วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567

“การจัดการหรือหลักธรรม”โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ

On February 18, 2022

หลายปีที่ผ่านมา มีกระแสวิจารณ์และคำถาม พุทธศาสนาในประเทศไทยค่อนข้างมากโดยเฉพาะ ในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสองเดือนนี้ ที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมของ ทิด สองคน(โดยส่วนตัวเชื่อว่า ท่านมีความรู้ความสามารถในทางพุทธศาสนา แต่ไปประกอบอาชีพในวงการ สื่อบันเทิง  ตลกซึ่งเน้นหากำไร ถือว่าไม่ตรงกับความรู้ ความสามารถที่บวชเรียนมา) สำหรับคำถามข้อวิจารณ์ เกี่ยวกับพุทธศาสนาปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้

1.บวชแล้วได้อะไร ก็แล้วแต่ว่าผู้บวช ตั้งเป้าหมายอย่างไร บวชเพื่อนิพพาน บวชเพื่อแส่วงหาชีวิตที่สงบ บวชเพื่อตอบแทนคุณพ่อแม่ บวชเพื่อหาประสบการณ์และความรู้ทางพุทธศาสนา ข้อหลังนี้เป็นวัตถุประสงค์ของผู้เขียน ซึ่งบวชในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ วัดบวรนิเวศ กว่ายี่สิบปีผ่านมา เป็นการบวชหรืออุปสมบทหมู่ ในช่วงเวลาที่บวช ทางวัดจัดให้มีการ สอนพุทธศาสนา  ทำสมาธิ มีหนังสือแจกให้หลายเล่ม ส่วนการใช้ชีวิตอื่นๆก็เหมือน พระทั่วไป ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น บิณฑบาต ในส่วนนี้คิดว่าผู้เขียนได้สมประสงค์  อย่างไรก็ดี วัดบวรนิเวศ ได้ชื่อว่า เจ้าอาวาส ทุกองค์ เป็นปราชญ์ แม้ พระลูกวัดหลายองค์ ก็เป็นปราชญ   ไม่แน่ใจว่าวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ มีการอบรม มีหนังสือแจก อย่างวัดบวรนิเวศหรือไม่

-การจัดการที่อยากเห็น คือหน่วยงานเช่นสำนักพุทธหรือกระทรวงศึกษา วัฒนธรรมเข้าไปช่วยจัดการเรื่องนี้ให้ทั่วถึง อย่างน้อยมีหนังสือแจกให้พระบวชใหม่

2.ไม่มีการคัดกรองผู้บวช มีข่าว พระดื่มสุราจนเมา ข่มขืนสาว เสพยาเสพติดจนเกิดคำถามว่าพระเหล่านี้มาบวชได้อย่างไร ต้องตอบว่า ในประเด็นคัดกรองคนที่จะเข้ามาบวชพระ ทางพุทธศาสนา รอบคอบและจัดการเรืองนี้ตามขั้นตอนในการบวชอยู่แล้ว   นาค ที่อยู่ในโบสถ์ จะต้องตอบคำถามต่างๆต่อที่ประชุมสงฆ์ ว่าไม่ได้มีคุณสมบัติต่อข้อห้ามต่างๆ โดยที่ปีนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้รับยกย่องจากองค์กรยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญแห่งโลก ท่านได้แต่งหนังสืออุปสมบทวิธี กล่าวถึงคุณสมบัติผู้ที่จะบวช จึงขอยกข้อความมาดังนี้

-กุลบุตรผู้มีศรัทธาและเลื่อมใส เกิดฉันทะจะบรรพชา และอุปสมบท พึงทำตนให้พ้นจากอุปสรรคคือข้อติดขัด เป็นต้นว่ามีโรคต้องห้าม มีหนี้สิน มีคดีเกี่ยวในศาล ไม่ได้รับอนุญาตแห่งมารดาบิดา ไม่ได้รับอนุญาตแห่งมูลนาย ไม่ได้รับอนุญาตแห่งเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น….

อย่างไรก็ดีในการตอบในที่ประชุมสงฆ์ ก็จะตอบในทางที่เป็นประโยชน์ตน  ไม่มีหลักฐานยืนยัน ส่วน ที่ประชุมสงฆ์ ย่อมมีแต่เมตตา จะขอหลักฐานมาแสดงไม่ใช่หน้าที่

-การจัดการที่อยากเห็น คือผู้บวชต้องขอหลักฐานจะเจ้าหน้าที่รัฐมาแสดง หากหน่วยงานของรัฐตอบสอบว่า เป็นผู้ต้องหา หรือมีคดีค้างอยู่ ทางวัดจะได้ไม่ต้องบวชให้

3.พระ ยืนสวดให้คนใส่บาตร ริมถนน เหมาะสมถูกต้องหรือไม่

วิธีสอน เทศน์ หรือแสดงธรรม ในทางพุทธศาสนามีอยู่ หากเทียบเคียงกับการสอนการบรรยายของนักวิชาการ หรืออาจารย์ในปัจจุบัน ก็ถือว่า พุทธศาสนานั้นก้าวหน้ามาก่อน

ในการเทศน์หรือแสดงธรรม มีหลักปฎิบัติ ที่ เรียกว่า องค์แห่งธรรมกถึก 5 คือ
1.แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสน หรือขาดความ
2.ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ
3.สอนเขาด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
5.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น

(ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ ประมวลศัพท์)

นอกจากนี้ก็ยังมีข้อปฏิบัติ ของพระว่าด้วยเรื่องการแสดงธรรม ว่า

-ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ

-ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่แต่ภิกษุยืน

-ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นอนอยู่บนที่นอน  เป็นต้น

โดยสรุปก็คือ ควรแสดงธรรมในสถานที่ ที่เหมาะสม ผู้ฟังแสดงให้เห็นว่าเลื่อมใสศรัทธาพร้อมที่จะฟัง หากเทียบเคียงกับการสอนหนังสือหรือบรรยายปัจจุบันก็จะเห็นว่า ผู้บรรยายอยู่บนเวทีที่สูงกว่าผู้ฟัง ก่อนการบรรยายจะขอให้ผู้ฟัง งดการพูดคุย งดการใช้โทรศัพท์  เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การสวดให้แก่คนใส่บาตรริมถนน จึงไม่ควรทำ

-การจัดการที่อยากเห็นคือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ชี้แจงให้การศึกษาประชาชนเมื่อใส่บาตร ก็ได้บุญแล้ว ไม่จำเป็นต้องขอให้ พระสวด

4.แสดงภาพในโซเชียลมีเดีย ว่าพระมีอาหารเหลือเฟือ มีความสุข

อาหารที่พระบิณฑบาต มา แม้จะมาก ก็จริงอยุ่ แต่ก็ซ้ำๆ และเป็นอาหารที่ญาติโยมส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้าในตลาดใกล้เคียงวัด(คนทั่วไป หากให้กินหูฉลาด ทุกมื้อทุกวัน ก็คงไม่เอา) ที่วัดมีอาหารช่วงเช้าเหลืออยู่ก็จริง แต่ก็จะมีการแจกจ่ายให้คนยากไร้ใกล้เคียงวัดที่มาของ

-การแก้ไขที่อยากเห็นคือหน่วยงานของรัฐเข้าไปช่วยเหลือจัดการ เพราะนับวัดทั่วประเทศ ก็ช่วยคนยากไร้ได้มาก


You must be logged in to post a comment Login