วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

“จีนให้กู้ทั่วโลก” โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ

On October 15, 2021

เป็นเรื่องน่าทึ่งมาก จากประเทศยากจน ล้าหลังเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา จีนสามารถพัฒนาจนร่ำรวยมีเงินให้ประเทศต่างๆกู้ยืม มหาวิทยาลัยบอสตัน(BU-Global Development Policy Center)ได้ทำการศึกษาและรวบรวมโครงการต่างๆที่จีนให้ต่างประเทศกู้ ระหว่างปี  2008-2019  กว่า 800 โครงการมูลค่านับ ล้านล้านล้าน บาท(half a trillion dollars) ส่วนใหญ่ ในอาฟริกา และอเมริกาใต้ แต่ประเทศขนาดใหญ่ เช่น อาเจนตินา บราซิล รัสเซีย ก็เป็นลูกหนี้จีน แถบอุษาคเนย์มีหมดเว้นไทย สิงค์โปร ข้อมูลจากรายงานนี้ เราสามารถต่อยอด ดูว่าประเทศเพื่อนบ้านที่กู้ กำลังทำโครงการอะไรรวมถึงข้อมูลการกู้ยืม หากจำเป็นต้องนำมาใช้ในการทำโครงการของไทย 

เงินกู้ที่จีนให้กับเพื่อนบ้านพอสรุปได้ดังนี้

เขมร ประมาณ   26 โครงการ มูลค่า 4.6 พันล้านดอลล่า เพื่อการคมนาคม การพลังงาน มีสร้างสนามบินแห่งใหม่ทีเสียมเรียบเป็นต้น วงเงิน 800 ล้านดอลล่าหรือ กว่า 24000ล้านบาท ในกรณ๊เขมรโครงการหนึ่งที่จีนให้กู้ก็คือการสร้างถนนขึ้นมาชมเขาพระวิหาร นักท่องเที่ยวทั่วโลกก็เข้าชมทางเขมรได้ และปิดด่านไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าทางไทย

อินโดนิเชีย  23โครงการมูลค่า 8.3 พันล้านดอลล่า โครงการหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากจาร์การต้าไปบันดุง ระยะทาง  142 กิโลเมตร เมื่อเริ่มเปิดประมูล จีนและญี่ปุ่นแข่งกันอย่างหนักท้ายสุดจีนได้ไป ด้วยข้อเสนอดอกเบี้ยต่ำ รัฐไม่ต้องค้ำประกัน และจีนร่วมลงทุน คาดว่าจะเปิดใช้ปี   2565หลังรถไฟความเร็วสูงลาว

ลาว    4.2 พันล้านดอลล่า 16 โครงการ ที่น่าสนใจคือ โครงการรถไฟ จีน -ลาว  496 กม วงเงิน 465ล้านดอลล่าราว 15000 ล้านบาทเป็นเส้นทางจากเวียงจันทร์ไปสิบสองปันนา โดยจีนสร้างต่อจนถึงยูนาน ทางลาวประกาศจะเปิดใช้ในเดือนธันวาคมปีนี้ ซึ่งจะทำให้ลาว เป็นประเทศแรกในอุษาคเนย์ที่มีรถไฟความเร็วสูง  อีกโครงการที่ควรกล่าวถึงคือ อวกาศลาวLao  Spaceflight  Lao Sat 1 ดาวเทียมลาว 1 วงเงิน 258 ล้านดอลล่า ราว 8 พันล้านบาท    ในกรณีที่ไทยคิดจะเป็นศูนย์เชื่อมต่อรถไฟเพื่อนบ้านไปลาว ไปเขมร ลงไปถึงสิงค์โปร์นั้น ต้องเข้าใจว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงมาเลเซียสิงค์โปรยกเลิกแล้ว มาเลเซียขอยกเลิกยอมเสียค่าปรับให้สิงค์โปรสองพันกว่าล้านบาท

มาเลเซีย  1 โครงการรถไฟ เชื่อมฝั่งตะวันออกตะวันตกของมาเลเซีย เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของ

จีน วงเงิน 2 พันล้านดอลล่า กว่า 7 หมื่นล้านบาท มหาเธ่ย์ล้มโครงการเพราะแพงไป ตอนนี้คุยกันใหม่ มาเลเซียได้เงื่อนไขดีกว่าเดิม สำหรับคนในไทย ที่หนุนขุดคลองขอดเกาะเพื่อไม่ให้เรือสินค้าอ้อมไปแหลมสิงค์โปร์ และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนก็ต้องเข้าใจว่ามีโครงการนี้ที่มาเลเซียอยู่แล้ว

พม่า 5 โครงการ วงเงิน 3.1พันล้านดอลล่า ให้กู้เพื่อ ปรับปรุงจัดการซื้อเครื่องมือเพาะปลูกก็มี

ฟิลิปปีนส์ 7 โครงการ มูลค่า9 พันล้านดอลล่า กว่าสองแสนเจ็ดหมื่นล้านบาท โครงการเกี่ยวกับรถไฟก็มี ที่เกาะลูซอน และจากอ่าวซุบิคมาฐานทัพคาร์ก

เวียดนาม 12 โครงการ วงเงิน 7.7พันล้านดอลล่า ราวสองแสนสี่หมื่นล้านบาท เพื่อการพลังงานทั้งหมด

ในกรณีของไทย หากศาล ไม่ตัดสินให้ไปถมลูกรังก่อน เราก็น่าจะเป็นประเทศแรกในแถบนี้ที่มีรถไฟความเร็วสูง ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ร่วมกับจีนอยู่นั่น เริ่มแรกก็เหมือนโครงการของอินโดนิเซีย คือ จีนแข่งกับญี่ปุ่น ท้ายสุดจีนได้ไป โอกาสที่จะกู้ยืมจีนก็มีอยู่ เพราะจีนเสนอให้ตั้งบริษัทร่วมทุน และให้เงินกู้ แต่สถาบันการเงินในประเทศแย้งว่าสภาพคล่องในประเทศก็เยอะ กู้กันเองดีกว่า ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นทุนสำรองเราก็เยอะ ดอกเบี้ยก็ถูก ท้ายสุดรัฐบาลตัดสินใจทำเองไม่ตั้งบริษัทร่วมทุน

เมื่อเร็วนี้ นิตยสาร Nikkei Asia  ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการปล่อยกู้ภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่ง.เส้นทางของจีน(  s385bn of China s Belt and Road Lending) และสถานะทางการเงินการคลังของประเทศลูกหนี้ โดยแสดงให้เห็นว่ายอดหนี้ทั้งรัฐและเอกชน เมื่อเทียบกับ จีดีพี สูงมากน่าเป็นห่วงเช่น ลาวประมาณ ร้อยละ 65 มาลดีฟ ร้อยละ40 เป็นต้น(รวมถึงอัตราดอกเบี้ยก็สูง)


You must be logged in to post a comment Login