- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ฮาลาลไม่ใช่แค่อาหาร แต่เป็นวิถีชีวิต
คอลัมน์ : สันติธรรม
ผู้เขียน : บรรจง บินกาซัน
อิสลามมาถึงภูมิภาคเอเชียอาคเนย์หลังศาสนาอื่นๆ ในขณะที่อิสลามมาถึง ผู้คนตามหมู่เกาะต่างๆโดยเฉพาะในอินโดนีเซียยังคงมีความเชื่อในเรื่องโชคลางไสยศาสตร์และกราบไหว้ภูตผีปีศาจ ผู้คนทั้งชายหญิงแต่งกายโดยใส่ผ้านุ่งและไม่ปกปิดส่วนบน การแต่งกายโดยเปิดอกยังมีให้เห็นในปัจจุบันบนเกาะบาหลีที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู
ก่อนที่นบีมุฮัมมัดนำอิสลามมาเผยแผ่สั่งสอน ถึงแม้แผ่นดินอาหรับจะร้อนระอุทุระกันดาร แต่ผู้คนในทะเลทรายทั้งผู้ชายและผู้หญิงต่างใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกายทั้งท่อนบนและท่อนล่าง ไม่มีการใช้ผ้าคลุมผมอย่างที่เห็นในปัจจุบัน การใช้ผ้าปกปิดศีรษะจะทำก็ต่อเมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนจัด แต่เมื่ออิสลามมา บทบัญญัติการแต่งกายได้กำหนดให้ผู้หญิงที่ศรัทธาในพระเจ้าแต่งกายปกปิดมิดชิดเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้คน ยกเว้นมือและใบหน้า ส่วนผ้าคลุมศีรษะต้องดึงลงมาปิดหน้าอกด้วยเพื่อมิให้หน้าอกตกเป็นเป้าสายตาและรบกวนจิตใจเพศตรงข้าม
ส่วนเพศชาย กฎการแต่งกายกำหนดว่าอย่างน้อยที่สุด ร่างกายต้องได้รับการปกปิดตั้งแต่สะดือลงไปจนปิดหัวเข่า และห้ามแต่งกายเลียนแบบเพศตรงข้าม
เมื่ออิสลามมาถึงหมู่เกาะในเอเชียอาคเนย์โดยพ่อค้าชาวอาหรับและเมื่อผู้ปกครองในหมู่เกาะหันมานับถืออิสลาม ผู้คนที่อยู่ใต้การปกครองก็หันมารับนับถืออิสลามและเลิกกราบไหว้ภูตผีปีศาจ ภาษาอาหรับถูกนำมาใช้ในการละหมาดแทนบทสวดมนต์ในภาษาฮินดู ผู้คนเริ่มมีแบบแผนในการกิน การแต่งกายและมีวิถีชีวิตแบบอิสลามมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพ่อค้ามุสลิมมีเวลาจำกัด จึงไม่สามารถตั้งรกรากสร้างโรงเรียนสอนอิสลามตามหมู่เกาะต่างๆอย่างทั่วถึง อิสลามตามหมู่เกาะต่างๆจึงมีประเพณีนิยมท้องถิ่นปะปนอยู่ การแต่งกายของผู้หญิงยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานของอิสลาม จนกระทั่งมุสลิมท้องถิ่นจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปทำฮัจญ์ที่เมืองมักก๊ะฮฺและเรียนรู้เรื่องอิสลามจากที่นั่น จึงได้นำคำสอนกลับมาเผยแผ่ในท้องถิ่นของตัวเอง แต่ถึงกระนั้น ผู้หญิงมุสลิมท้องถิ่นก็ยังไม่ใช้ผ้าคลุมผมในชีวิตประจำวัน เฉพาะในการละหมาดเท่านั้นที่ผู้หญิงจะใส่ชุดที่เรียกว่า “ตะละกง” ปกปิดร่างกายทุกส่วน
เมื่อประเทศมุสลิมตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก สังคมมุสลิมได้ถูกวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบตะวันตกครอบงำ ประกอบกับเยาชนมุสลิมรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกได้ขึ้นมามีอำนาจและพัฒนานำพาประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ผู้หญิงมุสลิมรุ่นใหม่จึงเลิกแต่งกายตามคำสอนของศาสนาหันไปนิยมแต่งกายตามแฟชั่นตะวันตกที่ยิ่งนานวันยิ่งเปิดเผยเรือนร่างมากขึ้นและสังคมเริ่มเสื่อมทรามลง
ในช่วงเวลานี้เองที่นักวิชาการอิสลามเริ่มคิดที่จะนำอิสลามกลับมาเป็นวิถีชีวิตของมุสลิมอีกครั้งหนึ่ง แต่ความพยายามของนักวิชาการเหล่านี้ได้ถูกชาติตะวันตกและแม้แต่ผู้หญิงมุสลิมที่มีหัวนิยมตะวันตกในบางประเทศ เช่น ตุรกี อิหร่านและประเทศอื่นๆคัดค้านว่าเป็นความล้าสมัย
จนกระทั่งขบวนการปฏิวัติอิสลามที่นำโดยอิมาม โคมัยนีแห่งอิหร่านได้รับชัยชนะใน พ.ศ.2521-2522 และสามารถโค่นอำนาจกษัตริย์ชาห์ ปาห์เลวีที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาลงได้ วิถีชีวิตตามคำสอนอิสลามจึงถูกนำกลับมาอีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือผู้หญิงที่แต่งกายแบบตะวันตกได้ถูกกำหนดให้หันมาแต่งกายตามคำสอนของอิสลาม
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการปฏิวัติในอิหร่านมีผลมาถึงสังคมมุสลิมในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพราะหลังจากนั้นไม่กี่ปี ผู้หญิงมุสลิมในภูมิภาคนี้ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการแต่งกายให้เป็นไปตามคำสอนของอิสลามมากขึ้นถึงแม้ว่าเยาวชนหนุ่มสาวมุสลิมในภูมิภาคนี้มิได้เป็นชีอ๊ะฮฺเหมือนในอิหร่านก็ตาม
ในประเทศไทย การแต่งกายปกปิดมิดชิดโดยใช้ผ้าคลุมศีรษะที่เรียกกันติดปากว่าฮิญาบนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อนและส่วนใหญ่เป็นนักศึกษามุสลิมจากภาคใต้ที่ขึ้นมาเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เมื่อการรณรงค์ให้หันกลับมาแต่งกายตามแบบอิสลามแผ่ขยายไป ตอนนี้ การแต่งกายแบบอิสลามก็แพร่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยที่มีชุมชนมุสลิมอาศัยอยู่
You must be logged in to post a comment Login