปไหน เพราะความสำเร็จผลิตวัคซีนเพื่อชาวโลกน่าดีใจกว่าชนะกอล์ฟมากมายนัก
You must be logged in to post a comment Login