- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
กระดูก ‘หาย’ จาก ‘ลองโควิด’ ผลร้ายหลังหายป่วย และวิธีป้องกันที่ต้องรู้
ทุกๆ วันเรามักได้เห็นอินโฟกราฟิกแสดงตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้หายป่วย จากอาการของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 (COVID-19)
ซึ่งหลายคนเข้าใจดีว่า ความกังวลของโรคนี้คือการมีตัวเลขสีแดง หรือจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นแต่ละวัน แต่ในขณะเดียวกัน ยิ่งจำนวนตัวเลขสีเขียว หรือผู้หายป่วยมีมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงประเทศไทยก็กำลังถอยห่างจากวิกฤตมากขึ้นเท่านั้น
จริงอยู่ว่าการหายจากอาการโควิด-19 เป็นเรื่องน่ายินดี ทว่าในมุมกลับกัน ตัวเลขสีเขียวที่เพิ่มมากขึ้น หมายความว่า เรากำลังเผชิญความเสี่ยงของผู้ได้รับผลกระทบจาก Long-term effects of coronavirus หรือ “ลองโควิด” (Long COVID) ภาวะแทรกซ้อนของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบได้หลายระดับ ระยะเวลาไม่แน่นอน และซ้ำร้ายกว่านั้น ลองโควิดอาจส่งผลกระทบต่อการสร้างมวลกระดูก ซึ่งเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเด็กในระยะยาว
นักวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ “มหาวิทยาลัยอินเดียน่า” ค้นพบว่า SARS-CoV-2 หรือโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจทำให้ผู้ติดเชื้อสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว แม้การติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรงก็ตาม และมวลกระดูกที่ลดลงมักเกิดพร้อมกับโรคกระดูกพรุน ที่ทำให้กระดูกเปราะและแตกหักได้ง่าย ซึ่งผลเสียจะตกอยู่กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย และแนวโน้มจะเกิดการแทรกซ้อนจากโรคกระดูกพรุน อีกกลุ่มคือเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเกิดผลกระทบต่อการสร้างมวลกระดูก จากปกติที่มวลกระดูกไม่ถึงหยุดเติบโตจนกว่าจะถึงจุดสูงสุดที่อายุประมาณ 25 ปี
คำถามที่ตามมาคือ “เราจะสามารถรับมือกับผลกระทบนี้อย่างไรได้บ้าง”?
งานวิจัยที่ใกล้เคียงกับเรื่องการสูญเสียมวลกระดูกในเด็กที่สุด คืองานวิจัยของ Oxford Academic ในหัวข้อ “ผลกระทบของวิตามินดีและแคลเซียมต่อการสร้างความหนาแน่นในมวลกระดูกและการเผาผลาญของกระดูก ในวัยรุ่นไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) ในระยะปริกำเนิด” โดยการให้ Oskept ซึ่งเป็นแคลเซียม + วิตามิน ดี3 ของจรูญเภสัช กับกลุ่มตัวอย่างอายุ 14-18 ปี เป็นเวลา 48 สัปดาห์ พบว่า มวลกระดูกสันหลังส่วนเอวเพิ่มขึ้น และการเผาผลาญของกระดูกลดลงอย่างมาก
งานวิจัยของ Oxford Academic ยังเชื่อมโยงถึงอีกชิ้นงานวิจัยของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในการศึกษา “ผลของวิตามินดีและแคลเซียมต่อการสร้างความหนาแน่นในมวลกระดูก ในเยาวชนไทยที่ใช้ยาต้านไวรัสป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (Pre-Exposure Prophylaxis, PrEP)” โดยใช้ Oskept ของจรูญเภสัช กับกลุ่มตัวอย่างอายุ 17-20 ปี เป็นเวลา 48 สัปดาห์ พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของมวลกระดูกสันหลังส่วนเอวเกินกว่าหกเดือน ในหมู่เยาวชนที่ใช้ยา PrEP ที่ได้รับวิตามินดี/แคลเซียมเสริม มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริม
จึงบอกได้ว่าการเสริมแคลเซียมและวิตามินดี เป็นการเสริมสุขภาพกระดูกสำหรับกลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก จากผลกระทบของเชื้อเอชไอวี แน่นอนว่ารวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะ “ลองโควิด” ด้วยเช่นกัน
อีกสิ่งที่เราสังเกตได้จากงานวิจัย คือทั้ง 2 สถาบันต่างใช้ แคลเซียมและวิตามิน ดี 3 ของจรูญเภสัช เป็นตัวยาที่ใช้ในการวิจัยด้วยกันทั้งคู่
บริษัท จรูญเภสัช จำกัด เป็นผู้นำในด้านแคลเซียมและวิตามิน ดี3ไม่ว่าจะ “CHALKCAP” แคลเซียมเจ้าแรกในประเทศไทยและเป็นแคลเซียมที่คุณหมอจ่ายจริงในโรงพยาบาล ที่ช่วยสร้างกระดูกและลดการสูญเสียมวลกระดูก หรือจะเป็น “HELLO – D” วิตามินดี 3 ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและเพิ่มภูมิต้านทาน ลดโอกาสติดเชื้อโควิด-19
การติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เซลล์ไขกระดูกที่ผลิตเกล็ดเลือดในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ถูกนำมาใช้ที่หัวใจ ปอด และสมอง (จากงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า) ทำให้มวลกระดูกถูกนำไปใช้อย่างเสียไม่ได้ และทำให้แคลเซียม/วิตามินดี กลายเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นกับร่างกาย “มากเสียยิ่งกว่าเดิม” …ซึ่งอาจไม่เกินเลยไปถ้าจะบอกว่า ในยุคของการระบาดครั้งใหญ่นี้ ไม่ว่าใครก็ต้องเสริมแคลเซียมและวิตามินดี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีภาวะ “ลองโควิด” ก็ตาม
อ้างอิง
You must be logged in to post a comment Login