- อย่าไปอินPosted 9 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“สสส.”ผนึกภาคีเครือข่ายชุมชนหนุนผู้สูงวัยตั้งกลุ่มผลิตข้าวโป่ง เมืองย่าโม
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการ “โคราชเมืองน่าอยู่ : คนเข้มแข็ง ท้องถิ่นแข็งแรง” เพื่อติดตามการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด ที่บ้านห้วยยาง หมู่ 7 ต.หินดาด อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมานั้นผลดำเนินงานประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยกิจกรรมที่ทางสสส.ร่วมกับ อบต.หินดาดเข้ามาสนับสนุนคือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชนรวมกลุ่มกันผลิตข้าวโป่งจนเป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง ผู้สูงวัยมีความสุข สนุกและรู้สึกมีคุณค่าในการทำข้าวโป่งเป็นอาชีพจนได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงระดับประเทศ
ปัจจุบันพื้นที่รับผิดชอบของอบต.หินดาด มีทั้งหมด 15 หมู่บ้าน ประชากร 5,625 คน 1,285 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ 71% ประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ทางอบต.จึงได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพเสริมกันเกือบทุกหมู่บ้าน อย่างเช่นกลุ่มผลิตข้าวโป่งบ้านห้วยยาง ขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยด้วย
นายพิบูลย์ แสงสุระ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มผู้ผลิตทำข้าวโป่งว่า หลังจากมองเห็นศักยภาพในการผลิตทางอบต.หินดาดได้ประสานขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มาถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งการผลิตและบรรจุภัณฑ์ จนสามารถยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับของตลาด ส่งผลให้สมาชิกในกลุ่มผู้ผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันข้าวโป่งบ้านห้วยยาง ยังช่วยให้เกษตรกรที่ผลิตวัตถุดิบให้ มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย กล่าวคือกลุ่มผู้ผลิตจะรับซื้อข้าวอินทรีย์ กล้วย มัน จากเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้กลุ่มอื่นๆ ได้รับประโยชน์จากการผลิตข้าวโป่งดังกล่าว ทำให้เศรษฐกิจการเงินหมุนเวียนในชุมชนอย่างทั่วถึง
“ขณะนี้ชาวหินดาดทั้งหมด 15 หมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบของอบต.หินดาดมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 40,000 บาทต่อคนต่อปี หรือ 308,587.56 บาทต่อครัวเรือน สูงกว่าเส้นแบ่งความยากจนเล็กน้อย ซึ่งทางอบต.หินดาด ก็จะพยายามต่อไปในการส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ที่มั่นคง โดยเฉพาะเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร นอกจากนี้เรายังมีกองทุนในพื้นที่ของเราอีกหลายกองทุนที่จะมาช่วยหนุนเสริมสร้างความอยู่ดีกินดีให้พี่น้องของเรา” นายกอบต.หินดาด กล่าว
ทางด้าน รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ความโดดเด่นของตำบลหินดาด คือการให้ความสำคัญกับกลุ่มอาชีพต่างๆแล้วสร้างกองทุนต่างๆ เข้าไปหนุนเสริมทำให้คนยากลำบากคนด้อยโอกาสได้ประโยชน์จากแนวทางนี้ด้วย อย่างเช่นการส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ ทางอบต.ก็ทำกิจกรรมขับเคลื่อน 5 อ. คือ อาหาร การออม อาสา ออกกำลังกาย และอาชีพ และ 5 ก. ได้แก่การป้องกันและลดอุบัติเหตุ โรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ การดูแลต่อเนื่อง และกายอุปกรณ์ ควบคู่ไปด้วย ผู้สูงอายุก็ได้ประโยชน์ แม้จะช่วยเสริมให้มีรายได้เพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถอยู่ได้ ช่วยลดรายจ่ายได้บ้าง ขณะเดียวกันอบต.หินดาด ก็มีบทบาทในการส่งเสริมการตลาดด้วย อย่างเช่น ข้าวโป่งของบ้านห้วยยาง ก็สนับสนุนให้ขายทางออนไลน์ ซึ่งความโดดเด่นเหล่านี้เกิดจากความร่วมมือของ 4 องค์กรหลักชัดเจนมาก แสดงว่าที่หินดาดนี้ มีการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ทางด้านดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. กล่าวว่า หลังจากตำบลสุขภาวะและเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ดำเนินมากว่า 10 ปี ในปี 2565 นี้ทางสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชนจะได้สรุปบทเรียนการทำงานในช่วงที่ผ่านมาทั้งหมด 13 ประเด็น ทั้งประเด็นการพัฒนาปัญหาพื้นฐานและประเด็นตอบสนองยุทธศาสตร์ สสส.ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยตลอดระยะเวลาที่สสส.ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ ได้สร้างรูปแบบและแนวทางการทำงานที่สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงาน โดยเฉพาะความร่วมมือกันระหว่าง 4 องค์กรหลัก ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ภาคประชาชน และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของตำบลในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ส่งผลให้ท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการใหม่ๆ ได้เกือบทุกพื้นที่
“ก้าวต่อไปของเรา คือการทำงานเจาะลึกทีละประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ หรือเรื่องปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อเข้าไปให้ถึงปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง” ดร.ประกาศิต กล่าวและว่า ข้อค้นพบสำคัญประการหนึ่งหลังจากสสส.ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ท้องถิ่นมีศักยภาพสูงมาก แทบจะไม่มีข้อจำกัดเลย ดังนั้นคนที่อยู่ในระดับนโยบายควรจะไว้ใจและให้ความเชื่อมั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แล้ว
สำหรับท่านที่อยากลองลิ้มรสชาติของ “ข้าวเกรียบว่าวโบราณประยุกต์กลุ่มอาชีพบ้านห้วยยาง” อีกหนึ่งของดีเมืองโคราช ติดต่อสั่งซื้อได้ที่โทร. 088-718-2661 และ 098-564-4137
You must be logged in to post a comment Login